Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26101
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิษณุ เสงี่ยมพงษ์ | |
dc.contributor.author | เอกวิทย์ มณีธร | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2012-11-26T06:41:17Z | |
dc.date.available | 2012-11-26T06:41:17Z | |
dc.date.issued | 2547 | |
dc.identifier.isbn | 9741764308 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26101 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการกีฬา 2) ศึกษาถึงบริบท กระบวนการ และผู้กำหนดนโยบายสาธารณะด้านการกีฬาในประเทศไทย 3) ศึกษาถึงความเกี่ยวข้องระหว่างการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการกีฬาในประเทศไทยกับการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติอีกด้วย รวมทั้งมีการตั้งสมมติฐานของการศึกษาวิจัยข้อที่ 1 ว่าการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการกีฬาในประเทศไทย ในช่วงก่อนที่มี แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 1 เป็นนโยบายที่ถูกกำหนดในลักษณะตัวแบบชนชั้นนำ (Elite Model) ในขณะที่การกำหนดนโยบายด้านการกีฬาในประเทศไทยตั้งแต่ที่มีแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 1 เป็นต้นมา เป็นนโยบายที่ถูกกำหนดในลักษณะตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Model) และตัวแบบกลุ่ม (Group Model) ส่วนสมมติฐานของการศึกษาวิจัยข้อที่ 2 ตั้งไว้ว่าการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการกีฬาในประเทศไทย มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับความประสงค์ให้กีฬามีส่วนช่วยเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ โดยที่ในช่วงเวลาก่อนที่มีแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 1 มีความประสงค์ให้กีฬาช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านอธิปไตยของประเทศเป็นหลัก ในขณะที่ช่วงเวลาตั้งแต่ที่มีแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 1 เป็นต้นมามีความประสงค์ให้กีฬาช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านสังคมเป็นหลัก จากการศึกษาวิจัยพบว่าการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการกีฬาในประเทศไทยนั้นเป็นไปในลักษณะของตัวแบบชนชั้นนำ และตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปทั้งในช่วงเวลาก่อนที่จะมีแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 1 และช่วงเวลาตั้งแต่ที่มีแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 1 แล้ว โดยในช่วงเวลาตั้งแต่ที่มีแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 1 แล้วนั้นแม้ว่าจะมีลักษณะของการกำหนดนโยบายเป็นตัวแบบชนชั้นนำก็ตาม แต่ว่าบุคคลจากภาคที่ไม่ใช่รัฐกลับมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายมากยิ่งขึ้น รวมทั้งพบว่าการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการกีฬาในประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับความประสงค์ ที่จะให้กีฬามีส่วนช่วยเสริมสร้างความมั่นคงของชาติทั้งในช่วงเวลาตั้งแต่ก่อนที่มีแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 1 และช่วงเวลาตั้งแต่ที่มีแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 1 เป็นต้นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงด้านอธิปไตยของประเทศเป็นหลัก และในช่วงเวลาตั้งแต่ที่มีแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 1 เป็นต้นมา ได้มีความประสงค์ให้กีฬาช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านสังคมเป็นหลักด้วยอีกด้านหนึ่งด้วย | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were : 1) to study theories regarding sports public policy formulation; 2 ) to study the context, the process, and policy makers of sports public policy in Thailand; and 3 )to study the relation between sports public policy formulation in Thailand and maintaining of national security. The hypotheses of this research were the following: 1) Sports public policy formulation in Thailand before the beginning of the First National Sports Development Plan was in accordance with Elite Model of public policy; and ever since the First Plan, it has been in accordance with Incremental and Group Models. 2) Sports Public Policy in Thailand is partially for the purpose of national security upholding. In particular, before the First National Sports Development Plan, the policy was mainly for the sovereignty dimension of national security, while after the First Plan, it has been mainly for the social dimension of national security. The study found that the sports public policy formulation has been in accordance with the Elite and Incremental Models both before and after the First National Sports Development Plan. However, although elites have played important roles in both time periods, various groups in the form of non-state elites have also had increasing roles. Also, with respect to the second hypothesis, the Thai sports policy formulation has helped maintain and further national security within the sovereignty dimension in both before and after the First National Sports Development Plan. But its importance in the social dimension of national security has increased tremendously after the First Plan. | |
dc.format.extent | 3090106 bytes | |
dc.format.extent | 4808777 bytes | |
dc.format.extent | 22758073 bytes | |
dc.format.extent | 10406991 bytes | |
dc.format.extent | 7739524 bytes | |
dc.format.extent | 31279062 bytes | |
dc.format.extent | 4928037 bytes | |
dc.format.extent | 74078115 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการกีฬาในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2520-2546 | en |
dc.title.alternative | Sports policy formulation in Thailand between B.E. 2520-2546 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | รัฐศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ekkawit_ma_front.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ekkawit_ma_ch1.pdf | 4.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ekkawit_ma_ch2.pdf | 22.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ekkawit_ma_ch3.pdf | 10.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ekkawit_ma_ch4.pdf | 7.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ekkawit_ma_ch5.pdf | 30.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ekkawit_ma_ch6.pdf | 4.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ekkawit_ma_back.pdf | 72.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.