Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26130
Title: การผลิตเอนโด-เอนริชเซลลูเลสจากเชื้อราและการนำไปประยุกต์ในการกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้าย
Other Titles: Production of endo-enriched cellulases from fungi and their application in fabric scouring
Authors: ขรรค์ชัย ดั้นเมฆ
Advisors: หรรษา ปุณณะพยัคฆ์
อุษา แสงวัฒนาโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การผลิตเอนโดกลูคาเนสจากเชื้อรา Acrophialophora sp. Trichoderma ressei Penicillim sp. Aspergillus flavus และ Aspergillus terreus โดยใช้ก้านใบกล้วยเป็นแหล่งคาร์บอน ทำการผลิตเอนไซม์ในภาวะต่างๆ ได้แก่ การปรับสภาพแหล่งเซลลูโลส แหล่งไนโตรเจน แหล่งอาหารเสริม และอุณหภูมิที่ใช้เลี้ยงเพื่อหาภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิต ผลพบว่าเชื้อราทุกชนิดสามารถผลิตเอนไซม์ได้ดีที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการผลิตเอนไซม์มีดังนี้ 1) Acrophialophora sp. สามารถผลิตเอนโดกลูคาเนสได้ 1.357 ยูนิตต่อมิลลิกรัม ในสูตรอาหารที่มีก้านใบกล้วยที่ถูกปรับสภาพด้วย NaOH 5 เปอร์เซ็นต์ แหล่งไนโตรเจนเป็น NH₄H₂PO₄ หรือเปปโตนและถั่วเหลืองบด 0.05 เปอร์เซ็นต์ 2) T. reesei สามารถผลิตเอนโดกลูคาเนสได้ 3.482 ยูนิตต่อมิลลิกรัม ในสูตรอาหารที่มีก้านใบกล้วยที่ถูกปรับสภาพด้วย NaOH 0 เปอร์เซ็นต์แหล่งไนโตรเจนเป็น NH₄NO₃ และถั่วเหลืองบด 1.00 เปอร์เซ็นต์ 3) Penicillium sp. สามารถผลิตเอนโดกลูคาเนสได้ 0.615 ยูนิตต่อมิลลิกรัม ในสูตรอาหารที่มีก้านใบกล้วยที่ถูกปรับสภาพด้วย NaOH 0 เปอร์เซ็นต์แหล่งไนโตรเจนเป็น NH₄NO₃ และไม่มีการเติมถั่วเหลืองบด 4) A. flavus สามารถผลิตเอนโดกลูคาเนสได้ 1.252 ยูนิตต่อมิลลิกรัม ในสูตรอาหารที่มีก้านใบกล้วยที่ถูกปรับสภาพด้วย NaOH 5 เปอร์เซ็นต์แหล่งไนโตรเจนด้วย NH₄NO₃ หรือ NH₄H₂PO₄และไม่มีการเติมถั่วเหลืองบด 5) A.terreus สามารถผลิตเอนโดกลูคาเนสได้ 1.674 ยูนิตต่อมิลลิกรัม ในสูตรอาหารที่มีก้านใบกล้วยที่ถูกปรับสภาพด้วย NaOH 5 เปอร์เซ็นต์แหล่งไนโตรเจนด้วย NH₄H₂PO₄ และถั่วเหลืองบด 0.05 เปอร์เซ็นต์เอนโดกลูคาเนสจากเชื้อราทั้ง 5 ชนิด ทำงานได้ดีและมีความเสถียรที่ค่าความเป็นกรดและด่างเท่ากับ 5.0 อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทำปฏิกิริยาเท่ากับ 60 องศาเซลเซียส เมื่อบ่มเอนไซม์ที่ค่าความเป็นกรดและเท่ากับ 5.0 อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที สามารคงค่าความเสถียรได้ ดังนี้ คือ Acrophialophora sp. 39.65 เปอร์เซ็นต์T.reesei 79.55 เปอร์เซ็นต์ Penicillim sp. 38.31 เปอร์เซ็นต์ A.flavus 25.05 เปอร์เซ็นต์และ A.terreus 74.73เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำเอนโดกลูคาเนสที่ผลิตได้ไปใช้ในกระบวนการกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้าย โดยใช้ไลเปสหรือโปรตีนเอสทางการค้าที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 30 นาที และตามด้วยเอนโดกลูคาเนสที่ผลิตได้ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 30 นาที่ พบว่าผ้าดูดซึมน้ำได้ดีและสม่ำเสมอมีค่าความขาวเพิ่มขึ้น
Other Abstract: Endoglucanases from fungi including Acrophialophora sp. Trichoderma reesei, Penicillium sp., Aspergillus flovus, and Aspergillus terreus were producing using media containing banana-leaf stalk as the sole carbon source. The enzymes were produced under various conditions involving the pretreatment of cellulose sources, different nitrogen sources, supplementary nutrients and incubation temperature in order to optimize the production. Acrophialophora sp. was produced endoglucanase 1.357 U/mg in media containing banana leaf stalk was pretreated with NaOH 5%, NH₄NO3 or peptone, and soybean 1.00% T.reesei was produced endoglucanase 3.482 U/mg in media containing banana leaf stalk was pretreated with NaOH 0%, NH₄NO3, and soybeen 0.05%. Penicillium sp. was produced endoglucanase 0.615 U/mg in media containing banana leaf stalk was pretreated with NaOH 5%, NH4NO3, and soybeen 0.00%. A. flavus was produced endoglucanase 1.252 U/mg in media containing banana leaf stalk was pretreated with NaOH 5% NH₄NO3 or NH₄H2PO₄ , and soybeen 0.00%. A. terreus was produced endoglucanase 1.674 U/mg in media containing banana leaf stalk was pretreated with NaOH 5%, NH₄H2PO₄ , and soybeen 0.05%. Endoglucanase from all five fungi showed the optimum activities and stability at pH 5.0. The optimum temperature was found to be thermostable at 60 ℃. After incubating at 60℃ for 120 minutes, the remaining activities were found to be 79.55% (T.reesei), 74.73% (A.terreus), 39.65% (Acrophialophora sp.), 25.05% (A.flavus) and 38.31% (Penicillium sp.) respectively. When the enzymes were used for fabric scouring, beginning with treatment of the commercial lipase or protease to clean the surface of the cotter fabric at 37℃ for 30 minutes, followed by each endoglucanase at 60℃ for 30 minutes. The treated fabrics absorbed water instantaneously and evenly. This enzymatic scouring process also enhanced the fabric whiteness index.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26130
ISBN: 9741750625
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khanchai_da_front.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open
Khanchai_da_ch1.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Khanchai_da_ch2.pdf7.85 MBAdobe PDFView/Open
Khanchai_da_ch3.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open
Khanchai_da_ch4.pdf16.68 MBAdobe PDFView/Open
Khanchai_da_ch5.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open
Khanchai_da_ch6.pdf969.62 kBAdobe PDFView/Open
Khanchai_da_back.pdf9.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.