Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2614
Title: การเตรียมวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลชนิดเชื้อตายจากไวรัสเสตรนต่างๆ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Preparation of newcastle disease interactivated vaccine from different strain of virus
Authors: สมศักดิ์ ภัคภิญโญ
จิโรจ ศศิปรียจันทร์
นิวัตร จันทร์ศิริพรชัย
Email: Somsak.Pa@chula.ac.th
jiroj_s@hotmail.com
cniwat@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชาอายุรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชาอายุรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชาอายุรศาสตร์
Subjects: โรคนิวคาสเซิล
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเตรียมวัคซีนนิวคาสเซิลเชื้อตาย 4 ชนิด จากไวรัสเสตรนที่ไม่รุนแรง (ลาโซต้า) และเสตรนแรงปานกลาง (เอ็มพี) โดยไวรัสแต่ละเสตรนนำมาผลิตวัคซีนเชื้อตาย 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีไวรัสมาก และชนิดที่มีไวรัสน้อย วัคซีนที่ผลิตได้ทั้ง 4 ชนิด นำมาเปรียบเทียบกับวัคซีนเชื้อตายของบริษัทด้านคุณภาพทางกายภาพ ปฏิกิริยาของวัคซีนที่มีผลกับเนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีด ความปลอดภัยของวัคซีน ระดับแอนติบอดี้ และความคุ้มโรค ผลการทดสอบพบว่าวัคซีนทุกชนิดที่ทดสอบมีความปลอดภัย วัคซีนที่ผลิตได้ทั้ง 4 ชนิด ชนิดที่ผลิตจากไวรัสเสตรนแรงปานกลางที่มีไวรัสมาก ให้ผลดีที่สุด วัคซีนที่ผลิตจากไวรัสเสตรนแรงปานกลางที่มีไวรัสมาก นำมาทดลองเปรียบเทียบกับวัคซีนของบริษัทในไก่กระทงคัดเพศจำนวน 4 กลุ่ม เมื่อไก่อายุ 1 วัน หรือ 10 วัน โดยทำพร้อมกับวัคซีนเชื้อเป็นเสตรนบี 1 และมีไก่อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ (ไม่ได้ทำวัคซีน) เปรียบเทียบระดับแอนติบอดี ความคุ้มโรค น้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น อัตราแลกเนื้อและผลตอบแทนที่ได้รับ ผลการทดลองพบว่า ไก่ที่ได้รับวัคซีนของบริษัท เมื่ออายุ 1 วัน ให้ผลดีที่สุด รองลงมาคือ ไก่ที่ได้รับวัคซีนของบริษัท เมื่ออายุ 10 วัน ไก่ที่ได้รับวัคซีนที่ผลิตเองเมื่อไก่อายุ 10 วัน และ 1 วัน ตามลำดับวัคซีนที่ผลิตเองและวัคซีนของบริษัท เก็บไว้นาน 6 เดือน พบว่า คุณสมบัติทางกายภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ไก่ที่ได้รับวัคซีนของบริษัท มีระดับแอนติบอดี้และความคุ้มโรคดีกว่าวัคซีนที่เตรียมเอง
Other Abstract: Four inactivated Newcastle Disease (ND) vaccines were prepared. There were low and high virus titer vaccines prepared from either lentogenic (La Sota) or mesogenic (MP) strains. Physical properties, tissue reaction, afety, antibody and protection were compared among these vaccines and a commercial inactivated ND vaccine. All vaccines were safe. High virus titer vaccine prepared from MP strain (MP vac) was the best among the prepared vaccines. Four groups of broiler chickens were vaccinated at 1-or 10-day-old with either MP vac or commercial vaccine simultaneously with live B1 strain. Another group was a non-vaccinated control. Antibody protection, weight gain, feed conversion ratio (FCR) and cost/benefit were compared. Comparison on performance of each vaccinated group from the best to the worst were : chickens received commercially vaccine at 1-day-old, 10-day-old, MP vac at 10-day-old and MP vac at 1-day-old, respectively. MP vac and commercial vaccine were kept for 6 months. The physical properties of each vaccine were changed significantly. Chickens received commercial vaccine had better antibody level and protection when compared to MP vac.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2614
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SomsakJirot.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.