Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26148
Title: การทำให้กะลาปาล์มน้ำมันเป็นของเหลวในของผสมเอทานอล-น้ำภาวะเหนือวิกฤต : ผลของตัวเร่งปฏิกิริยา
Other Titles: Liquefaction of oil palm shell in supercritical ethanol-water mixture : effects of catalysts
Authors: รติมา จงอริยะกุล
Advisors: ภัทรพรรณ ประศาสน์สารกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ชีวมวล
ปาล์มน้ำมัน
ของไหลวิกฤตยิ่งยวด
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การแปรรูปกะลาปาล์มน้ำมันให้เป็นของเหลวด้วยตัวทำละลายผสมของเอทานอลและน้ำภาวะเหนือวิกฤต เพื่อหาภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำมันชีวภาพ ทำการทดลองด้วยเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ ขนาดความจุ 250 มิลลิลิตร งานวิจัยนี้ศึกษาถึงผลของตัวทำละลาย อุณหภูมิ และตัวเร่งปฏิกิริยา (โพแทสเซียมคาร์บอเนต โซเดียมคาร์บอเนต แคลเซียมออกไซด์ แมกนีเซียมออกไซด์ และซิงก์คลอไรด์) ต่อร้อยละการเปลี่ยน และร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพ วิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันชีวภาพด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟกับแมสเปกโทสโกปี พบว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในช่วง 300 ถึง 360 องศาเซลเซียส สามารถเพิ่มร้อยละผลได้และค่าความร้อนของน้ำมันชีวภาพ และเมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวทำละลายที่เหมาะสมสามารถเพิ่มร้อยละการเปลี่ยนและร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์น้ำมันอีกด้วย สำหรับกรณีไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในการแปรรูปกะลาปาล์มน้ำมันให้เป็นของเหลวด้วยตัวทำละลายเอทานอลภาวะเหนือวิกฤตที่อุณหภูมิ 340 องศาเซลเซียส ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 4.0 เมกะพาสคัล ได้ร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์น้ำมันชีวภาพสูงสุดร้อยละ 40.9 โดยน้ำหนัก ในกรณีที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโพแทสเซียมคาร์บอเนตที่อัตราส่วนร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ณ ภาวะการทดลองเดียวกัน ให้ร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 66.5 จากการวิเคราะห์หาองค์ประกอบของน้ำมันชีวภาพด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟกับแมสเปกโทสโกปี พบว่า องค์ประกอบหลักในน้ำมันชีวภาพ ได้แก่ สารประกอบฟีนอล แอลกอฮอล์ และเอสเทอร์ เป็นต้น
Other Abstract: The liquefaction of oil palm shell in supercritical ethanol-water mixture (50, 70, 90 and 99.9% (v/v) ethanol) was performed in a 250 mL batch reactor to evaluate the optimum condition for bio-oil production. The effect of solvent, temperature and catalyst (K₂CO₃, Na₂CO₃, CaO, MgO and ZnCl₂) on conversion and bio-oil yield were investigated. The bio-oil was characterized by gas chromatography–mass spectrometry (GC/MS). Increasing temperature from 300℃ to 360℃ increased the oil yield and heating value of bio-oil. The efficient catalyst and suitable solvent gave a high oil yield and conversion. For non-catalytic liquefaction using 99.9 %(v/v) ethanol at 340℃ under 4.0 MPa initial pressure of H₂, the bio-oil yield was only 40.9 %wt. For catalytic liquefaction, in the presence of 10 %wt K₂CO₃ under the same condition, 66.5 %wt of bio-oil yield were produced. From gas chromatography/mass spectrometry (GC/MS) analysis, the dominant components of bio-oil from oil palm shell liquefaction were found to be phenolics compounds, alcohol and ester.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26148
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1882
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1882
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ratima_jo.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.