Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/262
Title: | ผลของการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ที่มีต่อความมีระเบียบวินัยในตนเองของนักกีฬา |
Other Titles: | Effects of cognitive behavioral modification on self-discipline of athletes |
Authors: | พิมพา ม่วงศิริธรรม, 2503- |
Advisors: | ศิลปชัย สุวรรณธาดา สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Silpachai.S@chula.ac.th Sompoch.I@chula.ac.th |
Subjects: | การปรับพฤติกรรม วินัย นักกีฬา พฤติกรรม |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาผลของการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ที่มีต่อความมีระเบียบวินัยในตนเองของนักกีฬา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลชายของโรงเรียนกีฬา กรุงเทพมหานคร ที่มีอายุระหว่าง 11-14 ปี จำนวน 8 คน กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 4 คน ได้รับการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยการฝึกทักษะทางจิต ได้แก่ เทคนิคการตั้งเป้าหมาย การจินตภาพ การพูดกับตนเองในทางที่ดี การดูตัวแบบ และการให้แรงเสริมทางบวก ควบคู่กับการฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬาฟุตบอล การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการ โดยบันทึกพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตนเอง ของนักกีฬาที่เกิดในแต่ละวัน จากการสังเกตนักกีฬาทั้งสองกลุ่มโดยผู้สังเกตในระยะเส้นฐาน ระยะทดลอง และระยะติดตามผล และนักกีฬา ตอบแบบวัดความมีระเบียบวินัยในตนเองก่อนการทดลอง หลังสิ้นสุดการทดลอง และหลังสิ้นสุดการทดลอง 3 สัปดาห์ นำผลที่ได้จากการสังเกตโดยผู้สังเกต และจากการตอบแบบวัดพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตนเองโดยนักกีฬา มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละเฉลี่ยของพฤติกรรมที่เกิด วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางชนิดวัดซ้ำ และทดสอบค่าทีผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า 1. การปรับพฤติกรรมทางปัญญามีผลต่อพฤติกรรม ความมีระเบียบวินัยในตนเองของนักกีฬา นักกีฬากลุ่มทดลองที่ได้รับการปรับพฤติกรรมทางปัญญา มีพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตนเอง ในระยะสิ้นสุดการทดลองและระยะติดตามผล แตกต่างจากระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ในกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างกัน 2. ในระยะสิ้นสุดการทดลองและระยะติดตามผล นักกีฬากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตนเอง ไม่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | To study the effects of Cognitive Behavioral Modification (CBM) on athletes' self-discipline. Subjects were eight male athletes from Bangkok Sport School, aged 11-14 years. They were purposely selected from football team and divided into two groups, the CBM and the control groups. The only CBM subjects were trained the psychological skills techniques: goal setting, imagery, and positive self-talk. Modeling and positive reinforcement techniques were also assigned for the CBM group during the training and competition sessions. Both groups were daily observed self-discipline behaviors by the well-trained observers and recorded the data on the baseline, treatment, and follow-up phases. In each phase, all the subjects were asked to complete self-discipline behavioral forms. Data from observers and Self-discipline Behavioral Forms from three different phases were analyzed. The percentage, two-way Analysis of Variance with Repeated Measures, and t-test were taken into account. The results revealed that: 1. The CBM effected to athletes' self-discipline behaviors. The CBM group showed statistically significant difference between the treatment and follow-up phases from the baseline phase at the .05 level but not on the control group. 2. There was no significant difference between groups on self-discipline behaviors at the treatment and follow-up phases. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/262 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.643 |
ISBN: | 9741706766 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.643 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.