Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26223
Title: พฤติกรรมการสื่อสารเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ ของอาจารย์วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2527
Other Titles: Communication behavior of the instructors of Uttaradit Teacher's College in 1984
Authors: สัมพันธ์ พูนนารถ
Advisors: จาระไน แกลโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสื่อที่ใช้ในการสื่อสารทางลายลักษณ์อักษรและทางวาจา ศึกษาระดับความสนใจในชนิดของข่าวสาร และศึกษาการรับข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ของอาจารย์วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ในปีการศึกษา 2527 รวมทั้งเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและคณาจารย์เกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสาร ทิศทางการสื่อสาร และประเภทการสื่อสาร ตามลักษณะการปฏิบัติงานในหน้าที่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากอาจารย์วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ในปีการศึกษา 2527 จำนวน 144 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 136 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.40 เป็นของผู้บริหาร 40 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 29.4 และเป็นของคณาจารย์ 96 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 70.6 การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานใช้วิธีเปรียบเทียบความแตกตางระหว่างผลสรุปรวมของค่าคะแนนเฉลี่ยกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มคณาจารย์เกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสาร ทิศทางการสื่อสาร และประเภทการสื่อสาร ปรากฏผลการวิจัยซึ่งสรุปได้ ดังนี้ 1. อาจารย์วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ใช้วิธีการสื่อสารทางลายลักษณ์อักษรที่เป็นหนังสือคำสั่งอยู่ในเกณฑ์มาก ที่เป็นป้ายประกาศข่าวสาร, หนังสือเวียน, บันทึกข้อความ และวารสารประชาสัมพันธ์ อยู่ในเกณฑ์ใช้พอประมาณ ส่วนเอกสารวิชาการ, จดหมายข่าวและจดหมายส่วนตัว อยู่ในเกณฑ์น้อย สำหรับวิธีการสื่อสารทางวาจาที่เป็นการพูดทางโทรศัพท์ภายใน, การประกาศเสียงตามสาย และการพบปะพูดคุยเป็นรายบุคคล อยู่ในเกณฑ์มาก ส่วนการประชุมคณะกรรมการ, การพบปะพูดคุยเป็นกลุ่ม และการประชุมคณาจารย์อยู่ในเกณฑ์ใช้พอประมาณ 2. ชนิดของข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ ๆ อาจารย์ให้ความสนใจตามลำดับมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ ข่าวเกี่ยวกับงานสอนและอบรม, ข่าวเกี่ยวกับงานบริการทางวิชาการ, ข่าวเกี่ยวกับการผลิตผลงานทางวิชาการ, ข่าวเกี่ยวกับงานบริหาร, ข่าวเกี่ยวกับงานธุรการ, ข่าวเกี่ยวกับงานวิจัย, ข่าวเกี่ยวกับงานกิจกรรมนักศึกษา, ข่าวเกี่ยวกับงานนิเทศการศึกษา และข่าวเกี่ยวกับงานวัฒนธรรม 3. การรับข่าวสารของอาจารย์ 3.1 ให้ความสนใจต่อข่าวสาร พึงพอใจที่จะแสวงหาข่าวสาร และมีความกระตือรือล้นที่จะสนใจติดตามข่าวสาร อยู่ในเกณฑ์มาก 3.2 เปิดรับข่าวสารผ่านสื่อทางลายลักษณ์อักษรที่เป็นหนังสือคำสั่งอยู่เกณฑ์บ่อยครั้ง ที่เป็นเอกสารวิชาการ, จดหมายข่าว และจดหมายส่วนตัว อยู่ในเกณฑ์นาน ๆ ครั้ง รวมทั้งเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อทางวาจาที่เป็นการพบปะพูดคุยเป็นรายบุคคลอยู่ในเกณฑ์บ่อยครั้ง ที่เป็นการพูดทางโทรศัพท์ภายใน, การประกาศเสียงตามสาย, การประชุมคณะกรรมการ, การพบปะพูดคุยเป็นกลุ่ม และการประชุมคณาจารย์ อยู่ในเกณฑ์บางครั้ง 3.3 ได้รับข่าวสารจากผู้บริหารไปยังอาจารย์ผ่านสื่อหนังสือคำสั่งอยู่ในเกณฑ์บ่อยครั้ง และผ่านจดหมายส่วนตัวอยู่ในเกณฑ์นาน ๆ ครั้ง ได้รับข่าวสารจากอาจารย์ไปยังผู้บริหารผ่านสื่อการพบปะพูดคุยเป็นรายบุคคล และการพูดทางโทรศัพท์ภายใน อยู่ในเกณฑ์บ่อยครั้ง และผ่านจดหมายส่วนตัวอยู่ในเกณฑ์นาน ๆ ครั้ง และได้รับข่าวสารระหว่างเพื่อนอาจารย์ด้วยกับผ่านสื่อการพบปะพูดคุยเป็นรายบุคคล และการพูดทางโทรศัพท์ภายใน อยู่ในเกณฑ์บ่อยครั้ง และผ่านจดหมายส่วนตัวอยู่ในเกณฑ์นาน ๆ ครั้ง 3.4 ข่าวสารที่ได้รับมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับงานสอนและอบรมอยู่ในเกณฑ์บ่อยครั้ง และมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับงานวัฒนธรรมและงานวิจัยอยู่ในเกณฑ์นาน ๆ จะได้รับบ้าง 3.5 เคยพบปะพูดคุย, รายงานข่าวสาร, ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความคิด วิพากษ์วิจารณ์ หรือ ปรึกษาหารือ และแจ้งเวียนข่าวสาร ให้เพื่อนอาจารย์ทราบ อยู่ในเกณฑ์บางครั้ง และเคยกระจายข่าวสาร, จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการและการประชุมคณาจารย์ ตลอดจนเผยแพร่ข่าวสารให้เพื่อนอาจารย์ทราบ อยู่ในเกณฑ์นาน ๆ ครั้ง 3.6 ได้นำข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ ๆ เป็นงานสอนและอบรมไปปฏิบัติด้วยตนเอง, มีส่วนช่วยเหลือในการปฏิบัติงานบริการทางวิชาการ งานบริหาร งานธุรการ งานกิจกรรมนักศึกษา งานผลิตผลงานทางวิชาการ งานนิเทศการศึกษา และงานวัฒนธรรม และรับรู้ว่ามีการปฏิบัติงานวิจัย 3.7 ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า อาจารย์ทุกคนควรปฏิบัติงานในหน้าที่ต่าง ๆ ด้วยตนเอง รวมทั้งมีความคิดเห็นว่าจะแนะนำและเคยแนะนำให้อาจารย์ท่านอื่นปฏิบัติงานในหน้าที่อยู่ในเกณฑ์เท่ากัน 3.8 วิธีการแนะนำให้อาจารย์ท่านอื่นปฏิบัติงานในหน้าที่โดยการพบปะพูดคุยกับเพื่อนอาจารย์เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มอยู่ในเกณฑ์บางครั้ง โดยการเสนอความคิดเห็นต่อผู้บริหาร, เขียนบทความหรือข่าวสารเผยแพร่ในจดหมายข่าว วารสารประชาสัมพันธ์ และเอกสารวิชาการ รวมทั้งเขียนเป็นจดหมายส่วนตัว อยู่ในเกณฑ์นาน ๆ ครั้ง 4. จากสมมติฐานที่ว่าผู้บริหารและคณาจารย์มีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสารแบบทางการและแบบไม่เป็นทางการ ทิศทางการสื่อสารจากบนลงล่าง จากล่างขึ้นบน และระหว่างเพื่อนอาจารย์ด้วยกัน และประเภทการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารกลุ่มย่อย และการสื่อสารสาธารณชน ตามลักษณะการปฏิบัติงานในหน้าที่ เมื่อได้นำค่าเฉลี่ยที่เป็นผลสรุปรวมของความคิดเห็นในแต่ละด้านมาเปรียบเทียบกันแล้วพบว่า ผู้บริหารและคณาจารย์มีความคิดเห็นแตกต่างกันจริง ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไวทุกข้อ
Other Abstract: The purposes of this study are to find the channels utilized for written and spoken communication by the instructors of Uttaradit Teachers’ college, to find the levels of instructors’ interest in flow of organization information, to find how the instructors obtain organization information, and to compare between the opinion of administors and instructors on the patterns, the directions and the types of organization communication. Questionaires were distributed to 144 instructors of Uttaradit Teachers’ College who functioned during 1984. And all of 136 completed questionaires or 94.40% were returned. Among these are from 40 administors or 29.4% and 96 instructors or 70.6% of the total. The data were analyzed and presented in terms of percentages, means, and standard deviation whereas the hypotheses were verified by the comparison of total means of each group on the opinion about patterns, directions and types of communication utilized in Uttaradit Teachers’ College administrative information system. The results of the study are as follow: 1. The instructors of Uttaradit Teachers’ College mostly communicate in written by means of letter of jobs obligation; moderately by means of information board, circular letters, annotations and public relation journals; and lowestly by means of academic documents, newsletters and personal letters. And they mostly communicate in spoken by means of on-campus telephone, on-lined announcement and interpersonal discussion; and moderately by means of committee conference, group meeting and college staff conference. 2. The instructors’ interest in organization information are respective as follows: teaching, inservice education, academic work, administration, business affairs, research, student affairs, educational supervision and culture. 3. Obtaining information 3.1 The instructors are highly interested in the information, satisfied to search for information and try to obtain the information concerning their jobs. 3.2 In case of written communication; instructors frequently obtain the information on their jobs from letters of jobs obligation, but seldom obtain it from academic documents, newsletters and personal letters. In case of spoken communication the instructors frequently obtain the information from interpersonal discussion and merely sometimes obtain it from on-campus telephone, on-lined announcement, committee conference, group conference and college staff conference. 3.3 The information about the jobs are often sent from the administors to the instructors by means of personal letters, but frequently sent from instructors to the administors by means of interpersonal discussion and on-campus telephone. Personal letters are seldom used. Information among colleagues flows through interpersonal conference, on-campus telephone and personal letters at row rate of frequency. 3.4 The information concerning teaching and in-service education is frequently obtained but with least frequent on the matter concerning culture and research. 3.5 The instructors merely sometimes contact with colleagues through chatting, report, retell, exchange of ideas criticize or consult, and circulate information among colleagues. They rarely organize committee conference or college staff conference or spread out the information to the colleagues. 3.6 The obtained information about the teaching and in-service education are applied to their daily duties and slightly beneficial to the acknowledgement of academic, administrative, clerical, and student activity, academic productivity, education supervision, cultural, and research practice. 3.7 Most of the instructors of College remarks that every instructor should perform his own duty, and they will advise others about the jobs. 3.8 The sometimes advise others about the duty through individual and sometimes group contacts with colleagues. They only once in a while propose the opinion to administrators, write articles or news in college advise others newsletters, public relations journals, and other academic publication and personal letters. 4. From the hypotheses, the opinion of the administors and the instructors concerning about the patterns of formal and informal communication, the directions of downward, upward and horizontal communication, and the types of interpersonal, small group and public communication on the instructors jobs were different, which means that all of the hypotheses of the study are accepted.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26223
ISBN: 9745668702
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sampunt_Po_front.pdf556.75 kBAdobe PDFView/Open
Sampunt_Po_ch1.pdf470.15 kBAdobe PDFView/Open
Sampunt_Po_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Sampunt_Po_ch3.pdf389.36 kBAdobe PDFView/Open
Sampunt_Po_ch4.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Sampunt_Po_ch5.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Sampunt_Po_back.pdf814.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.