Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26284
Title: | Typing and Acyclovir susceptibility of Herpes Simplex Viruses |
Other Titles: | การจำแนก Type และความไวรับต่อยา Acyclovir ของ Herpes Simplex Viruses |
Authors: | Ajchariyarat Sangdara |
Advisors: | Parvapan Bhattarakasol |
Other author: | Chulalongkorn University. Graduate School |
Issue Date: | 2003 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | HSV infection can occur at various parts of human body site such as mouth, skin, genital, eyes, and brain. Both types, HSV-1 and HSV-2, can cause many diseases such as herpes labialis, genital herpes, herpes keratoconjunctivitis, and herpes encephalitis, etc. Normally, in immunocompetent patients, HSV infection is less severe and extensive but HSV causes a variety of infections with significant morbidity and mortality among immunocompromised persons. Nowadays, many medications are available for treatment of HSV. However, acyclovir (ACV) is the drug of choice for the treatment of HSV infections. It has been proven to have a high efficacy in suppressing HSV replication and an excellent safety profile to host. Virus-specified thymidine kinase (TK) phosphorylates ACV to its monophosphate derivation. ACV is further phosphorylated by cellular enzymes to its triphosphate derivative. ACV triphosphate binds viral DNA polymerase, active as a DNA chain terminator. ACV is only effective against actively replicating viruses and does not affect vimses in persistent or latent state. Since HSV is specifically characterized by its ability to establish and maintain latent infection in sensory nerve ganglion that can be reactivated to become reinfection. Repeated therapy of ACV is common and long term treatment in some cases is recommended. These are the possible factors to induce the ACV resistant HSV strain (ACV HSV). Recently, detection of ACV1 HSV has been reported. Occasionally, ACV resistance can be due to an alteration of the TK protein as a result of mutation in genes that codes for TK (TK gene) or more rarely, a mutation may occur in the viral DNA polymerase (pot) gene. In this study, all HSV isolates collected from January 1998 to June 2002 were typed by using indirect immunofluorescent (IFA) method with a fluorescence isothiocyanate-conjugated (FITC) monoclonal (MAb) HSV-type specific antibodies and determined the susceptibility to ACV by PRA in order to estimate the prevalence of AC\/ HSV in Thai patients. And characterization of TK-mutation in ACV HSV by DNA sequencing method will be performed, if ACV HSV was detected. Only 86 isolates (71.07%) from 121 specimens were successfully propagated. They were from male 18.60% and female 81.40%. They were typed by indirect IFA using MAb HSV-type specific. Among these clinical samples, HSV-1 was found predominately 62.79%, followed by HSV-2 34.88% and only 2.32% were mixed infection. When the samples were divided according to the site of infection, specimens from the non-genital lesion (25.58%) were 90.91% of HSV-1, and 9.09% of HSV-2. No mixed infection was found. In genital specimens (74.42%), HSV-1 was detected 53.12%, 43.75 % of HSV-2, and 3.12% of mixed infection. Only 80 HSV isolates were assayed for ACV susceptibilities. The range of IC50 of 52 HSV-1 isolates was 0.07-0.97 µg/ml and 28 HSV-2 isolates were 0.17-1.66 µg/ml. The mean IC50 of ACV for HSV-1 and HSV-2 isolates were 0.36 µg/ml (SD: 0.23) and 0.54 (SD: 0.36). No ACV HSV was detected in this study. The study showed that genital specimens were from female more than those from male (81.40%). Moreover, they were mostly collected from suspected genital herpetic lesion. Interestingly, a prevalence of HSV-1 infection in genital lesion was 53.12%. That indicated a trend of genital HSV-1 infection was increasing in Thailand. The ACV susceptibility of HSV isolates exhibited a wide spectrum from the range of IC50 both types, were 0.07-1.66 µg/ml. HSV-1 isolates were more susceptible to ACV than HSV-2 isolates and the mean IC50 of HSV-1 isolates, 0.36 (SD=0.23), and that of HSV-2 isolates, 0.54 (SD=0.36), were statistically significant difference (p= 0.02). |
Other Abstract: | HSV เป็นไวรัสก่อโรคเริม การติดเชื้อไวรัสสามารถเกิดขึ้นที่บริเวณต่างๆ ของร่างกายได้ตั้งแต่ ปาก ผิวพนัง อวัยวะสืบพันธุ์ ตา และ สมอง เป็นต้น ไวรัสชนิดนี้มี 2 ไทป์ คือ HSV-1 และ HSV-2 ทั้งสองชนิดเป็นสาเหตุก่อโรคหลายโรคได้แก่ herpes labialis, eczema herpeticum, genital herpes, neonatal herpes, herpes keratoconjunctivitis และ herpes encephalitis เป็นต้น โดยทั่วไปการติดเชื้อ HSV ในคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันปกติมักจะไม่ก่ออาการรุนแรง แต่พบว่าการติดเชื้อในผู้ป่วยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจะเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะรุนแรง และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจุบันมียารักษาโรคติดเชื้อ HSV หลายชนิด แต่ acyclovir (ACV) เป็นยาที่นิยมใช้รักษาโรคติดเชื้อ HSV มากที่สุด เนื่องจาก ACV เป็นยาต้านไวรัสชนิดแรกที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเริมสูง และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ยา ACV มีกลไก การออกฤทธิ์ที่จำเพาะต่อเอ็นไซม์ของไวรัสคือ viral thymidine kinase (TK) enzyme ซึ่งจะเปลี่ยน ACV เป็นรูป active และเข้าไปยับยั้งขบวนการสร้างสารพันธุกรรม (DNA) ของไวรัสภายในเซลล์โดยผ่านเอ็นไซม์ DNA polymerase ของไวรัส แต่เนื่องจาก HSV มีคุณสมบัติสำคัญ คือ การติดเชื้อแอบแฝง (latent infection) ทำให้ไวรัชหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท และสามารถกลับมาก่อโรคได้อีก (recurrent infection) ท่าให้ มีการใช้ยา ACV บ่อยครั้ง และระยะเวลานาน ขึ้นกับอาการโรค จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญให้ไวรัสพัฒนาความสามารถในการดื้อยา ปัจจุบันมีรายงานพบ HSV ที่ดื้อตัวยา ACV (ACV HSV) มากขึ้น โดยเฉพาะพบมากในผู้ป่วยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นผลให้การรักษาด้วยยา ACV ไม่ได้ผล สาเหตุของการเกิด ACV1 HSV มาจากการกลายพันธุ์ที่ยีนสำคัญสองชนิด ได้แก่ ยีน TK และ DNA polymerase (pol) อย่างใดอย่างอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าโอกาสจะพบ ACV HSV ที่มีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ ของ TK gene มีสูงกว่า pol gene การวิจัยนี้จึงสนใจตรวจหาไทป์ของ HSV ที่แยกได้จากตัวอย่างสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย ที่ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ภาคจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย ระหว่างเดือนมกราคม พ.ค. 2541 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ค. 2545 ด้วยวิธี indirect immunofluorescence assay (IFA) โดยใช้ mouse monoclonal antibody (MAb) HSV - type specific และการตรวจหาความไวรับของ HSV ต่อยา ACV ด้วยวิธี plaque reduction assay (PRA) เพื่อหาความชุก (prevalence) ของ ACV HSV กรณีที่ตรวจพบภาวะการดื้อยาดังกล่าว จะทำการศึกษาลำดับเบส (DNA sequencing) ของ TK gene เพื่อทราบลักษณะทาง genotype และตำแหน่งของการกลายพันธุ์ ใน TK gene ผลการศึกษาจากจำนวนสิ่งส่งตรวจทั้งหมด 121 ตัวอย่าง สามารถเพิ่มจำนวนไวรัสได้ทั้งหมด 86 ตัวอย่าง คิดเป็น 71.01% เป็น ตัวอย่างจากผู้ชาย 18.60% และผู้หญิง 81.40% และเมื่อนำมาตรวจหาไทป์ด้วยวิธี indirect IFA โดยใช้ MAb HSV-type specific พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อ HSV-1 แทะ HSV-2 คิดเป็น 62.79% และ 34.88 % ตามลำดับ ซึ่งพบตัวอย่าง HSV ที่ติดเชื้อร่วมกันสองไทป์เพียง 2.32% เท่านั้น จากการแบ่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจตามบริเวณที่มีการติดเชื้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ (74.42%) และบริเวณอื่นๆ (25.58%) พบว่าสิ่งส่งตรวจที่เกิดจากบริเวณอื่นนอกเหนือจากบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์พบ HSV-1 และ HSV-2 คิดเป็น 90.91% และ 9.09 % ตามสำดับ ซึ่งบริเวณนี้ไม่พบว่ามี HSV ทั้งสองไทป์ที่ติดเชื้อร่วมกัน ผลการตรวจหาไทป์ของสิ่งส่งตรวจที่เกิดจากบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์พบว่า HSV-1 สูงถึง 53.12% ขณะที่ HSV-2 และ HSV ที่ติดเชื้อร่วมกันทั้งสองไทป์พบ 43.75% และ 3.12% ตามลำดับ เมื่อนำสิ่งส่งตรวจของ HSV-1 จำนวน 52 ตัวอย่าง และ HSV-2 จำนวน 28 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 80 ตัวอย่าง มาทดสอบความไวรับต่อยา ACV โดยวิธี PRA พบว่า HSV-1 และ HSV-2 มีช่วงค่า IC50 อยู่ระหว่าง 0.07-0.97 µg/ml และ 0.17-1.66 µg/ml ตามลำดับ เมื่อนำค่า IC50 ของแต่ละไทป์มาหาค่าเฉลี่ยพบว่า HSV-1 และ HSV-2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.36 µg/ml (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน: 0.23) และ 0.54 µg/ml (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน : 0.36) ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในการศึกษาไม่พบ HSV ที่ดื้อยา ACV การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงมีอัตราการติดเชื้อ HSV สูงกว่าผู้ชาย (81.40%) และพบว่าส่วนใหญ่เป็นตัวอย่างที่เก็บได้จากรอยโรคบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ สิ่งที่น่าสนใจคือ การติดเชื้อ HSV-1 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในบริเวณดังกล่าวและผลจากการศึกษาความไวรับของ HSV ที่มีต่อยา ACV พบว่าทั้งสองไทป์มีช่วงค่า IC50 สูงและกว้าง (0.07-1.66) แสะพบว่า HSV-1 มีค่าความไวต่อยา ACV สูงกว่า HSV-2 ซึ่ง ทั้งสองไทป์มีค่าเฉลี่ยของ IC50 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.02) |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2003 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Medical Microbiology (Inter-Department) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26284 |
ISBN: | 9741734212 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ajchariyarat_sa_front.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchariyarat_sa_ch1.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchariyarat_sa_ch2.pdf | 284.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchariyarat_sa_ch3.pdf | 6.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchariyarat_sa_ch4.pdf | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchariyarat_sa_ch5.pdf | 3.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchariyarat_sa_ch6.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchariyarat_sa_back.pdf | 6.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.