Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2629
Title: การศึกษาอัตราการอยู่รอดของตัวอ่อนนับตั้งแต่ตกไข่จนกระทั่งถึงคลอดในแม่สุกรท้องแรกพันธุ์แลนด์เรซและพันธุ์ยอร์คเซีย
Other Titles: Study of survival rate from ovulation to farrowing in purebered Landerace and Yorkshire sowa in the first parity
Authors: วิชัย ทันตศุภารักษ์
มงคล เตชะกำพุ
สามารถ ดรอิน
Email: wichai.t@chula.ac.th
mongkol.t@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
บริษัทเมทาโกรไฮบริด อินเตอร์เนชั่นแกนล จำกัด
Subjects: สุกร--การย้ายฝากตัวอ่อน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทำการศึกษาอัตราการตกไข่ และความสัมพันธ์ของอัตราการตกไข่กับจำนวนลูกแรกคลอดทั้งหมดในสุกรสาวพันธุ์แท้ ในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ทำการศึกษาที่ฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์ 2 แห่ง (A และ B) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างเดือนเมษายน 2544 ถึง ธันวาคม 2544 พันธุกรรมสุกรมีต้นกำเนิดจากยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ สุกรสาวได้รับการผสมเทียมเมื่อตรวจพบการเป็นสัดครั้งที่ 2 หรือมากกว่า และต้องมีน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 130 กก. ส่วนมากได้รับการผสมเมื่อเป็นสัดครั้งที่ 3 สุกรสาวทั้งหมด 127 ตัว เป็นพันธุ์แลนด์เรซ 24 ตัว กับพันธุ์ยอร์คเชีย 24 ตัว จากฟาร์ม A และพันธุ์แลนด์เรซ 42 ตัว กับพันธุ์ดยอร์คเซีย 25 ตัว จากฟาร์ม B ได้รับการตรวจด้วยวิธีลาพาโรสโคปภายใต้การวางยาสลบทั้งตัว ในวันที่ 8-15 หลังจากผสมเทียม ทำการเตรวจนับก้อนเหลืองบนรังไข่ และบันทึกพยาธิสภาพที่พบ จำนวนก้อนเหลืองใช้แทนอัตราการตกไข่ (จำนวนไข่ที่ตก) ทำการติดตามบันทึกผลของการผสมพันธุ์จนถึงคลอดรวมทั้งจำนวนลูกที่คลอด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน สุกรสาวพันธุ์แลนด์เรซมีอายุเมื่อผสมครั้งแรกน้อยกว่าสุกรสาวพันธุ์ยอร์คเชียอย่างมีนัยสำคัญ (244 vs. 249 วัน, P<0.05) สุกรสาวพันธุ์ยอร์คเชียมีอัตราการตกไข่สูงกว่าสุกรสาวพันธุ์แลนด์เรซอย่างมีนับสำคัญ (15.3 VS. 13.8 ใบ, P<0.001) จำนวนลูกแรกคลอดทั้งหมดไม่แตกต่างกัน แต่สุกรสาวพันธุ์ยอร์คเชียมีการสูญเสียไข่/ตัวอ่อนก่อนคลอดสูงกว่าพันธุ์แลนด์เรซ การศูญเสียไข่/ตัวอ่อน ก่อนคลอดตั้งแต่ตกไข่จนถึงคลอดเท่ากับ 31.0% และ 37.5% ในพันธุ์แลนด์เรซและพันธ์ยอร์คเชียตามลำดับ ทั้งอัตราการตกไข่ต่ำและการสูญเสียสูงเป็นสาเหตุของการมีขนาดครอกเล็กในสุกรสาวที่เลี้ยงในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น
Other Abstract: The aim of the present study was to investigate the evolution rate and its relationship with number of total pigs born in purebred gilts under tropical climate condition. This study was conducted at two swine breeding herds (A and B) in the northeastern part of Thailand from April to December 2001. The sources of swine genetic material originate from northwestern Europe. Gilts were mated (AI) on the second or later observed estrus. One hundred and twenty-seven gilts, 25 Landrace and 24 Yorkshire from herd A, and 42 Landrace and 35 Yorkshire from herd B were used. Gilts were examined once by laparoscopy under general anesthesia between days 8 to 15 after mating. The ovaries were examined and the pathological findings were recorded. The numberof corpora lutea was counted, and was assumed to equal the ovulation rate. Subsequent of variance results and farrowing data were redorded. The data was analyzed with analysis of variance. Single or double unilateral cysts and par-ovarian cyst did not affect mating results. Landrace gilts were significantly younger at first mating than Yorkshire gilts (244 vs. 249 d, P<0.05>. At first mating, Yorkshire had significantly higher ovulation rate compare to Landrace (15.3 vs 13.8, P<0.001). No difference in number of total piglets born between the two breeds, but Yorkshire had significantly higher ovum wastage than Landrace. The total prenatal loss from ovulation to farrowing is 31.0% and 37.5% in Landrace and Yorkshire, respectively. Both the low ovulation rate and the high prenatal loss were contributed in the low litter size in gilts raised under tropical climate condition.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2629
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichai.pdf691.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.