Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26298
Title: การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและผลกระทบภายนอกต่อผลิตภาพการผลิต กรณีศึกษาประเทศไทย
Other Titles: Foreign Direct Investment and Productivity Spillovers : evidence from Thailand
Authors: กลิ่นสุคนธ์ ทาระ
Advisors: ไพฑูรย์ วิบูลชุติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2548
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยผลกระทบของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อผลิตภาพการผลิตของอุตสาหกรรมของประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้เป็นของสถานประกอบการจำนวน 1,280 แห่ง ที่ดำเนินการผลิตในปี 2545 โดยแหล่งของข้อมูลคือการสำรวจอุตสาหกรรมการผลิตของสำนักงานสถิติแห่งชาติ การศึกษามี 3 ส่วน คือส่วนที่หนึ่ง ศึกษาผลกระทบโดยตรง (Direct effects) ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาพรวม ส่วนที่สอง ศึกษาผลกระทบโดยตรงของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่สำคัญ และส่วนที่สาม ศึกษาผลกระทบภายนอก (Spillover effects) ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาพรวมโดยศึกษาผลกระทบของการลงทุนจากต่างประเทศต่อสถานประกอบการซึ่งมีผู้ประกอบการไทยเป็นเจ้าของโดยเฉพาะ วิธีการศึกษาใช้แบบจำลอง 2 ประเภท คือ แบบจำลองผลกระทบโดยตรงของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและแบบจำลองผลกระทบภายนอกของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และใช้ตัวแปรที่มีผลต่อผลิตภาพการผลิต ได้แก่ สัดส่วนทุนต่อแรงงาน ขนาดของสถานประกอบการ ค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยในสถานประกอบการ และตัวแปรการร่วมทุนของต่างชาติ (Foreign presence) ผลการศึกษาในภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมพบว่า การลงทุนจากต่างประเทศก่อให้เกิดผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพแรงงานของสถานประกอบการที่มีสัดส่วนการร่วมทุนหรือถือหุ้นของชาวต่างประเทศมากกว่าร้อยละ 10 การศึกษาผลกระทบในรายอุตสาหกรรมพบว่า การลงทุนจากต่างประเทศช่วยให้ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรม ดังนี้คือ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ การวัดความเที่ยง และอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์นาฬิกา อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ขนส่งอื่นๆ และอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งการผลิตซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น นอกจากนี้เมื่อพิจารณาผลกระทบร่วมระหว่างการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศกับสัดส่วนการส่งออก พบว่า ผลิตภาพแรงงานของอุตสาหกรรมยานยนต์ เพิ่มสูงขึ้นเมื่อร่วมลงทุนกับต่างประเทศควบคู่ไปกับการส่งออก ผลการศึกษาผลกระทบภายนอกจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาพรวมพบว่าการลงทุนจากต่างประเทศมิได้ช่วยให้ผลิตภาพแรงงานของผู้ประกอบการที่มีชาวไทยเป็นเจ้าของเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลางได้รับผลกระทบในเชิงลบ อย่างไรก็ตามผลกระทบภายนอกก่อให้ผลิตภาพแรงงานเพิ่มสูงขึ้นในสถานประกอบการที่มีสัดส่วนทุนต่อแรงงานมีค่าสูง และการผลิตมีปริมาณสูง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าสถานประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางควรได้รับการเอาใจใส่จากภาครัฐอย่างจริงจังเพื่อลดผลกระทบทางลบอันเกิดจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และส่งเสริมให้เกิดผลกระทบทางบวกขึ้น โดยในขณะนี้ภาครัฐเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ ความสามารถบุคลากรในสถานประกอบการ และส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาต่างๆขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณอันดีในการพัฒนาศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมในประเทศไทยต่อไปในอนาคต
Other Abstract: This thesis examines the impacts of foreign direct investment on Thailand‘s labor productivity. The data obtained from the industries survey of the National Statistical Office consists of 1,280 manufacturing firms operating in 2002. The study divides into 3 parts; the first part examines the overall direct effects from foreign direct investment, the second part analyzes the direct effects from foreign direct investment on major industries, and the third pan tests the total spillover effects from foreign direct investment on domestic firms. The methods used in this study comprise of 2 models. The first model examines the direct effects from foreign direct investment. The second model tests the spillover effects from foreign direct investment. The independent variables consist of capital labor ratio, firm size, average wages, and foreign presence. The results in overall direct effects from foreign direct investment indicate that foreign firms with foreign shares exceeding 10% are more productive than domestic firms. The results of direct effects from foreign direct investment on major industries suggest that industries which have significantly positive effect on labor productivity are plastic, machinery, medical instruments, other transport equipment, and furniture. Once we consider the mutual effects of foreign direct investment and exports we find that motor vehicles industry need foreign investment combined with exports for the positive impact on the labor productivity. The results in overall spillover effects from foreign direct investment point out a significantly unfavorable effect on productivity of industries with foreign shares greater than or equal 10%, especially small and medium-sized firms having negative externalities. When we examine the mutual effects of foreign direct investment and capital labor ratio, and foreign direct investment and firm size, we found that negative externalities in domestic firms decreased significantly. The results indicate that the government should pay particular attention to small- and medium-sized firms to reduce negative spillover effects of foreign direct investment and to promote positive spillover effects. Nowadays the government has begun to promote knowledge arid skills of labor, foster the use of modern technology, and support many R&D activities. Such initiatives indicate a good signal for improvement and development of industries in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26298
ISBN: 9741437633
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Klinsukon_th_front.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open
Klinsukon_th_ch1.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open
Klinsukon_th_ch2.pdf5.51 MBAdobe PDFView/Open
Klinsukon_th_ch3.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Klinsukon_th_ch4.pdf24.41 MBAdobe PDFView/Open
Klinsukon_th_ch5.pdf29.72 MBAdobe PDFView/Open
Klinsukon_th_ch6.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Klinsukon_th_back.pdf15.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.