Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2631
Title: | การสำรวจคำศัพท์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภาษาไทยจากคำภาษาอังกฤษในหนังสือตำราภาษาไทยสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
Other Titles: | Survey of Thai terminologies from English terms in Thai medical sciences textbooks |
Authors: | จีระ อินทโกสุม เพ็ญพิมล เชี่ยวนาวิน อัญชลี แช่มชูกลิ่น วงศ์วรรณ วงศ์สุภา กฤษณา มูลานนท์ พรทิพย์ เมธะวัฒน์ เปล่งศรี อิงคนินันท์ อำนาจ ศรีรัตนบัลล์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชาอายุรศาสตร์ |
Subjects: | คำศัพท์ หัวเรื่อง--วิทยาศาสตร์การแพทย์ หัวเรื่อง--การแพทย์ |
Issue Date: | 2536 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดทำบัญชีศัพท์วิทยาศาสตร์การแพทย์ฉบับภาษาอังกฤษ-ไทย ตามหลักเกณฑ์ของ MeSH เพื่อประโยชน์ในการเป็นคู่มือจัดทำสหดรรชนีหัวเรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ภาษาไทยฉบับสมบูรณ์ เทียบเท่า MeSh ในอนาคต และเป็นคู่มือประกอบการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และนิพนธ์งานวิชาการแก่ประชากรเกี่ยวกับคำศัพท์ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการสำรวจและรวบรวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมด้วยคำแปลภาษาไทยหรือคำทับศัพท์จากตำราภาษาไทยสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2532 รวม 483 เล่ม ได้คำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งหมด 88,800 ระเบียน ซึ่งได้จัดแบ่งเพื่อทำการศึกษาออกเป็น 3 ประเภท โดยปรากฏผลดังนี้ ประเภทที่ 1 คำศัพท์ที่เป็น MeSH และที่ให้ MeSH ได้ 43,643 ระเบียน (ร้อยละ 49.15) หรือประมาณ ? ของคำศัพท์ที่รวบรวมได้ทั้งหมด ซึ่งแสดงว่าคำศัพท์ที่ใช้ในตำราภาษาไทยสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์จำนวนมากเป็นคำศัพท์มาตรฐานสากลที่มีใช้ใน MeSH ดังนั้นคำแปลภาษาไทยที่ได้จากคำศัพท์กลุ่มนี้ย่อมนำมาพิจารณากำหนดเป็นหัวเรื่องภาษาไทยควบคู่กับ MeSH ตามเกณฑ์มาตรฐานของการกำหนดรูปแบบดรรชนีหัวเรื่องภาษาไทยทางการแพทย์ที่เสนอในรายงานวิจัยเรื่อง การสำรวจการใช้ดรรชนีหัวเรื่องบทความวารสารภาษาไทยทางการแพทย์ (1) ได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น ประเภทที่ 2 เป็นคำศัพท์ที่ให้คำแปลภาษาไทยรวม 67,900 ระเบียน (ร้อยละ 76.46) คือ ประมาณ ? ของคำศัพท์ทั้งหมด ผลของการสำรวจนี้แสดงว่า ผู้ทรงคุณวุฒิผู้นิพนธ์ตำราสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์พยายามให้คำแปลภาษาไทยควบคู่กับคำศัพท์อังกฤษ เพื่อช่วยให้ผู้ศึกษาตำราได้เข้าใจอย่างชัดเจนในวิชาการ ประเภทที่ 3 คือ คำศัพท์ที่ให้คำทับศัพท์ จำนวน 20,900 ระเบียน (ร้อยละ 23.54%) หรือประมาณ ? ของคำศัพท์ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นคำศัพท์เทคนิคเฉพาะทาง อาทิ ชื่อยา ชื่อสาร และวิธีการ เป็นต้น คำศัพท์กลุ่มนี้ส่วนมากให้คำแปลไม่ได้ เพราะเป็นศัพท์เทคโนโลยีต่างประเทศ สิ่งที่เป็นปัญหาทั้งผู้นิพนธ์และผู้ศึกษาตำรา คือ คำทับศัพท์ซึ่งแตกต่างกันไปตามบุคคลและสถาบันไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อให้เกิดความสับสนในการนิพนธ์และการนำไปใช้อ้างอิง อนึ่ง ในการตรวจนับคำศัพท์ทั้งหมดที่ให้คำแปลหรือคำทับศัพท์เหมือนกันตั้งแต่ 5 ครั้ง ขึ้นไป พบว่ามีคำศัพท์จำนวน 997 ระเบียน (ร้อยละ 1.12) ที่ให้คำแปลและคำทับศัพท์เหมือนกันตั้งแต่ 5 ครั้ง ขึ้นไป รวม 1,016 ระเบียน แยกเป็นคำแปล 829 ระเบียน (ร้อยละ 83.15) และคำทับศัพท์ 187 ระเบียน (ร้อยละ 18.76) คำศัพท์ที่ให้คำแปลเหมือนกันในอัตราความถี่สูงสุดลงมาตามลำดับคือ 32 ครั้ง 29 ครั้ง และ 28 ครั้ง จากคำศัพท์ 1 ระเบียน ของแต่ละอันดับ คำศัพท์ที่ให้คำแปลหรือคำทับศัพท์ในอัตราความถี่ต่ำสุดที่กำหนด (5 ครั้ง) มีมากที่สุด คือ 275 ระเบียน บัญชีคำศัพท์จากผลงานวิจัยนี้เชื่อได้ว่าจะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก ทั้งในการจัดทำสหดรรชนีหัวเรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ภาษาไทยควบคู่กับ MeSH ในอนาคต และในการเป็นคู่มือประกอบการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และนิพนธ์งานวิชาการ ด้วยความหลากหลายของคำศัพท์และคำแปลและโดยผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย |
Other Abstract: | The objectives of the research are, firstly, to compile a list of English-Thai terminologies arranged alphabetically according to MeSH order for uitilization as an aid in the preparation of Thai Medical Subject Headings Indexes (TMSHI) equivalently to MeSH in the near future, secondly, to serve the mentioned list as a reference tool of vocabularies for the people in Medical Sciences. In surveying and collecting English terms together with Thai or transliterested terminologies from 483 Thai medical sciences textbooks published between 1978 to 1989, 88,800 English terms were gathered. For detailed study, all English terms gathered were classified and computerized into 3 groups as follows. The first group, 43,643 terms which belonged to the MeSH Terms (MT) and the classified MeSH Terms (CMT) was 49.15% or a half of the whole population collection. It implies that the majority of English terms used in the Thai medical sciences textbooks is as applicably universal as in MeSH. Thai terminologies obtained from this group may therefore be assigned more conveniently the TMSHI equivalent to MeSH according to the Criteria for Assigning Thai Terminology for the TMSHI proposed in the research work "A Survey on utilization of Thai Medical Subject Headings Indexes". The second group which consisted 67,900 English terms (76.46%) produced Thai terminologies. It was about ? of the whole population. The result represents the fact that most wellknown academic authors in Medical Sciences attempted to give Thai terminologies in couple with English terms, so as to assist readers for clear understanding. The third group, 20,900 English terms (23.54%) yielded transliterated terminologies. It covered averagely ? of the population. The transliterated terminologies received were mostly technical terms of specialties; i.e. , drug names, substance names and methods, etc. English terms of the group are hardly assigned Thai terminologies because of their foreign technological terms. The most difficult problem for both authors and readers isthe form of transliteration which varies regarding individuality and institution. This unsolved problem brings about confusion and disconfidence in writing and citing. In checking and counting the English terms which yield the same Thai or transliterated terminologies from 5 times up, it was found that there were 997 English terms (1.12%) which originated 1,016 Thai and transliterated terminologies similarly cited from 5 times up. They were composed of 829 Thai terminologies (83.15%) and 187 transliterated terms (18.76%). The English terms which produced the highest rate of the same Thai terminologies were subsequently 32, 29 and 28 times from a term of each rank. The lowest rank (5 times scores) consisted the largest part (275 English terms) of the group. With regard to the varieties of English terms and Thai terminologies given by a lot of wellknown academic authors in Medical Sciences, it is expected that the list of English-Thai terminologies of this research work will greatly be beneficial both as a reference tool in the preparation of a prenatal TMSHI book to be a couple of MeSH, and as a reference manual for the people in Medical Sciences in studying, making research, and writing academic articles. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2631 |
ISBN: | 9745824305 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jira(Med).pdf | 18.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.