Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26311
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องสามเณร ในพระพุทธศาสนา
Other Titles: An analytical study of Samanera in Buddhism
Authors: สุภัทร บริบูรณ์
Advisors: ปราณี ฬาพานิช
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาระบบและวิเคราะห์ประวัติความเป็นมาของสามเณร ตั้งแต่แรกอุบัติจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาวิเคราะห์ได้พบว่า พระราหุลราชกุมารเข้าไปทูลขอพระราชทรัพย์จากพระพุทธเจ้า ซึ่งมีผลให้พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตแก่พระสารีบุตร ให้บรรพชาพระราหุลราชกุมารเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา สามเณรกับพระภิกษุนั้นจัดว่าเป็นผู้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ในฐานะที่สามเณรเป็นผู้คอยปรนนิบัติรับใช้ ส่วนพระภิกษุนั้นเป็นผู้มีอาวุโสมากกว่า จึงมักจะอยู่ในฐานะอุปัชฌาย์ หรืออาจารย์ผู้คอยเอาใจใส่ดูแล ตลอดจนให้การศึกษาอบรมพระธรรมวินัยแก่สามเณร และถึงแม้ว่า สามเณรจะมีศีลสิกขาบทน้อยกว่า แต่อาจาระและสมณวัตร เกือบทั้งหมดก็คล้ายคลึงกันกับพระภิกษุ และมีบทบาทต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา เคียงบ่าเคียงไหล่กับพุทธบริษัททั้งหลายมาโดยตลอด ทั้งในฐานะผู้ทรงคุณธรรม มีสติปัญญาสูง ตลอดจนการแสดงอิทธิฤทธิ์ เพื่อปกป้องพระศาสนา ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดนี้ได้มีการบันทึกไว้ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา รวมทั้ง พระไตรปิฎกด้วย อนึ่ง ถึงสามเณรจะเป็นเพียงบรรพชิตผู้เยาว์ที่เข้ามาบรรพชาด้วยสาเหตุที่แตกต่าง กัน แต่สามเณรก็ได้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาไว้เป็นอันมาก ตัวอย่างเช่น สังกิจจสามเณร และนิโครธสามเณร เป็นต้น
Other Abstract: This thesis aims at a systematic and analytical study of the history of the Samaneras from the beginning up to the present time. The study reveals that Rahula’s request of Lord Buddha’s property results in the establishment of the Samaneras as a class of active participants in the Buddhist Congregation. By the Buddha’s permission Rahula was ordained by Sariputta as the first Samanera. Samaneras are closely related to the Bhikkhus as their personal attendants. Being older than the Samaneras, the Bhikkhus assume the position of teachers, teaching knowledges appropriate to their background. With limited number of precepts to observe, but almost identical way of living with that of the Bhikkhus, the Samaneras have various roles within the Buddhist Communities since the Buddha’s time. Their virtuos, wisdom and supernatural power are recognized and recorded in many Buddhist texts, including the Tripitaka itself. In spite of the fact that the Samaneras are as a rule younger and are ordained under several motives, many Samaneras, sush as Sankicca and Nigrodha have made contributions to the Good name of Buddhism.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาตะวันออก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26311
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Subhad_Bo_front.pdf473.82 kBAdobe PDFView/Open
Subhad_Bo_ch1.pdf332.36 kBAdobe PDFView/Open
Subhad_Bo_ch2.pdf625.59 kBAdobe PDFView/Open
Subhad_Bo_ch3.pdf812.09 kBAdobe PDFView/Open
Subhad_Bo_ch4.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Subhad_Bo_ch5.pdf298 kBAdobe PDFView/Open
Subhad_Bo_back.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.