Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26412
Title: Effects of curcumin on dna damage, cell proliferation, and incidence of gastric cancer induced by high salt and n-methyl-n-nitrosourea in rats
Other Titles: ผลของเคอร์คูมินต่อความเสียหายของดีเอ็นเอ การเพิ่มจำนวนเซลล์และอัตราการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารที่ถูกเหนี่ยวนำโดยเกลือเข้มข้นร่วมกับเอ็นเมทิลเอ็นไนโตรโซยูเรีย ในหนูแรท
Authors: Kawiya Sintara
Advisors: Duangporn Thong-ngam
Suthiluk Patumraj
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Duangporn.T@Chula.ac.th
No information provided
Subjects: Turmeric
Antioxidants
Cancer cell
Stomach -- Cancer
Issue Date: 2011
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Gastric cancer can generate in any part of the stomach. Because of poorly detected, gastric cancer causes the public health problem worldwide. Curcumin has anti-oxidant and chemopreventive properties. To determine whether curcumin could attenuate the gastric cancer incidence and the key proteins involved in carcinogenesis induced by saturated salt (s-NaCl) and N-methyl-N-nitrosourea (MNU) in rats. Male Wistar rats were divided into 6 groups: 1 control (CO), 2 control supplemented with 200 mg/kg curcumin (CC), 3 MNU+s-NaCl, 4 MNU+s-NaCl supplemented with 200 mg/kg curcumin daily for the first 3 weeks (MNU+s-NaCl+C3W), 5 MNU+s-NaCl rats supplemented with curcumin after induction (MNU+s-NaCl+C17W), and 6 MNU+s-NaCl supplemented with curcumin for 20 weeks (MNU+s-NaCl+C20W). To induce stomach cancer, rats except for group 1 and 2 were orally treated with 100 mg/kg MNU on day 0 and 14, and s-NaCl twice-a-week for the first 3 weeks. The experiment was finished and rats were sacrificed at the end of 20 weeks. The stomachs were removed for histological examination. The expressions of 8-hydroxy-2’-deoxyguanosine (8-OHdG) and cyclin D1 were investigated by immunohistochemistry. Western blot technique was used to examine phosphorylated inhibitor kappaB alpha (ӀҡB∝), and Bcl-2 expressions Cancers were found in the forestomach of all rats in group 3 and 5. Curcumin supplementations in group 4 and 6 showed 40% and 50% reduction of cancer incidence, respectively. Expressions of 8-OHdG, cyclin D1, and Bcl-2 significantly increased in group 3 compared with group 1. The phospho-ӀҡB∝ expression had a tendency to increase in group 3 compared with group 1. Immunoreactive cells of 8-OHdG in group 5 and 6 significantly decreased when compared with group 3 (46.43% ± 4.42 and 46.38% ± 3.14 vs. 53.06% ± 5.96; p = 0.012 and p = 0.011, respectively). The relative intensity of phospho-ӀҡB∝ in group 4 tended to reduce when compared with group 3. In conclusion, MNU and s-NaCl administrations lead to forestomach cancer and increase of 8-OHdG, cyclin D1, and Bcl-2 expressions in rats. Early supplementation of curcumin could attenuate the incidence of cancer at 50% with the significant reduction of 8-OHdG.
Other Abstract: โรคมะเร็งกระเพาะอาหารสามารถเกิดได้ทุกส่วนของกระเพาะอาหาร ด้วยการวินิจฉัยที่ลำบากทำให้โรคนี้เป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญทั่วโลก เคอร์คูมินซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ของขมิ้นชันมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการเกิดมะเร็ง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าเคอร์คูมินสามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารและระดับโปรตีนที่สำคัญในการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารที่ถูกเหนี่ยวนำโดยเกลือเข้มข้นร่วมกับ เอ็นเมทิลเอ็นไนโตรโซยูเรีย (เอ็มเอ็นยู) ในหนูแรทได้หรือไม่ หนูแรทสายพันธุ์วิสทาร์เพศผู้ถูกแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มควบคุม 2 กลุ่มควบคุมที่ได้รับเคอร์คูมิน 3 กลุ่มที่ได้รับการเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร 4 กลุ่มที่ได้รับการเหนี่ยวนำและได้รับการป้อนเคอร์คูมิน ขนาด 200 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุกวันในช่วง 3 สัปดาห์แรกที่มีการเหนี่ยวนำ 5 กลุ่มที่ได้รับการเหนี่ยวนำและได้รับเคอร์คูมินทุกวันในช่วง 17 สัปดาห์หลังจากการเหนี่ยวนำ และ 6 กลุ่มที่ได้รับการเหนี่ยวนำและได้รับเคอร์คูมินทุกวันเป็นเวลา 20 สัปดาห์ หนูในกลุ่มที่ได้รับการเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารทุกกลุ่มจะได้รับการป้อนเอ็มเอ็นยูขนาด 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในวันเริ่มต้นและวันที่ 14 ของการทดลองและได้รับการป้อนเกลือเข้มข้นสัปดาห์ละ 2 ครั้งในช่วงเวลาสามสัปดาห์แรก เมื่อสิ้นสุดการทดลองในสัปดาห์ที่ 20 กระเพาะอาหารถูกนำออกมาเพื่อศึกษาอัตราการเกิดมะเร็งด้วยวิธีทางเนื้อเยื่อวิทยา การแสดงออกของโปรตีนแปดไฮดรอกซี่สองดีออกซี่กัวโนซีนและโปรตีนไซคลินดีหนึ่งด้วยวิธีอิมมูโนพยาธิวิทยา และการแสดงออกของโปรตีนไอแคปปาบีแอลฟาที่ถูกเติมหมู่ฟอสเฟตและโปรตีนบีซีแอลสองด้วยวิธีเวสเทิร์นบล็อท เกิดมะเร็งในส่วนก่อนกระเพาะอาหารของหนูทุกตัวในกลุ่ม 3 และ 5 การได้รับเคอร์คูมินในกลุ่มที่ 4 และ 6 ลดอัตราการเกิดมะเร็งได้ร้อยละ 40 และ 50 ตามลำดับ การแสดงออกของโปรตีนแปดไฮดรอกซี่สองดีออกซี่กัวโนซีน ไซคลินดีหนึ่ง และบีซีแอลสอง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ 3 เทียบกับกลุ่มที่ 1 การแสดงออกของโปรตีนไอแคปปาบีแอลฟาที่ถูกเติมหมู่ฟอสเฟตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ 3 เทียบกับกลุ่มที่ 1 จำนวนเซลล์ที่มีการแสดงออกของโปรตีนแปดไฮดรอกซี่สองดีออกซี่กัวโนซีน ในกลุ่มที่ 5 และ 6 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ 3 โดยค่าเฉลี่ยคือร้อยละ 46.43 ± 4.42 และ 46.38 ± 3.14 เทียบกับร้อยละ 53.06 ± 5.96 (p = 0.012 และ p = 0.011) ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของการแสดงออกของโปรตีนไอแคปปาบีแอลฟาที่ถูกเติมหมู่ฟอสเฟตมีแนวโน้มลดลงในกลุ่มที่ 4 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ 3 กล่าวโดยสรุปว่าการให้เกลือเข้มข้นร่วมกับเอ็มเอ็นยูนำไปสู่การเกิดมะเร็งในส่วนก่อนกระเพาะอาหารและการเพิ่มขึ้นของการแสดงออกของโปรตีน แปดไฮดรอกซี่สองดีออกซี่กัวโนซีน ไซคลินดีหนึ่ง และบีซีแอลสอง การได้รับเคอร์คูมินตั้งแต่เริ่มการเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งได้ร้อยละ 50 ร่วมกับการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการแสดงออกของโปรตีนแปดไฮดรอกซี่สองดีออกซี่กัวโนซีน
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2011
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Physiology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26412
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1725
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1725
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kawiya_si.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.