Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26439
Title: ความคิดเห็นของศึกษาธิการอำเภอในเขตศึกษา 7 เกี่ยวกับเกณฑ์ในการคัดเลือกครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา
Other Titles: The opinions of Suksatikarn Ampur in the seventh educational region concerning the criteria for the selection of elementary school principals
Authors: สุพีร์ อายุวัฒน์
Advisors: พิชัย บูรณะสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาแนวคิดและทัศนคติของศึกษาธิการอำเภอในเขตศึกษา 7 เกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นครูใหญ่ในโรงเรียนประถมศึกษาในเรื่องดังต่อไปนี้ ก. กระบวนการและวิธีการคัดเลือกตัวบุคคล ข. คุณสมบัติของบุคคลที่จะครอบตำแหน่ง ซึ่งรวมทั้งคุณลักษณะส่วนตัว ประสบการณ์ การศึกษาอบรม พื้นฐานทางปรัชญา พื้นฐานทางสังคม เป็นต้น 2. เพื่อจะหาเกณฑ์ประกอบการพิจารณาครูใหญ่ โรงเรียนประถมศึกษาที่ดี ว่าควรเป็นอย่างไร วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ศึกษาธิการอำเภอในเขตศึกษา 7 จำนวน 62 อำเภอ รวม 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของศึกษาธิการอำเภอ ในเขตศึกษา 7 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เกี่ยวกับตัวผู้ตอบแบบสอบถามและความคิดเห็นของศึกษาธิการอำเภอ ในการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งครูใหญ่ในโรงเรียนประถมศึกษา และตอนที่ 2 เกี่ยวกับความคิดเห็นของศึกษาธิการอำเภอเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนประถมศึกษา ในการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์และนำส่วนหนึ่งไปส่งด้วยตนเอง เพื่อจะได้สัมภาษณ์และสังเกตการทำงาน ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังอำเภอต่างๆ จำนวน 62 ฉบับ ได้คืนมา 58 ฉบับ ปรากฏว่าเป็นแบบสอบถามที่ไม่สมบูรณ์และใช้ไม่ได้ 2 ฉบับ คงเหลือแบบสอบถามที่นำมาวิเคราะห์ 56 ฉบับ ถือว่าได้รับคืน 90.32 เปอร์เซนต์ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละของความถี่ของคำถามแต่ละข้อ และแต่ละคำตอบในข้อเดียวกัน สรุปผลการวิจัย 1. ผลการวิจัยเกี่ยวกับสถานภาพของศึกษาธิการอำเภอในเขตศึกษา 7 ปรากฏว่าส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคน มีอายุราชการนาน มีการศึกษาดี มีระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการอำเภอมานาน ซึ่งพอจะถือได้ว่า มีประสบการณ์ในการทำงานมาก 2. ผลการวิจัยเกี่ยวกับความคิดเห็นของศึกษาธิการอำเภอในเขตศึกษา 7 สรุปได้ว่า เกณฑ์ในการคัดเลือกครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา ควรจะเป็นดังนี้ คือ ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งครูใหญ่ควรจะเป็นบุคคลที่ได้มาโดยการคัดเลือก มีอายุราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ครูประจำชั้น หัวหน้าหมวดวิชา และผู้ช่วยครูใหญ่มาก่อน มีวุฒิ ป.ม. หรือ ป.กศ.สูง หรือเทียบเท่าเป็นอย่างต่ำ มีอายุระหว่าง 20-30 ปี และถ้าคัดเลือกได้บุคคลที่เคยได้รับการศึกษาอบรมเกี่ยวกับงานในหน้าที่ครูใหญ่ หรือเคยทำงานด้านบริหารการศึกษามาแล้ว จะเป็นการเหมาะสมยิ่งขึ้น 2. คุณลักษณะของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา ตามลักษณะงานบริหารการศึกษา 5 ด้าน ศึกษาธิการอำเภอในเขตศึกษา 7 มีความเห็นด้วยว่า ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ควรมีลักษณะในด้านวิชาการ ได้แก่ การขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ มีความรู้ความสามารถในการนิเทศและให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นได้ มีความรู้เกี่ยวกับการวัดผลและการประเมินผล มีความรอบรู้ในด้านวิชาชีพ เคยผ่านการศึกษาอบรมวิชาบริหารการศึกษามาแล้ว สนับสนุนกิจกรรมเสริมหลักสูตรเท่าๆ กับการเรียน 3. คุณลักษณะของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งครูใหญ่ในด้านงานธุรการ ได้แก่ มีความรอบรู้เกี่ยวกับการพัสดุครุภัณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารอาคารสถานที่ คุณลักษณะของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งครูใหญ่ในด้านงานบริหารบุคคล ได้แก่ มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความสามารถในการจัดวางตัวบุคคลให้เหมาะสมกับงานมีความรับผิดชอบ มีความสามารถในการประสานงาน เป็นบุคคลที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น คุณลักษณะของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งครูใหญ่ในด้านการประสานสัมพันธ์กับชุมชน ได้แก่ สามารถเป็นผู้นำในชุมชนได้ เป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนและผู้ปกครองนักเรียน เป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่มีขึ้นในชุมชน เป็นบุคคลที่เข้าใจถึงความต้องการชุมชน เป็นบุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น คุณลักษณะเกี่ยวกับกิจกรรมนักเรียน ได้แก่ มีลักษณะเป็นผู้นำ มีความเข้าใจในความต้องการและปัญหาของนักเรียน มีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการในโรงเรียน
Other Abstract: Objectives of the Study 1. To study the opinions of Suksatikarn Ampur in the seventh Educational Region about the concept and ideology-concerning the selection of candidates for the position of the principal in elementary schools in the following aspects: a. procedure and manner of selection; b. personal qualifications including those which related to experience, education, philosophy and sociological backgrounds. 2. To find a basis for the definition of good elementary school principals. Research Procedure The sample used in the research consisted of Suksatikarn Ampurs in 62 Ampurs which form the Seventh Educational Region. The research tool employed of questionnaire which solicited points of view of Suksatikarn Ampurs in the Seventh Educational Region. The questionnaire was divided into two parts : Part I, was concerned with the personal data of the person answering the questionnaire ; dealt with their points of view regarding the decision making process for the appointment of principals in elementary schools ; and Part II, examined their points of view regarding the characteristics of principals of elementary schools. In the collection of data the investigation utilized the postal service and hand delivery which made it possible to hold interviews and to observe the work routine at the same time. Out of 62 questionnaire which were sent to the various districts, 58 were answered and only two was incomplete. Thus the study was based on 56 questionnaires or 90.32 percent of all questionnaires returned. The data were analyzed by determining the percentage of questions and answer for each point. Research Findings 1. Regarding the situation of the Seventh Educational Region’s Suksatikarn Ampurs show that of them were middle-aged, and have been civil servants for a long time. Most of them have been officers for many years with a good educational background. It could be concluded that they had a lot of experience in their works. 2. Concerning the points of view of Suksatikarn Ampurs in the Seventh Educational Region show that the basis of selection of elementary school principals should be follows : (a) selected from people having been in the civil service for at least 5 years with experience as class teachers, subject heads and assistant head-masters ; (b) should also have at least normal or higher teaching diplomas and between 20-30 years of age ; (c) selected from people having been trained as head-masters or having worked in the field of educational administration. 3. Regarding the characteristics of the prospective principals, Suksatikarn Ampur in the Seventh Educational Region agreed that they should have the following traits : eagerness to increase their knowledge; the ability to inform and give advice to other people; good professional knowledge; training as an educational administrators; and willingness to encourage extra-curricula activities. In the area of school business management, future principals should be well versed in educational official rules and regulations; school finance; correspondence; educational materials; and have experience in school plant planning. As for personnel administrative tasks, they should have good human relations; able to put the right man on the right job; high sense of responsibilities; the ability to be good coordinators; willingness to accept other’s opinions. In school community relations aspects they should be able to lead ready to participate and share, and is respectable enough to represent the people in that community. Furthermore they should be able to understand the community’s needs, thus, they ought to be local persons. Concerning student activities, they should have characteristics of a leader, know the students’ needs and problems, and have experiences in this field.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26439
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supee_Ar_front.pdf454.66 kBAdobe PDFView/Open
Supee_Ar_ch1.pdf391.76 kBAdobe PDFView/Open
Supee_Ar_ch2.pdf680.16 kBAdobe PDFView/Open
Supee_Ar_ch3.pdf280.33 kBAdobe PDFView/Open
Supee_Ar_ch4.pdf803.89 kBAdobe PDFView/Open
Supee_Ar_ch5.pdf446.21 kBAdobe PDFView/Open
Supee_Ar_back.pdf444.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.