Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2648
Title: การศึกษาคาริโอไทป์ของจระเข้พันธุ์น้ำจืด จระเข้พันธุ์น้ำเค็ม และจระเข้ลูกผสม โดยวิธีธรรมดา และการใช้เทคนิคแบนดิ้ง : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Karyotypes of freshwater crocodiles (Crocodylus siamensis), saltwater Crocodiles (Crocodylus porpsus) and the interspecific hydrids by conventional and banding techniques
Authors: วิวัฒน์ ชวนะนิกุล
ดวงสมร สุวัฑฒน
วีระพงศ์ โกยกุล
สุมิตรา วัฒโนดร
จุฑารัตน์ สุขไข่
Email: Cvivat@chula.ac.th, Vivat.C@Chula.ac.th
sduangsm@chula.ac.th
Weerapong.K@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชาพยาธิวิทยา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล
Subjects: จระเข้
คาริโอไทป์
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: คาริโอไทป์ของจระเข้น้ำจืด (freshwater crocodile, Crocodylus siamensis) จำนวน 20 ตัว จระเข้พันธุ์น้ำเค็ม (saltwater crocodile, Crocodylus porosus) จำนวน 17 ตัว และจระเข้ลูกผสม (interspecific hydrid) ชั่วที่ 1 (F1) จำนวน 15 ตัว และชั่วที่ 2 (F2) จำนวน 10 ตัว ได้มาจากการเพาะเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดขาวในอาหารเลี้ยงเชื้อ Ham's F10 และ EMEM โดยทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ในตู้อบที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส จำนวน โครโมโซมของจระเข้พันธุ์น้ำจืดคือ 2n=30 ประกอบไปด้วยโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดใหญ่ 5 คู่ โครโมโซมอะโครเซนตริค 1 คู่ โครโมโซมซับเมตาเซนตริค 4 คู่ และโครโมโซมเซนตริคขนาดเล็ก 5 คู่ จระเข้พันธุ์น้ำเค็มมีจำนวน โครโมโซม 2n=34 ประกอบด้วยโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดเล็ก 5 คู่ เช่นเดียวกับจระเข้าพันธุ์น้ำจืด แต่มีโครโมโวมเมตาเซนตริคขนาดใหญ่เพียง 4 คู่ โครโมโซมอะโครเซนตริค 5 คู่ และโครโมโซมซับเมตาเซนตริค 3 คู่ ในจระเข้ทั้งสองชนิดโครโมโซมอะโครเซนตริคคู่หนึ่งแสดงลักษณะของ secondary constriction อย่างชัดเจน คาริโอไทป์ของลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) มีจำนวนโครโมโซม 2n=32 ประกอบไปด้วยชนิดของโครโมโซมที่เกิดจากการผสมกันของพ่อและแม่ ได้แก่ โครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดใหญ่ 9 ตัว โครโมโซมอะโครเซนตริค 6 ตัว โครโมโซมซับเมตาเซนติค 7 ตัว และโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดเล็ก 10 ตัว ในลูกผสมชั่วที่ 2 (F2) ปรากฏว่าลูกผสม F2 ที่ได้คาริโอไทป์ 3 แบบ ขึ้นอยู่กับการจับคู่ของการผสมพันธุ์ ลูกที่เกิดจากการผสม F1 กับจระเข้พันธุ์น้ำจืดมีจำนวนโครโมโซม 2n=31 ในขณะที่ ลูกที่เกิดจากการผสม F1 กับจระเข้าพันธุ์น้ำเค็มมีจำนวนโครโมโซม 2n= 33 คาริโอไทป์ทั้งสองแบบมีโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดใหญ่ และขนาดเล็กเท่ากันคือ จำนวน 9 และ 10 ตัวตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จระเข้ที่มีจำนวนโครโมโซม /ช31 มีโครโมโซมอะโครเซนตริค 4 ตัว โครโมโซมซับเมตาเซนตริค 8 ตัวในขณะที่จระเข้ที่มีจำนวน โครโมโซม 2n=33 มีโครโมโซมอะโครเซนตริค 8 ตัว และโครโมโซมซับเมตาเซนตริค 6 ตัว คาริโอไทป์แบบที่สามได้จากการผสมระหว่างลูกผสม F1 ด้วยกัน (interse mating) มีจำนวนโครโมโซม 2n=32 ประกอบด้วยโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดใหญ่ 5 คู่ โครโมโซมอะโครเซนตริค 3 คู่ โครโมโซมซับเมตาเซนตริค 3 คู่ และโครโมโซมเมตาเซนตริค 3 คู่ และโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดเล็ก 5 คู่ อย่างไรก็ตาม คาริโอไทป์ทุกแบบที่ได้ศึกษามีจำนวนแขนของโครโมโซมที่เรียกว่า Fundamental number (NF) เท่ากันหมดคือ 58 จากการวิเคราะห์พบว่าจนะเข้ทั้งสองชนดมีความสัมพันธ์กันในเชิงวิวัฒนาการ คือ มีการเชื่อมกันของโครโมโซมอะโครเซนตริค ทำให้เกิดโครโมโซมเมตาเซนตริคหรือซับเมตาเซนตริค และก่อให้เกิดคาริโอไทป์ที่ไม่เหมือนกันในจระเข้ทั้งสองพันธุ์ การวิเคราห์สรุปได้ว่าโครโมโซมอะโครเซนตริคคู่ที่หนึ่ง และคู่ที่สองของจระเข้าน้ำเค็มเกิดการเชื่อมกันกลายเป็นโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดใหญ่คู่ที่สามของจระเข้พันธุ์น้ำจืด และโครโมโซมอะโครเซนตริคคู่ที่สาม และคู่ที่ห้าของจระเข้พันธุ์น้ำเค็มเกิดการเชื่อมกันกลายเป็นโครโมโซมซับเมตาเซนตริคคู่ที่ 1 ของจระเข้พันธุ์น้ำจืด การศึกษารูปแบบที่เกิดจากการทำ NOR's banding ทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า secondary constriction ของโครโมโซมอะโครเซนตริคเท่านั้นที่ติดสีเข้ม ซึ่งพบได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย โดยเฮพาะจระเข้าพันธุ์น้ำจืดตำแหน่งนี้อยู่บนโครโมโซมอะโครเซนตริคที่มีอยู่คู่เดียว ส่วนจระเข้น้ำเค็มอยู่บนโครโมโซมอะโครเซนตริคคู่ที่ 4
Other Abstract: Karyotupes of 20 Siamese freshwater crocodiles (Crocodylus siamensis), 17 saltwater crocodiles (Crocodylus porosus) and 15 interspecific hybrids of F1 and 10 F2 were studied using conventional lymphocyte method in Harm's F10 and EMEM media with incubation temperature of 30 degeree Celsius. The diploid chromosome number of the freshwater crocodile was 30 consisting of 5 pairs of large metacentric, 1 pair of acrocentric, 4 pairs of submetacentric and 5 pairs of small metacentric chromosomes. The saltwater crocodiles which had 2n=34 showed the same number of small metacentric chromosomes but they had 4 pairs of large metacentrics, 5 pairs of acrocentric and 3 pairs of submetacentric chromosomes. In both species, one pair of acrocentric chromosomes demonstrated a prominent characteristic of secondary constriction. The karyotypes of F1 interspecific hybrids (2n=32) revealed a combination of chromosome complement from each species. There were 9 large metacentric, 6 acrocentric, 7 submetacentric and 10 small metacentric chromosomes. In F2 hybrids, three different karyotypes were found depending on the types of mating. Background of F1 with the freshwater crocodile produced the hybrids with 2n=31 whereas backcrossing of F1 with the saltwater crocodile produced 2n=33. These two karyotypes showed the same number of F9 large and 10 small metacentric chromosomes. However, the animal with 2n=31, had 4 acrometric and 8 submetacentric while those with 2n=33 had 8 acrocentric and 6 submetacentric chromosomes. The interse mating (F1xF1) produced 2n=32 consisting of 5 homolohous pairs of large metacentric, 6 acrocentric, 6 submetacentric and 10 small metacentric chromosomes. However, these six karyotypes have the same fundamental number (NF) of 58. Comparative analysis of karyotypes made from both species and their hybrids showed that the fusion of acrocentric chromosomes to produce bi-armed chromosomes plays a major role in the production of different karyotypes. The first and second pairs of acocentric chromosomes have become the third pair of a large metacentric pair and the third and the fifth have become the first pair of existing submetacentric chromosomes. By using NOR's banding technique, the secondary constriction on the fourth pair in the saltwater crocodiles was marked by a prominent dark band. Nor's bands were found in both male and female crocodiles. In freshwater crocodiles, they were on the only one pair of acrocentric chromosomes whereas in saltwater crocodiles, they were on the fourth pair of acrocentric chromosomes. Results from the NOR's banding technique also supports the hypothesis concerning the fusion of acrocentric chromosomes during the course of evolution.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2648
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vivat(Kary).pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.