Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26500
Title: การศึกษาประสิทธิภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อบำบัดน้ำเสียจากระบบบำบัดของโรงงานอุตสาหกรรมน้ำย้น
Other Titles: A study on the efficiency of constructed wetland in treating wastewater from stabilizing pond of latex industry
Authors: ทรงพล รักษ์เผ่า
Advisors: ธเรศ ศรีสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาประสิทธิภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นแบบไหลอิสระเหนือผิวดินในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานน้ำยางข้นที่ผ่านการบำบัดขั้นต้นมาแล้ว มลสารในน้ำเสียที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ ได้แก่ Biochemical Oxygen Demand (BODJ). Total Kjeldahl Nitrogen (TKN). และ Total Suspended Solid (TSS) โดยทำการเปรียบเทียบระดับน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้น 3 ระดับ คือ 0.15 0.30 และ 0.45 เมตร คิดเป็นอัตราการไหลของน้ำเท่ากับ 0.11 0.23 และ 0.34 ลูกบาศก์เมตรต่อวันตามลำดับ ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบำบัดของพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นเมื่อใช้พืชสองชนิดคือ ต้นธูปฤาษี (Typha angustifolia) และต้นบอน (Colocasia esculenta) เมื่อเทียบกับพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่ปลูกพืชใดๆ นอกจากนี้ยังทำการศึกษาถึงการเจริญ เติบโตของพืชทั้งสองชนิด พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีต้นบอน และมีระดับน้ำ 0.15 เมตร มีประสิทธิภาพในการลดค่า BOD5 ได้ดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพเท่ากับ 79.95±4.90 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีประสิทธิภาพรองลงมา คือ พื้นที่ชุ่มน้ำที่ปลูกต้นบอน และมีระดับน้ำ 0.30 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพเท่ากับ 70.07±7.48 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยังเป็นประสิทธิภาพที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีระดับน้ำที่ปลูกต้นบอน และมีระดับน้ำ 0.45 เมตร มีประสิทธิภาพในการกำจัด BOD5 เพียง 60.09±10.12 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ชุ่มน้ำที่ปลูกต้นธูปฤาษี มีประสิทธิภาพในการกำจัด BOD5 ค่อนข้างต่ำ แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อระดับน้ำลดลง กล่าวคือ ประสิทธิภาพในการกำจัด BOD5 เมื่อมีระดับน้ำ 0.15 0.30 และ 0.45 เมตร เท่ากับ 59.17±17.12, 48.89±20.11 และ 33.78±23.69 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัด TKN ของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีต้นธูปฤาษี มีความใกล้เคียงกับประสิทธิภาพในการกำจัด TKN ของพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่ปลูกพืชใดๆ ในระดับน้ำทุกๆระดับ แม้ว่าประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ประสิทธิภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีต้นธูปฤาษี และไม่มีพืช ดีกว่าประสิทธิภาพของพืชที่ชุ่มน้ำที่มีต้นบอนอย่างมีรัยสำคัญทางสถิติ แต่ขนาดของความแตกต่างมีไม่มาก ประสิทธิภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำที่ระดับน้ำ 0.15 เมตร ที่มีต้นธูปฤาษี ต้นบอน และไม่มีพืช เท่ากับ 65.63±9.17 , 62.40±9.89 และ 67.26±6.24 ตามลำดับ พื้นที่ชุ่มน้ำที่ระดับน้ำ 0.30 เมตร ที่มีต้นธูปฤาษี ต้นบอน และไม่มีพืชเท่ากับ 60.74±12.36 , 53.68±13.16 และ 61.9±8.18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะเห็นว่าแตกต่างจากระดับน้ำ 0.15 ไม่มากนัก โดยทั่วไปพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีพืช สามารถลดปริมาณของ TSS ได้ดีกว่าพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่มีพืช โดยต้นบอนมีประสิทธิภาพดีที่สุดในทุกๆระดับ TSS ที่ออกจากพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่มีพืชยังมีปริมาณสูงกว่า TSS ในน้ำเข้าอีกด้วย ประสิทธิภาพในการกำจัด TSS สูงขึ้นเมื่อระดับน้ำลดลง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการลด TSS คือ พื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งมีระดับน้ำ 0.15เมตร และมีต้นบอน โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.93±5.56 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีระดับน้ำ 0.30 เมตร และปลูกต้นบอน โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.65±10.94 เปอร์เซ็นต์ ตลอดการทดลอง 100 วันพบว่า ต้นบอน และต้นธูปฤาษี มีการเจริญเติบโตได้ดีในอัตรา ที่ค่อนข้างสม่ำเสมอต้นบอนมีการเจริญเติบโตเร็วกว้าต้นธูปฤาษี พืชทั้งสองชนิดเจริญเติบโตได้ดีในน้ำเสียมากกว่าน้ำดี นอกจากนี้ยังเจริญเติบโตได้ดีขึ้นเมื่อระดับน้ำโดยเฉพาะน้ำเสียลดลง โดยมีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในระดับน้ำ 0.15 เมตร
Other Abstract: The study was conducted to determine the efficiency of Free Water Surface (FWS) constructed wetlands in removal of Biochemical Oxygen Demand (BOD5). Total Kjeldahl Nitrogen (TKN), and Total Suspended Solid (TSS) of primary treated waste water from a Latex industry. Three water levels included 0.15 , 0.30 and 0.45 metres, which yielded a water flow rate of 0.11 , 0.23 and 0.34 cubicmetres per day respectively, were compared. Efficiency was also compared between two plants (Typha angustifolia and Colocasia esculenta) and without plant in the system. Growth of the two plants was also studied. The constructed wetland with Colocasia esculenta and 0.15 metres water level was the most efficient model in BOD5 removal. The average efficiency was 79.95±4.90 percents. The second most efficient model was the wetland with Colocasia esculenta and 0.30 meter water level. The average efficiency was 70.07±7.48 percents, which was still at high level. However the wetland with Colocasia esculenta and 0.45 meter water depth had the efficiency in BOD5 removal only 60.09±10.12 percents. The wetlands with Typha angustifolia had low efficiency in BOD5 removal, although the efficiency increased when the water levels of 0.15, 0.30 and 0.45 meters were 59.17±17.12, 48.89±20.11 and 33.78±23.69 percents, respectively. The constructed wetlands with Typha angustifolia had a comparable efficiency in TKN removal with the constructed wetlands without any plant at all water levels, although the efficiency was decreased when water levels increased. The efficiency of the constructed wetland with Typha angustifolia or without plant yielded better efficiency than the wetlands with Colocasia esculenta. The efficiency of the wetland at 0.15 meter water level with Typha angustifolia , Colocasia esculenta , and without plant were 65.63±9.17 , 62.40±9.89 and 67.26±6 .24 percents , respectively.The efficiency in TKN removal of 0.30 meter water level wetlands with Typha angustifolia, Colocasia esculenta and without plant were 60.74±12.36, 53.68±13.16 and 61.9±8.18 percents respectively. In general, the constructed wetlands with plants were more efficient in TSS removal than the constructed wetlands without plant. The wetlands with Colocasia esculenta at any water level were the most efficient. The efficiency in TSS removal increased when water levels decreased. The most efficient model of constructed wetland for TSS removal was the wetland with Colocasia esculenta and 0.15 meter water level, where the average efficiency was 85.93±5.56 percents. The second most efficient was the wetland with Colocasia esculenta and 0.30 meter water level, where the efficiency was 74.65±10.94 percents. In general, Typha angustifolia and Colocasia esculenta growed quite well with consistent rates. Colocasia esculanta growed more rapidly than Typha angustifolia. Both plants growed better in waste water than clean water. In addition, the lower the water levels, the better they growed. They growed best in the water level of 0.15 meters.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26500
ISBN: 9741735936
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Songpol_ru_front.pdf5.9 MBAdobe PDFView/Open
Songpol_ru_ch1.pdf970.27 kBAdobe PDFView/Open
Songpol_ru_ch2.pdf21.39 MBAdobe PDFView/Open
Songpol_ru_ch3.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open
Songpol_ru_ch4.pdf17.89 MBAdobe PDFView/Open
Songpol_ru_ch5.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Songpol_ru_back.pdf18.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.