Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26524
Title: Zusammemstob und ausgleich zwischen ,,Der Alten Welt" und ,,Der Neuen Welt" in Ludwig Tiecks Der Junge Tischlermeister
Other Titles: ความขัดแย้งและการประสานความขัดแย้งระหว่าง "โลกยุคเก่า" กับ "โลกยุคใหม่" ในวรรณกรรมเรื่อง "นายช่างไม้หนุ่ม" ของ ลุควิก ทีค
Authors: Konggrit Bhookkamarn
Advisors: Laser, Bjorn
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Arts
Subjects: Tiecks, Ludwig, 1773-1853. Der Junge tischlermeister -- Criticism and interpretation
Issue Date: 2005
Abstract: Die vorliegende Magisterarbeit zielt zum einen darauf, den Zusammenstoβ zwischen der alten, traditionellen Welt und den verschiedenen neuen Kräften am Beispiel von einer Groβnovelle Ludwig Tiecks zu untersuchen. Zum anderen soll die Arbeit auch darstellen, wie der Protagonist den Ausgleich zwischen den gegensätzlichen Welten findet. Die alte Welt verweist auf traditionelle Ordnungen, die bis zum Ausbruch der Französischen Revolution gültig waren. Dazu zählen z. B. die Standesordnung oder das bürgerliche Familienideal. Die neue Welt meint die neuen progressiven Kräfte, die gegen die traditionellen Ordnungen protestieren. Beispiele sind der Gedanke der Menschensrecht, die Emanzipation der Frauen und das Vorziehen des menschlichen Alltags. Aus der Untersuchung geht hervor, dass sich Konflikte in verschiedenen Aspekten reflektieren: Kunst, Wirtschaft und Ehe/Liebe. Die alte Welt erscheint in Gestalten von z. B. romantischer Kunstreligion, Zunftwesen und Festhalten an der bürgerlichen Ordnung. Die neue Welt erscheint in Form von Neigung zu Zweckmäβigkeit, Nützlichkeit und Versachlichung, die sich als Folgen von Industrialisierung und Kapitalisierung ansehen lassen. Die neue Welt meint darüber hinaus auch den Versuch, die althergebrachten Ordnungen zu untergraben. Der Protagonist kann alle Konflikte beilegen, indem er seine bürgerliche Familie für eine Zeitlang verlässt, und sich anderen abschweifenden Lebensformen aussetzt. Schlieβlich kann er sich dadurch einen Ausgleich für Konflikte schaffen. Es sind zwei Elemente vorhanden, die sich dem Protagonisten als Mittel zur Beilegung der Konflikte erweisen: Theater und freie Geselligkeit/Gesprächskultur. Diese zwei Elemente können in der Gesellschaftsstruktur im 19. Jh. als soziale Mechanismen betrachtet werden, die die sozial-politische Spannung der Zeit vermindern. Tieck stellt sie in seinem Werk dar und hebt dabei ihre Funktion des,, Konfliktausgleichs“ hervor.
Other Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาภาพความขัดแย้งระหว่าง “โลกยุคเก่า” กับ “โลกยุคใหม่” และวิธีการค้นหาทางในการประสานความขัดแย้งดังกล่าวของตัวละครเอกในวรรณกรรมเรื่อง “นายช่างไม้หนุ่ม” ของนักประพันธ์ชาวเยอรมันนาม ลุดวิก ทีค “โลกยุคเก่า” ในที่นี้หมายถึงระเบียบแบบแผนหรือค่านิยมที่ปฏิบัติกันมาจนถึงยุคการปฏิวัติฝรั่งเศสอันได้แก่ การยึดมั่นในกรอบประเพณีของชนชั้นในสังคมอย่างเคร่งครัด และความคิดเกี่ยวกับศิลปะที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์โดยสิ้นเชิง ส่วน “โลกยุคใหม่” หมายถึงกระแสค่านิยมที่ท้าทายแบบแผนเดิมที่ปฏิบัติกันมา เช่น แนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ รวมถึงการให้ความสำคัญแก่คุณค่าประโยชน์ใช้สอยทางวัตถุมากกว่าสุนทรียะทางด้านจิตใจ จากการวิจัยพบว่าภาพความขัดแย้งดังกล่าวสะท้อนออกมาในสามประเด็นใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ศิลปะเศรษฐกิจ ชีวิตครอบครัวและความรัก “โลกยุคเก่า” ปรากฏออกมาในหลายรูปแบบ ได้แก่แนวคิดศิลปะแบบโรแมนติก คือการยกย่องศิลปะประหนึ่งเป็นศาสนา ให้ความสำคัญแก่สุนทรียะที่เกิดทางจิตใจและความนึกคิดเพ้อฝัน การรักษาขนบสมาพันธ์ทางอาชีพ (Zunftwesen) และการยึดมั่นในระเบียบครอบครัวชั้นกลาง ส่วน “โลกยุคใหม่” ได้แก่ การมุ่งเน้นถึงแต่ประโยชน์ใช้สอยและความจำเป็นในแง่วัตถุในชีวิตประจำวันอันเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและระบบทุนนิยมที่แพร่เข้ามาในประเทศเยอรมนีช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 รวมถึงความพยายามที่จะล้มเลิกขนบธรรมเนียมและระเบียบแบบแผนเดิม โดยหันมาให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่องวิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของมนุษย์แทน ตัวละครเอกสามารถประสานความขัดแย้งต่างๆดังกล่าวโดยการ “ผละ” ออกจากธรรมเนียมประเพณีของชนชั้นกลางชั่วคราวเพื่อออกไปท่องโลกและเผชิญกับกระแสความคิดแบบใหม่ที่ท้าทายต่อธรรมเนียมปฏิบัติเดิม จนในที่สุดสามารถที่จะประสานความขัดแย้งภายในได้สำเร็จและกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในกรอบธรรมเนียมตามเดิมได้อย่างมีความสุข ในส่วนวิธีการค้นหาทางในการประสานความขัดแย้งนั้น จากการวิจัยพบว่ามีองค์ประกอบสองส่วนด้วยกันที่ทำให้ตัวละครเอกสามารถประสานความขัดแย้งต่างๆดังกล่าวได้ นั่นคือ โรงละคร และวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันอย่างเปิดเผย (Gesprächskultur) ซึ่งองค์ประกอบทั้งสองส่วนนี้ถือเป็นกลไกทางสังคมที่มีอยู่จริงและมีส่วนช่วยคลี่คลายความตึงเครียดทางการเมืองช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งผู้ประพันธ์ได้นำเสนอองค์ประกอบทั้งสองในวรรณกรรมในฐานะเป็นวิธีการประสานความขัดแย้งดังกล่าวได้อย่างกลมกลืน
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2005
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: German
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26524
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1874
ISBN: 9745329886
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1874
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Konggrit_bh_front.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Konggrit_bh_ch1.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open
Konggrit_bh_ch2.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Konggrit_bh_ch3.pdf23.39 MBAdobe PDFView/Open
Konggrit_bh_ch4.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Konggrit_bh_back.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.