Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26618
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดาศิริ วศวงศ์
dc.contributor.authorจิรานุวัฒน์ เจริญพุทธคุณ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-28T08:32:41Z
dc.date.available2012-11-28T08:32:41Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.isbn9741421117
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26618
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดและการออกคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ว่ามีหลักเกณฑ์การพิจารณาคดีเป็นอย่างไร รวมทั้งยังศึกษาถึงผลของคำวินิจฉัยชี้ขาดและการออกคำสั่งว่าเป็นคำสั่งในทางปกครองหรือไม่ ตลอดจนได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัย คำชี้ขาดและคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสมพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมโดยศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ว่ามีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพิพากษาที่มีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด เพื่อศึกษาหาแนวทางแก้ไข และปรับปรุงต่อไป จากการศึกษาพบว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นองค์กรไตรภาคีประกอบไปด้วย ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่งในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม โดยคำวินิจฉัยชี้ขาดและคำสั่งในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิและหน้าที่ทั้งฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาและฝ่ายกล่าวหาอันเป็นการใช้อำนาจในทางปกครองประเภทการกระทำทางปกครองเป็นคดีปกครองประเภทหนึ่ง ซึ่งในการพิจารณาทบทวนคำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมโดยศาลแรงงานจะต้องพิจารณาตรวจสอบเฉพาะความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงศาลแรงงานกลับพิจารณาพิพากษาในเนื้อหาของคดีโดยมิได้พิจารณาตรวจสอบแต่เฉพาะความชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากหลักเกณฑ์การพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้มีการแบ่งแยกคดีแพ่งในทางแรงงานกับคดีปกครองในทางแรงงานไว้อย่างชัดเจน องค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลแรงงานเป็นลักษณะไตรภาคีประกอบไปด้วยผู้พิพากษาและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง หลักการฟ้องคดีในคดีที่เป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมที่ไม่ได้บัญญัติไว้ให้ “เป็นที่สุด” และการนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลม จึงทำให้เกิดปัญหาในคดีที่เป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดและคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมโดยศาลแรงงาน กล่าวคือการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมเป็นเพียงเงื่อนไขที่จะนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลแรงงานเท่านั้น รวมทั้งแทบทุกคดีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่งในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมไปแล้วมักถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลแรงงาน นอกจากนี้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ยังมิได้กำหนดระยะเวลาในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดและคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมต่อศาลแรงงาน รวมทั้งมิได้กำหนดขอบเขตของการพิพากษาคดีดังกล่าวไว้ ซึ่งไม่เป็นการสอดคล้องต่อหลักในทางปกครองอันเป็นอุปสรรคแก่การระงับข้อพิพาทแรงงานในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ในการพิจารณาทบทวนคำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมต่อศาลแรงงาน จึงควรแก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยกำหนดให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม “เป็นที่สุด” และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ในเรื่ององค์คณะของผู้พิพากษาในศาลแรงงาน กำหนดให้ระยะเวลาในการฟ้องคดีมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน รวมทั้งกำหนดวิธีพิจารณาพิพากษาคดีในคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้ชัดเจน
dc.description.abstractalternativeThe thesis aims to consider construction, power, duty, procedure of decision making of the labor relations board in the case of unfair labor practice under the Labor Relations Act B.E. 2518 in order to find principle of labor court‘s judgment and to consider whether the board's decision and order are administrative order or not, including when appeal the labor relations board's decision in the case of unfair labor practice under the Labor Court and Labor Dispute Procedure Act B.E. 2522 to the court whether the appellate principle is suitable or not, in order to find solutions and improvement of the principle. According to studies, the labor relations board is tri-partite consisting of employer party, employee party and state party who has authority of decision making and ordering in the case of unfair labor practice. The board decision and order in the case of unfair labor practice which results to changing or extinction of right and duty of both defendant and plaintiff are the use of administrative power as an administrative action category which, according to the court reviewing principle of the board's decision or order in the case of unfair labor practice, the court must recheck only the legitimacy of the board's decision or order. But in effect, the court checks up inside the content of the case instead of check up on the legitimacy only, because the principle under the Labor Court and Labor Dispute Procedure Act B.E. 2522 does not clearly separate between civil labor case and administrative labor case. Furthermore, the labor court’s quorum, both in labor civil case and labor administrative case, is tri-partite consisting of state judge employee lay judge and employer lay judge. The Labor Relations Act B.E. 2518 does not provide that the appeal shall be final, adding that the procedure in labor court is in accordance with the provision of the Civil Procedure Code. These cause the board‘s decision to be regarded as a condition to pass the case in to the court procedure and most of the case considured by the board appealed to the court. Moreover, the Labor Court and Labor Dispute Procedure Act B.E. 2522 provides neither the appeal period of time nor the scope of judgment which is not parallel with administrative principle. These are obstacles of extinction of labor disputes in the case of unfair labor practice. In order to find solutions of all problems, the Labor Relations Act B.E. 2518 should be improved to provide that the board's decision and order are final and the Labor Court and Labor Dispute Procedure Act B.E. 2522 should be improved the quorum of labor court, provide clearly the ending of appeal period and the procedure.
dc.format.extent2644827 bytes
dc.format.extent1947334 bytes
dc.format.extent7844483 bytes
dc.format.extent31502118 bytes
dc.format.extent10085986 bytes
dc.format.extent3386073 bytes
dc.format.extent6581251 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการพิจารณาทบทวนคำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมโดยศาลแรงงานen
dc.title.alternativeThe procedure of labor court in reviewing the labor relations borad's decision in the case of unfair labor practiceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiranuwat_ch_front.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open
Jiranuwat_ch_ch1.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Jiranuwat_ch_ch2.pdf7.66 MBAdobe PDFView/Open
Jiranuwat_ch_ch3.pdf30.76 MBAdobe PDFView/Open
Jiranuwat_ch_ch4.pdf9.85 MBAdobe PDFView/Open
Jiranuwat_ch_ch5.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
Jiranuwat_ch_back.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.