Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26685
Title: พุทธศาสนากับแนวความคิดทางการเมือง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. 2325-2352)
Other Titles: Buddhism and political thoughts in the region of King Rama I (1782-1809)
Authors: สายชล วรรณรัตน์
Advisors: นิธิ เฮียวศรีวงศ์
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในความพยายามที่จะเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมือง สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ราชสำนักในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ดำเนินการคือการสถาปนาอุดมการณ์ของรัฐขึ้นใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพการณ์ทางการเมืองในเวลานั้น ทั้งนี้เพื่อจะช่วยให้สามารถจัดระเบียบและควบคุมสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงหลักการณ์ของพุทธศาสนาซึ่งได้รับการเน้นเพื่อเป็นอุดมการณ์ของรัฐในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยจะพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในระยะก่อนหน้าและระยะเริ่มต้นของสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีผลต่อความคิดทางพุทธศาสนาและความคิดทางการเมือง สภาพการณ์ทางการเมืองที่ทำให้ราชสำนักสถาปนาอุดมการณ์ของรัฐจากความคิดทางพุทธศาสนา และเนื้อหาสาระของอุดมการณ์ซึ่งเป็นหลักการณ์ในการจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมภายในรัฐ ผลการศึกษาพบว่า ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ – สังคมในปลายอยุธยาทำให้เริ่มเกิดมีคนที่มีลักษณะเป็นกระฎมพี ความคิดของคนเหล่านี้มีลักษณะมนุษยนิยมและเหตุผลนิยมมากขึ้น อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ – สังคมนั้นเองได้เป็นเหตุให้มูลนายและไพร่พากันละเมิดกฎเกณฑ์ของสังคม ทำให้สังคมปั่นป่วนไร้ระเบียบ ผู้คนที่ไม่ได้รับความคุ้มครองจากระบบทางสังคมหันเข้าพึ่งอำนาจเหนือธรรมชาติ พุทธศาสนาแบบที่เน้นบุญฤทธิ์วิทยาคมมีอิทธิพลอย่างสูง ชนชั้นนำซึ่งมีความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงไม่อยู่ในฐานะที่จะสถาปนาหลักการณ์ทางศาสนาที่เป็นระบบเพื่อเป็นอุดมการณ์ของรัฐได้ ถึงสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้ความสำคัญแก่ภารกิจของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นใหญ่สูงสุดตามคติของพุทธศาสนามากขึ้น แต่ความแตกต่างหลากหลายของความคิดทางการเมืองยังคงดำรงอยู่ตลอดรัชกาล เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เห็นได้ชัดว่าราชสำนักในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกซึ่งประกอบด้วยผู้นำทางการเมืองที่มีลักษณะของกระฎมพีมากขึ้น ได้สถาปนาหลักการณ์ของพุทธศาสนาแบบมนุษยนิยมเพื่อเป็นอุดมการณ์ของรัฐ อุดมการณ์นี้มีสาระสำคัญว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งปฏิบัติภารกิจในฐานะมิกราชาธิราช ภารกิจของพระองค์ทั้งในการฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรล้วนเป็นไปเพื่อจรรโลงธรรม เพื่อจะยังชนทั้งปวงให้เข้าใจพุทธธรรมลึกซึ้งยิ่งขึ้นและดำรงชีวิตในวิถีทางที่ชอบด้วยธรรม เพื่อจะได้บรรลุพระนิพพานอันเป็นอุดมคติของชีวิต เมื่อธรรมิกราชาธิราชทรงปฏิบัติภารกิจในทางที่เป็นคุณแก่ชนทั้งปวงเช่นนี้แล้วชนทั้งปวงพึงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์โดยการทำหน้าที่ตามฐานะทางสังคมของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเชื่อฟังพระบรมราชโองการ
Other Abstract: In an attempt to establish political stability, one of the most important programs which the Court of King Rama I had set forth, was to form a new state ideology which went in hands with social environment at the time, especially the political situation. This was meant for an effective order and social control. This thesis aims at studying principles of Buddhism which had been emphasized as state ideology in the reign of King Rama I. It will consider social changes prior to and around the beginning of the Rattanakosin period which had strong impact on Buddhist and political thinkings at the time. Political situation paved a way for the establishment of state ideology according to Buddhist thought and created the essence of such ideology for social organization within the state. From the study, it has been discovered that the socio-economic changes during the late Ayudhya time resulted in the rise of certain people as bourgeoisie. This bourgeoisie had become more humanistic and rationalistic in their thinking. Nevertheless, because of the changes the nai and the phrai joined together in violating social rules and regulations creating social unrest. Those who could not get protection from existing social order, sought refuge in super-natural powers. Buddhism with the emphasis of magical and animistic beliefs, then, became highly influential. The upper class, seriously injured by their own political conflicts, was not in the position to form any religious principle for the keeping of social order or for the use as state ideology. In the Thonburi period, King Taksin had attempted to set up the idea of ideal king as supreme ruler along Buddhist line. However, politico-ideological differences had persisted throughout his reign. In the Rattanakosin period, it is clear from the evidence that the court of King Rama I consisted of political leaders who were becoming more bourgeoisie. They tried to establish humanistic Buddhist principles as state ideology. This ideology centers around the concept of king as the Bodhisattava who carries the task of the Dhamikarajadhiraja. His responsibility, secular as well as religious, is for the preservation of the Dhamma. This means that his subjects will have a more profound understanding of Buddhism and can lead their lives rightly along the Dhamma and eventually reach the Nibbana, the ultimate goal. If the Dhamikaraja-dhiraja acts for the benefits of his subjects, the people will be grateful to him, loyally and obediently carrying out their duty according to their social status.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26685
ISBN: 9745611603
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saichon_Wa_front.pdf651.92 kBAdobe PDFView/Open
Saichon_Wa_ch1.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
Saichon_Wa_ch2.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Saichon_Wa_ch3.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Saichon_Wa_ch4.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open
Saichon_Wa_back.pdf895.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.