Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26691
Title: สถานภาพทางสังคมของผู้หญิงไทย (ในช่วงปี พ.ศ. 2475-2493) ในนวนิยายของ ดอกไม้สด และ ก. สุรางคนางค์
Other Titles: The social status of Thai women in the novels of Dok Maisod and K. Surang Kanang (Between B.E. 2475-2493)
Authors: สายสมร เฉยตรองการ
Advisors: สุภางค์ จันทวานิช
ระวาท วณิคพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ดอกไม้สด
ก.สุรางคนางค์, 2454-
สตรี -- ไทย -- ภาวะสังคม, 2475-2493
ชนชั้นในสังคม -- ไทย
ไทย -- ภาวะสังคม, -- 2475-2493
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยที่เป็นทั้งแบบพรรณนาวิเคราะห์ ( Analystical Descriptive ) และการค้นคว้าจากเอกสาร ( Documentary Research ) โดยมุ่งศึกษาสถานภาพทางสังคมของผู้หญิงไทยจากนวนิยาย ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาสถานภาพทางสังคมของสตรีในช่วงเวลาหนึ่ง คือ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงหมดสมัยนิยม พ.ศ. 2493 โดยใช้วรรณกรรมรูปแบบนวนิยายเป็นแหล่งข้อมูลการวิจัยจำกัดขอบเขตการศึกษา เฉพาะงานนวนิยายของนักเขียนสตรี 2 ท่าน คือ ดอกไม้สด ( 2488 – 2506 ) และ ก. สุรางคนางค์ (2454- ) ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษานวนิยายของดอกไม้สดและ ก. สุรางคนางค์ พบว่า ในนวนิยายของนักเขียนทั้งสองท่านมีสาระเรื่องผู้หญิงเพียงพอและมากกว่าที่พบในนวนิยายของนักเขียนท่านอื่น ๆ ในยุคเดียวกัน นอกจากนั้น สาระเกี่ยวกับผู้หญิงที่นักเขียนทั้งสองมะท้อนออกมา ยังแสดงให้เห็นภาพของผู้หญิงจากชนชั้นสูงและชนชั้นกลาง ซึ่งมีสถานะที่แตกต่างกัน ข้อค้นพบในส่วนที่เกี่ยวกับสถานภาพทางสังคมของผู้หญิงในชนชั้นสูง และ ชนชั้นกลางในงานนวนิยาย มีดังนี้ ในสภาบันครอบครัว ดอกไม้สด ได้สะท้อนภาพมารดาในชนชั้นสูงที่มีหน้าที่อบรมเลี้ยงดูบุตรธิดาจนได้แต่งงานออกเรือนไป และก็ยังให้ภาพของมารดาสมัยใหม่ที่ยังคงมีหน้าที่อบรมเลี้ยงดูลูกแต่ก็ปฏิบัติตนดังเพื่อนที่ให้ความรักความเข้าใจ รับฟังลูกได้ทุกเรื่องแม้แต่เรื่องเพื่อนชาย ซึ่งมารดาลักษณะนี้จะเป็นผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาใหม่ ส่วน ก. สุรางคนางค์ก็ชี้ให้เห็นว่ามารดาในชนชั้นกลาง ก็มีหน้าที่อบรมเลี้ยงดูลูก และให้ความสำคัญต่อการศึกษาของลูกมาก อีกทั้งโดยทั่วไป มารดาในชนชั้นกลางเป็นมารดาสมัยใหม่ที่ให้อิสระต่อการมีคู่ครองของลูก โดยคอยให้คำปรึกษาแก่ลูก อย่างไรก็ตาม ก. สุรางคนางค์ ก็ได้เสนอภาพมารดาในชนชั้นกลางที่อาจจะคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการแต่งงานของลูกสาว ในฐานะภรรยา จากการที่วัฒนธรรมตะวันตก การมีผัวเดียวเมียเดียวกำลังเป็นที่ยอมรับอย่างแร่หลาย ดอกไม้สดก็ได้เสนอภาพของภรรยาในชนชั้นสูงที่ไม่มีความสุขกับการที่สามีมีภรรยาหลายคนในบ้านเดียวกัน พร้อมทั้งให้ภาพภรรยาที่แหวกกฎเกณฑ์ประเพณีเดิมที่ภรรยาเคยเป็นช้างเท้าหลัง โดยจะไม่ยอมอยู่ภายใต้อำนาจของสามีอีกต่อไป นอกจากนี้ ดอกไม้สดยังให้คุณลักษณะของภรรยาในสังคมใหม่เพิ่มเติมที่ต้องรู้จักการเล่นกีฬา การเต้นรำ การสมาคมเคียงบ่าเคียงไหล่สามีอีกด้วย ส่วน ก. สุรางคนางค์ ก็เสนอแบบฉบับของภรรยาที่ดีในชนชั้นกลางที่ทำหน้าที่ดูแลกิจการงานบ้านได้อย่างเรียบร้อย ทั้งยังปฏิบัติตนเป็นเพื่อนคู่คิดของสามี เป็นคู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขของสามี มีความซื่อสัตย์ต่อสามีและหากภรรยาประพฤตินอกใจสามี ก็จะได้รับการประนามหยามเหยียดจากสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ก. สุรางคนางค์ ก็ได้เสนอแง่คิดเกี่ยวกับการมีชู้ของภรรยาในแง่ที่ว่า ปัญหาระหว่างสามีภรรยานั้นจะตัดสินว่าผิดศีลธรรมอย่างไร ควรจะศึกษาหรือรู้มูลเหตุของปัญหาเสียก่อน ส่วนในฐานะบุตรสาว ในงานนวนิยายของดอกไม้สด และ ก. สุรางคนางค์ บุตรสาวยังคงเป็นบุตรสาวที่ต้องเคารพเชื่อฟัง กตัญญูต่อบิดามารดา และญาติผู้ใหญ่ คอยช่วยเหลือดูแลบิดามารดายามเจ็บป่วย และเข้าสู่วัยชรา ในยุคนี้สถานภาพของบุตรสาวพัฒนาขึ้นกว่าอดีตมาก คือมีโอกาสได้รับการศึกษามากขึ้น ก็มีความเป็นของตนเองในการดำเนินชีวิต บางครั้งถึงกับแหวกประเพณีเดิม เช่น การคัดค้านการแต่งงานแบบคลุมถุงชนหรือการจดทะเบียนกับคนรักโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่เป็นต้น สำหรับ สถานภาพทางการศึกษาของผู้หญิงไทยก็นับว่าดีขึ้นเป็นลำดับตามลักษณะการพัฒนาของระบบการศึกษา จากงานนวนิยามของ ดอกไม้สด และ ก. สุรางคนางค์พบว่า ผู้หญิงโดยทั่วไปมีโอกาสศึกษามากขึ้น ซึ่งตัวละครเอกฝ่ายหญิงล้วนจบการศึกษาสูงกว่าภาคบังคับ มีโอกาสเรียนภาษาต่างประเทศ ตลอดจนวิชาการบ้านการเรือน แต่อย่างไรก็ตามนักเขียนทั้งสองท่านต่างก็เสนอว่าสถานภาพทางการศึกษาของผู้หญิงชนชั้นสูงพัฒนาดีขึ้นกว่าผู้หญิงชนชั้นกลางคือมีโอกาสได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจของผู้หญิงในงานนวนิยายนั้น ลักษณะการที่ผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเริ่มประกอบอาชีพต่าง ๆ นอกบ้านจะพบได้ในผู้หญิงชนชั้นกลางมากกว่าผู้หญิงชนชั้นสูง เนื่องมาจากค่านิยมเดิมของชนชั้นสูงไม่นิยมให้ผู้หญิงออกมาทำงานนอกบ้าน ประกอบกับฐานะทางเศรษฐกิจเอื้ออำนวย หรือหากจะมีหญิงสาวในชนชั้นสูงที่มีการศึกษาจะประกอบอาชีพ ก็จะมีอาชีพเดียวเท่านั้นคือ อาชีพครู ส่วนผู้หญิงในชนชั้นกลางนั้นจะประกอบอาชีพต่าง ๆ คือ ครู เลขานุการ นักเขียน หรืออาจจะทำงานพิเศษช่วยสามีทำงาน เช่นออกเงินให้กู้ หรือเป็นนายหน้า เป็นต้น ส่วนสถานภาพทางการเมืองและกฎหมายของผู้หญิงนั้นจากการศึกษางานนวนิยายของนักเขียนทั้งสองท่านนดังกล่าว มิได้ให้ภาพสะท้อนที่เด่นชัดนักในเรื่องนี้ ซึ่งก็อาจจะเนื่องจากเป็นระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังไม่มีการตื่นตัวในเรื่องการเมือง และกฎหมายเพื่อสิทธิของผู้หญิงมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม นักเขียนก็ยังให้ภาพการแหวกกฎเกณฑ์เก่า ๆ ที่จำกัดหญิงมากไป อาทิ เช่น การขอหย่าจากสามีเนื่องจากสามีมีเมียน้อยเป็นต้น ผู้หญิงในชนชั้นสูงสมัยใหม่ที่มีบทบาทต่อกิจกรรมในสมาคมนอกบ้านหลายประการ อาทิ การเล่นกีฬา การเต้นรำ หรือการมีอิสระ ในการคบเพื่อนต่างเพศ ส่วน ก. สุรางคนางค์เสนอภาพผู้หญิงในชนชั้นกลางที่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ความภาคภูมิใจในตัวเองโดยผู้หญิงควรจะทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมบ้าง เริ่มมีความคิดพึ่งตนเองโดยการมีอาชีพ คิดสร้างฐานะให้ตนเองโดยไม่คิดพึ่งการแต่งงาน จากการศึกษาชีวะประวัติและงานนวนิยายของนักเขียนทั้งสองท่านจะพบว่าทั้งดอกไม้สด และ ก. สุรางคนางค์ ต่างก็เป็นนักเขียนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง โดยถ่ายทอดประสบการณ์ต่าง ๆ ความคิดและวิถีชีวิตในงานนวนิยาย นอกจากนี้นักเขียนทั้งสองก็ยังเป็นนักเขียนสตรีรุ่นแรกที่ให้ความสำคัญต่อตัวละครฝ่ายหญิงมาก ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า นักเขียนทั้งสองท่านมีความตั้งใจที่ต้องการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของผู้หญิงในสังคมโดยผ่านงานนวนิยาย ซึ่งในยุคนั้นยังไม่มีองค์กรหรือสถาบันของผู้หญิงใดๆ ที่จะเป็นตัวแทนการกระทำดังกล่าว และจากการศึกษางานนวนิยายของดอกไม้สด และ ก. สุรางคนางค์ ก็ทำให้สามารถรู้ถึงสถานภาพทางสังคมของผู้หญิง ตลอดจนความคาดหวังต่อสถานภาพของผู้หญิงในยุคนั้นได้อย่างดี
Other Abstract: This thesis is an analytical descriptive and documentary research. It studies the social status of Thai women through novels. The researcher wants to perceive the social status of Thai women during 1932-1950 by using novels as resources, focusing on the novels of Dok Mai Sod (B.E. 2488-2506) and K. Surangkanang (B.E. 2454 - ). The reason for choosing the two novelists’ works is that we can find woman issue in their novels more than in other novelists’ works of the same period. Moreover, the two novelists portrayed women of different classes, i.e., Dok Mai Sod presented the image of high class women while K. Surangkanang presented middle class women. In high class family, Dok Mai Sod notified that the general duty of a mother was to bring up her babies, look after them until they got married. Dok Mai Sod also gave the readers the portraits of the modern educated mother who performed as a mother and also as a friend to her children. For K. Surangkanang, she acknowledged the readers that besides bringing up her babies, a mother in the middle class gave priority to her babies’ education. She permitted her daughter to choose her husband under her supervision. However, K. Surangkanang suggested that middle class mother was conscious about monies for her daughter’s husband. As wife, Dok Mai Sod informed that high class wife suffered a lot when her husband had more than one wife at the same time. On the other hand, a modern wife would claim for the equal status with her husband and liberate herself from her husband’s control. The additional qualifications of good wife were that she should know well how to plays sports, how to dance and how to know people in society. K. Surandkanang notified that middle class wife generally managed all household affairs and acted as friend to her husband, sharing sorrow and happiness with her husband. Besides, she must be honest to her husband. If not, she must be blamed seriously from the society. However, K. Surangkanang made a suggestion about adultery that problems between husband and wife should be seriously discussed and considered from facts before making judgement and blame on women. In the two novelists’ works, daughter obeyed her parents and relatives and looked after them when they got old and sick. The status of a daughter was better since they had better education. They had self-confidence and had their own way of life. Then, they dared to break some old tradition such as the arranged marriage or getting married without parental consent. With regard to educational status of Thai women, it was upgraded in accordance with the educational expansion. In the novels of Dok Mai Sod and K. Surangkanang, it is found that woman in general have better education, i.e., the female characters’education was above the primary level, they learned foreign languages and home economics. However, both novelists agreed that women in high class had better chance than ones in middle class to study overseas. For economic status of women in the novels, it is noted that the educated women in the middle class always worked outside, but not the ones in the high class, because of the attitude in the high class society which did not like women to work outside together with the favorable economic situation. If they worked, they would work as a teacher. On the contrary, women in the middle class worked in various occupations, such as, teacher, secretary, writer and other part-time works as money lender or land broker. Concerning the political and legal status of women, from studying the novels of the two writers, there was not much clear reflect on these matters. It might be that there was not much awreness in politics and legal right for women at the transitional stage of the political system. However, the writers had given the pictures which are contrary to the old norms, i.e., limiting Thai women’s behavior, such as asking husband for a devorce when the husband had a mistress. Due to modernization and the newly founded democratic government in Thailand, women had chances to share activies in society. As seen in the novels of Dok Mai Sod and K. Surangkanang, high class women shared many activities in society, such as, sport or dance party with freedom to make friends with men. Whereas, K. Surangkanang portrayed middle class women to have selfconfidence and be pround of themselves with a new idea to have responsibility to society. They started to depend on their own and not on their marriage as ever. From the study of the biography and novels of the two writers, it could be found that Dok Mai Sod and K. Surangkanang are writers who have high responsibility to the society. They portrayed their own experiences, thoughts and ways of life in the novels. Moreover, both writers are the first female writers who emphasized the importance and recognition of the female characters. It can be said that the two novelists had an intention to claim the right and liberty of Thai women.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วรรณคดีเปรียบเทียบ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26691
ISBN: 9745567463
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saisamorn_Ch_front.pdf509.36 kBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_Ch_ch1.pdf345.32 kBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_Ch_ch2.pdf936.49 kBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_Ch_ch3.pdf596.43 kBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_Ch_ch4.pdf671.36 kBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_Ch_ch5.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_Ch_ch6.pdf699.87 kBAdobe PDFView/Open
Saisamorn_Ch_back.pdf902.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.