Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26726
Title: ทรรศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ไทยต่อการจัดประสบการณ์ ในการศึกษาภาคบังคับ พุทธศักราช 2534
Other Titles: Opinions of Thai science experts concerning organization of experiences in compulsory education B.E. 2534
Authors: สิริถนอม รัตนะรัต
Advisors: สุมน อมรวิวัฒน์
ธีระชัย ปูรณโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทรรศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ไทยต่อการจัดประสบการณ์ในการศึกษาภาคบังคับ พุทธศักราช 2534 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ไทย จำนวน 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไตล์ ผลการวิจัยปรากฏทรรศนะที่สำคัญของผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ไทย ต่อการจัดประสบการณ์ในการศึกษาภาคบังคับ พุทธศักราช 2534 ดังนี้ 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น มีการนำความรู้ไปใช้ทางด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ดังนั้น ประชากรจึงจำเป็นจะต้องมีคามรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันให้ตนเองอยู่รอดและเป็นสุข ตลอดจนรัฐบาลก็มีความจำเป็นที่จะต้องวางแผนการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกัน ทั้งทางด้านการพัฒนาคน การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และการพัฒนาการศึกษา 2. ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ หลักการ ทฤษฎี และการนำไปใช้ สำหรับการจัดการศึกษาภาคบังคับนั้น ควรเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย สารเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน สภาวะแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งควรเพิ่มเนื้อหาด้านที่จะนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตและการงานอาชีพ เช่น การเกษตรกรรม ให้มากขึ้น ส่วนลักษณะเนื้อหาของหลักสูตร ควรมีทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และกิจกรรมควบคู่กันไป 3. ในด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ควรให้ประชาชนทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่ไปกับความรู้ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และควรส่งเสริมให้ผู้เรียนเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด โดยเน้นทั้ง กระบวนการ เนื้อหาสาระ และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา เพื่อเสริมสร้างทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ให้เกิดกับประชาชนทุกคน 4. รัฐบาลควรจะมุ่งส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและคุณธรรมของครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนวิทยาศาสตร์ ควรมีนโยบายการจัดอบรมครูให้มีความรู้ คุณธรรม ตลอดจนมีความสามารถในการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ 5. การจัดการศึกษาภาคบังคับจะต้องคำนึงถึงคุณภาพ และความอยู่รอดของสังคมเป็นสำคัญ และผู้ที่จบการศึกษาภาคบังคับนั้น ควรจะมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ มีทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ และสามารถนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
Other Abstract: The main purpose of this research was to study the opinions of Thai science experts concerning organization of experiences in compulsory education B.E. 2534 by using Delphi Technique. The sample were 22 Thai experts in science and technology. Questionnaires constructed by the researcher were used for data collecting. The data were then analyzed by means of median, modes and interquartile ranges. The major findings were:- 1. Science and technology will play a more significant role in human ways of life, They are being used increasingly in agriculture and industry. Thus people should have some basic knowledge in science and technology in order to make use of them in daily life, for their own survival and happiness. Moreover, there is a necessity for government to plan strategies in using science and technology for the country’s modernization in conformation with the development of human resources, economics, society and education. 2. Science and technological progress will affect curriculum change in its content, principle, theory, and implementation. For compulsory education, the content in health and hygiene, chemicals found in daily life, environment and conservation of natural resources should be emphasized. More content used as a basic for living and professions should be added, for example, in agriculture. The curriculum content should be composed of theory, practice and activity altogether in Science experiences. 3. In designs of science teaching and learning, people from both inside and outside of school system should have right understanding of science and technology together with the knowledge in moral and ethics. The learners should be encouraged to search for knowledge themselves as much as possible. Thus teaching should place emphasis on process, substance of content and science methodology in dealing with problems in order to build in scientific attitude in everyone. 4. The government should aim at promoting teachers’ qualifications and moral. Especially in science teaching, there should be a policy for trainings of teachers to increase their abilities, moral and knowledge so as to make their teaching effective. 5. In planning compulsory education, qualities and the survival of society must be considered important and those who finished compulsory education should have basic knowledge in science, scientific attitude and abilities to apply scientific methodology in solving problems in their daily life.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26726
ISBN: 9745627739
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirithanom_Ra_front.pdf461.36 kBAdobe PDFView/Open
Sirithanom_Ra_ch1.pdf529.34 kBAdobe PDFView/Open
Sirithanom_Ra_ch2.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Sirithanom_Ra_ch3.pdf469.2 kBAdobe PDFView/Open
Sirithanom_Ra_ch4.pdf788.76 kBAdobe PDFView/Open
Sirithanom_Ra_ch5.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Sirithanom_Ra_back.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.