Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26784
Title: ฮิวริสติกสำหรับการโหลดงานและการจัดตารางงาน ของระบบผลิตแบบยืดหยุ่น
Other Titles: A heuristic approach for loading and scheduling problems of flexible manufacturing systems
Authors: สาลินี สันติธีรากุล
Advisors: ปารเมศ ชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้ทำการศึกษาวิธีการแบบฮิวริสติกในการโหลดงานให้กับเครื่องจักร และการจัดตารางงานบนระบบผลิตแบบยืดหยุ่น ฮิวริสติกของ Vidyarthi and Tiwari (2001)ได้ ถูกปรับปรุงเพื่อแก้ปัญหาการโหลดงานและการจัดตารางงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาล่าช้า ของงาน และสามารถรองรับข้อจำกัดของระบบ ซึ่งได้แก่ เวลาที่มีในการาผลิต และช่องใส่ เครื่องมือที่มีอย่างจำกัด ฮิวริสติกที่ได้รับการปรับปรุงนี้นอกจากที่จะพิจารณาในส่วนของการ จัดลำดับชิ้นงานเพื่อโหลดงาน และการจัดสรรงานให้เครื่องจักรแล้ว ยังพิจารณาควบคู่กับกฎ การจ่ายงานที่ใช้ในการจัดตารางงานอีกด้วย การทดลองดำเนินการภายใต้ปัจจัย ด้งนี้ กฎการ กำหนดส่งมอบงาน (Due-Date Assignment Rules) การจัดลำดับงานเพื่อเลือกงานในการ โหลดให้ เครื่องจักร (Part Type Selection) ฮิวริสติกที่ใช้ในการโหลดงานให้เครื่องจักร (Heuristic for Loading Problem) กฎในการจัดสรรงานชา (Reallocate Rules) และกฎการจ่าย งาน (Dispatching Rules) โดยมีดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพของระบบประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยของ เวลาที่ชิ้นงานอยู่ในระบบ (Mean Flow Time) ค่าเฉลี่ยของเวลาสายของชิ้นงาน (Mean Lateness) และค่าเฉลี่ยของเวลาล่าช้าของชิ้นงาน (Mean Tardiness) ผลการทดลองพบว่า ปัจจัยที่นำมาพิจารณาทุกปัจจัยมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของระบบอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ ความเชื่อมั่น 95% และพบว่าฮิวริสติกที่ได้รับการปรับปรุงนี้สามารถแก้ปัญหาการโหลดงาน และการจัดตารางงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: This paper deal with the solution of the loading and scheduling problems in a flexible manufacturing system (FMS) environment. A heuristic of Vidyarthi and Tiwari (2001) is improved to solve the machine loading and scheduling problems. The objective of this research is to minimize mean tardiness, satisfying the technology constraint such as availability of machining time and tool slots. The proposed heuristic not only determines the part type sequence and the operation machine allocation but also considers dispatching rules for scheduling problems. The experiments are conducted under various factors, i.e. due date assignment rules, part type sequencing, heuristic approach, reallocating rules and dispatching rules. The performance measures consist of mean flow time, mean lateness and mean tardiness. The experimental results indicate that all factors affect every performance measurement for 95% significant level. This experiment indicates that proposed heuristic can solve the FMS loading and scheduling problem effectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26784
ISBN: 9741745958
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Salinee_sa_front.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open
Salinee_sa_ch1.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open
Salinee_sa_ch2.pdf7.55 MBAdobe PDFView/Open
Salinee_sa_ch3.pdf12.15 MBAdobe PDFView/Open
Salinee_sa_ch4.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open
Salinee_sa_ch5.pdf8.75 MBAdobe PDFView/Open
Salinee_sa_ch6.pdf14.81 MBAdobe PDFView/Open
Salinee_sa_ch7.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Salinee_sa_back.pdf18.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.