Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2681
Title: ขุนเขาแห่งจิตวิญญาณ ของเกาสิงเจี้ยน : ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทและทฤษฎีวรรณคดีของผู้ประพันธ์
Other Titles: Gao Xingjian's Spiritual Mountain : the relationship between the text and its author's literary theory
Authors: นิพนธ์ ศศิภานุเดช, 2522-
Advisors: ตรีศิลป์ บุญขจร
มาลินี ดิลกวณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Trisilpa.B@Chula.ac.th
Subjects: เกา, สิงเจี้ยน--การวิจารณ์และการตีความ
นวนิยายจีน--ประวัติและวิจารณ์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์สองประการคือประการแรกเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทและทฤษฎีวรรณคดีของผู้ประพันธ์ ประการที่สองเพื่อศึกษาชีวประวัติ ภูมิหลังทางการเมือง สังคมและ วัฒนธรรมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์แนวคิดทางวรรณกรรมและประพันธศิลป์ในนวนิยายเรื่อง ขุนเขาแห่ง จิตวิญญาณ ผลการวิจัยพบว่านวนิยายเรื่อง ขุนเขาแห่งจิตวิญญาณ แสดงให้เห็นการผสมผสานนวนิยมทางวรรณกรรมของตะวันตกและสุนทรียศาสตร์จีนดั้งเดิมโดยการรับเอาแนวคิดและขนบวรรณศิลป์การถ่ายทอดโลกแห่งอัตวิสัยของนวนิยมทางวรรณกรรมของตะวันตกมาเป็นหัวใจของการประพันธ์นวนิยายเพื่อแสดง "ปัจเจกภาวะ" ตอบโต้นโยบายศิลปะและวรรณคดีของเหมาเจ๋อตุง ขณะเดียวกันก็ประยุกต์ท่าทีแบบพุทธศาสนามหายานนิกายเซนที่เรียกว่า "การถอดถอนตนเองเพื่อเพ่งพิศดูอย่างสงบสงัด" มาใช้ในกระบวนการเล่าเรื่องที่ใช้บุรุษสรรพนามเอกพจน์สามบุรุษสลับกันไปมาเพื่อให้ผู้เล่าสามารถเพ่งพิศดูอัตวิสัยของตนเองและปรากฏการณ์ภายนอกอย่างอิสระเสรีในตัวตนแห่งอุตตรภาวะ ผู้ประพันธ์ทำลายตรรกะของโครงเรื่องโดยทำให้ตัวบทนวนิยายกลายเป็นแหล่งรวมปกิณกะคดีแห่งชีวิตซึ่งประยุกต์มาจากสุนทรียศาสตร์จีนดั้งเดิมที่ความสำคัญต่อความไม่ปะติดปะต่อที่ปรากฏในงานเขียนปกิณกะคดีและงานเขียนทางปรัชญาของจีนโบราณเพื่อจำลองโลกและชีวิตในยุคปัจจุบันในแง่มุมใหม่ที่แตกต่างไปจากแง่มุมเดิมที่อิงอยู่กับตรรกะ ผู้ประพันธ์นำเสนอโลกแห่งอัตวิสัยผ่าน "กระแสธารแห่งภาษา" ซึ่งมีศักยภาพในอันที่จะทำให้เรื่องเล่าภายในกระแสสำนึกเผยตนเองออกมาเป็นกาลปัจจุบันอันเป็นนิรันดร์ รวมทั้งประยุกต์วิธีการของคีตศิลป์และทัศนศิลป์มาใช้ในวรรณศิลป์เพื่อสื่อสารทาง จิตวิญญาณผ่านดุลยภาพทางเสียงและกระบวนจินตภาพ การเปล่งเสียงให้มีจังหวะจะโคนเป็นไปเพื่อถ่ายทอด นัยยะประหวัดที่อยู่เบื้องหลังสัญญะและรหัสซึ่งลำพังไม่มีศักยภาพพอที่จะถ่ายทอดหากปราศจากมนุษย์ นวนิยายเรื่อง ขุนเขาแห่งจิตวิญญาณ กระทำวาทกรรมว่าด้วย "การปราศจากลัทธิ" ให้เป็นที่ประจักษ์โดยการจดจารจารึกกระบวนการรับรู้ทางผัสสะเพื่อแสดงและยืนยัน "ปัจเจกภาวะ" เพื่อตอบโต้อุดมการณ์ของเหมาเจ๋อตุงและบรรดาลัทธิต่างๆ นวนิยายเรื่อง ขุนเขาแห่งจิตวิญญาณ แสดงการกลับไปแสวงหาวัฒนธรรมชายขอบซึ่งถูกรุกรานจากวาทกรรมของขงจื๊อและเหมาเจ๋อตุง การกลับไปแสวงหาวัฒนธรรมชายขอบทำให้ นวนิยายเรื่อง ขุนเขาแห่งจิตวิญญาณ สามารถรักษาสายสัมพันธ์ระหว่างนวนิยายจีนร่วมสมัยและขนบวรรณศิลป์จีนโบราณอย่างมีนัยยะสำคัญ รวมทั้งการตั้งข้อกังขาต่อประวัติศาสตร์รากเหง้าแห่งความเป็นจีนแบบ ประวัติศาสตร์นิยมใหม่ซึ่งทำให้นวนิยายเรื่อง ขุนเขาแห่งจิตวิญญาณ ก้าวพ้นความเป็นชาติและมีความเป็นสากล "ปัจเจกภาวะ" จึงเป็นหัวใจของนวนิยายเรื่อง ขุนเขาแห่งจิตวิญญาณ ทั้งในแง่ของกลวิธีและเนื้อหาที่มี เอกลักษณ์ทั้งในและนอกบริบทคอมมิวนิสต์ แตกต่างจากวรรณกรรมพันผูกในบริบทโลก สร้างคุณค่าต่อทั้งวรรณกรรมจีนและวรรณกรรณสากลในฐานะวรรณกรรมทางเลือกแห่งอิสรภาพทางสุนทรียศาสตร์
Other Abstract: This thesis has two objectives: to interweave the relationship between the literary text and its author's literary theory and to study his biography, political, social and cultural background in contemporary phase as a formative stage of his literary notion and poetics in Spiritual Mountain. The research shows that Spiritual Mountain is an outcome of literary intercrossing between Western modernism and traditional Chinese aesthetics through adopting the concept and literary tradition of self-expression in modernism in Western literary movement as the core of creative enterprise to disclose "individuality" against Mao Zedong's Art and Literary Policy; meanwhile, applying the method of Zen Buddhist contemplation called "self-detached observation" into self-decentering narrative mode with a set of interchangeable singular pronouns which create alienation of self-consciousness and provide a broader psychological space in scrutinizing a flowing subjectivity and outer phenomena in the transcendent and distanced self. Miscellaneous notes of life traced back to traditional Chinese aesthetics are deployed technically to represent the modern world in irrational way so as to break away from the positivistic mode of logical narrative. In terms of language, Gao Xingjian brings the mental activities of the narrator into the linear "stream of language" which transcends concepts of time and subject-tense inflections so that world of subjectivity in Chinese manifests itself as an eternal present; in addition, the application of musical and visual art into literary art for spiritual communication between the narrator and readers by means of the unity of the musicality of sound and imagery has been found. An auditory appealing pronunciation is to affirm the human existence behind signs and codes in literary language for a full utterance of their own connotations. The concept of "without isms" is developed into Spiritual Mountain by jotting the whole process of physical perception to validate individual reality, values and existence as primitivistic fundamentalist against Mao Zedong's ideology and any isms. The revitalization of indigenous culture on the margins of society is is regarded as an exaltation of "individuality" among the hegemony of Confucius and Communist discourses. The returning for Chinese cultural roots significantly preserves the relation between contemporary Chinese literariness and pre-modern Chinese literary tradition, and also provides New-Historicism world-view towards mythological Chineseness. By historical demystification, Spiritual Mountain goes beyond the limit of national boundaries and reaches universality. Thus the "individuality" is the heart of Spiritual Mountain in technical and conceptual facets under the Communist context and beyond it. With its own characteristics different from engagement literature, Spiritual Mountain enriches Chinese and world literature by taking an alternative form of aesthetics freedom.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วรรณคดีเปรียบเทียบ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2681
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.435
ISBN: 9741745389
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.435
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipon.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.