Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26826
Title: กระบวนการการแบ่งชนชั้นชาวนาในชนบท : ศึกษาเฉพาะชาวนาภาคกลาง พ.ศ. 2485-2524
Other Titles: The process of class differentiation in rural Thailand : A case study of peasants in the central plain, 1942-1981
Authors: ศิวรักษ์ ศิวารมย์
Advisors: ฉัตรทิพย์ นาถสุภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นับแต่ก่อตั้งอาณาจักรไทย ประชาชนในสังคมก็ดำเนินชีวิตด้วยการเพาะปลูกข้าว ชาวนาเหล่านี้ได้รับการเรียกขานว่า ทาส และไพร่ ในสังคมที่มีวิถีการผลิตแบบยังชีพ ชาวนาเหล่านี้ต่างมีชีวิตที่ไม่มีความแตกต่างกันมากนักในทางเศรษฐกิจ สิ่งที่เรียกว่า ความแตกต่างในชนชั้นชาวนาจึงยังไม่เกิด หลายๆ อย่างในทางเศรษฐกิจมีความเป็นเอกภาพกัน (Harmony) ในส่วนชาวนา แต่ในส่วนชนชั้นผู้ปกครองก็ยังคงดำเนินการเก็บส่วนเกินต่อไป เมื่อไทยเข้าร่วมอยู่ในกระบวนการผลิตเพื่อขาย ชนชั้นชาวนาไทยก็เริ่มพบกับความแตกต่างในชนชั้นของตนเอง จากการศึกษาพบว่า สังคมไทยในฐานะที่ไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดินิยมนั้น ชนชั้นปกครองจึงมีบทบาทอย่างมากในการสร้างความแตกต่างทางชนชั้นนี้ และร่วมมือกับทุนการค้าในการพรากปัจจัยการผลิตไปจากชาวนา เริ่มตั้งแต่การกระจายปัจจัยการผลิตสู่ชนชั้นขุนนางและชาวนาที่มีลักษณะไม่เท่าเทียมกันทั้งในด้านสิทธิและวิธีการ จากสภาพของที่ดินที่ใช้เพาะปลูกประกอบกับระบบชลประทานที่เอื้ออำนวยต่อพวกเจ้าที่ดิน ยังผลให้ชาวนาบางส่วนกล้าจะมาเช่านาทำ กลายเป็นชาวนาเช่านับแต่นั้นมา โดยมีคนลาวจากภาคอีสานมารับจ้างบรรดาเจ้าที่ดิน ทำนา การจับจองและบุกเบิกที่นาด้วยการหักร้างถางพง ยังเป็นวิธีการที่ชาวนาส่วนใหญ่ใช้ แต่ด้วยการขาดเทคโนโลยี่โดยเฉพาะระบบชลประทาน ชาวนาก็ยังต้องพึ่งธรรมชาติในการทำการผลิต ภัยทางธรรมชาติซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไม่ได้ ได้กระหน่ำซ้ำให้ชาวนาเผชิญกับความยากลำบากและสูญเสียที่ดิน ระบบตลาดที่ผู้ผลิตเป็นฝ่ายถูกกระทำ ประกอบกับรัฐให้การสนับสนุนนายทุนในการค้าข้าว ทำให้ชาวนาต้องสูญเสียที่ดินและมีความแตกต่างทางชนชั้นกันมากขึ้น พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในการครอบงำชาวนาของชนชั้น-ผู้ปกครองได้สร้างให้เกิดลักษณะจารีตอย่างหนึ่ง คือ การรอคอยความช่วยเหลือจากชนชั้นปกครองในผลกลับกัน ผู้ปกครองได้ฉกฉวยว่า นั่นคือบุญคุณที่กระทำให้ชาวนา เมื่อเป็นเช่นนั้นชาวนาจึงมองไม่เห็นบทบาทที่เอาเปรียบของรัฐ และบทบาทของรัฐกับนายทุนก็เป็นเกลียวเชือกในการเอาเปรียบชาวนา เมื่อชาวนาต้องเผชิญกับกระบวนการทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ ความแตกต่างทางชนชั้นชาวนาที่เกิดขึ้นของ 2 ขั้วทางชนชั้นที่ตรงข้ามกัน ซึ่งก็คือชาวนาเจ้าที่ดินกับชาวนาไร้ที่ดินอย่างเช่นในประเทศรัสเซีย แต่ประเทศไทยยังคงประกอบด้วยชาวนาจนที่ยังมีที่ดินขนาดย่อมที่พอเพียงเพื่อการผลิตพอยังชีพ แต่ชาวนาขนาดย่อมนี้ต้องทำการผลิตเพื่อขาย ดังนั้น จึงต้องมีการเช่านาเพิ่มและการออกรับจ้างในภาคชนบท นอกจากนั้น ชาวนารวยที่เกิดขึ้นก็เป็นเจ้าที่ดิน-ใหม่ที่เป็นพ่อค้าและนายทุนในท้องถิ่นนั่นเอง ก็ยังคงใช้วิธีการจัดความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบเก่า คือนำที่ดินให้ชาวนาเช่า จากการศึกษาพบว่า การเกิดขึ้นของการสูญเสียที่ดินที่ทำให้ชาวนากลายเป็นชาวนาไร้ที่ดินทำกิน นั่นย่อมถือว่าเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจในภาคชนบท และเป็นการทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายคนไปสู่กรรมกร แต่ในสังคมไทยมีเหตุผลหลายอย่างที่มิได้เป็นไปตามนั้น ด้วยเหตุผลที่ขาดแคลนทุนที่จะมาอยู่ในเมือง ความชำนาญในการผลิตทางเกษตร ความรู้สึกว่าเมืองขูดรีดกว่าชนบทในทุกๆ ทาง สภาพการหากินตามธรรมชาติยังทำให้อยู่ในหมู่บ้านได้ และสุดท้ายลักษณะของการประนีประนอมทางชนชั้น ทำให้ความขัดแย้งลดลง เหล่านี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ชาวนาไร้ที่ดินทำกินของไทยยังคงพึงพอใจกับการทำงานรับจ้างในท้องถิ่น และนั่นก็หมายความว่า ชนชั้นที่ไร้ซึ่งปัจจัยการผลิตหมดหวังกับชีวิตต้องพึ่งพิงชนชั้นอื่น และมองไม่เห็นทิศทางของการเปลี่ยนแปลงชนชั้นตนเอง
Other Abstract: Since the formation of the Thai state, peasants in Thailand which were called “Slave” and “Prai” had cultivated rice for subsistence. Under the self-subsistent economy and the Sakdina political structure, there was not any economic gap among them, therefore there was no such thing like class differentiation. Harmony and unity thus existed within the communal sociey. Not until Thailand was dragged by World capitalist force into the process of international commercial production that class differentiation occurred among Thai peasantry. This study found out the uniqueness of being the so called “politically independent state” enabled the ruling class to enlarge the peasant class differentiation by collaborating with commercial capitalist in depriving the peasants of their means of production. The ruling class has enforced numbers of laws and regulations resulting in unjust land distribution among the bureaucrats and the peasants. Irrigation system and better soil in the bureaucrats land led to the origin of tenant peasants and northeastern Laotian hire-labours of the absentee landlords. Meanwhile, most peasants obtained the land by blazing the trail into uncultivated areas. Low productivity especially the lack of irrigation system forced them to depend on natural conditions. Frequent natural disasters finally cause the loss of land. Moreover, the state-supported monopolized market system under which the producers can not have any bargaining power was another cause of the loss of land, leading to class differentiation. In addition, long history of ideological hegemony with the ruling class established the traditional characteristics among the peasants; that is the habit of waiting for help from the “benevolent” ruling class. This myth had thus blinded them of the fact of state-capitalist collaboration. The courses of historical development of the Thai and Russian processes of peasant class differentiation were different. In Russia, there was class struggle between the rich farmers and the mass of the landless wretch. But in Thailand, poor peasants still possess a piece of land enough for self-subsistence, and the market system is the major driving force that turns them into tenant peasants or rural lobourers. As for the rich farmers, most of them join the class of landlord and also become local merchants and capitalists offering land for rent. Theoretically, the origin of landless peasants will lead to the wave of migration to the urban areas and the rise of the proletariat, but this study found out that there are many factors in Thai society impeding such a process. The lack of money, the agricultural specialization, cultural bound with communal society, possible subsistence economy in rural area, the feeling that city life exploits them more, and finally, the unique tradition of class reconciliation have been the reasons for weakening class conflict. Therefore, we can hardly expect the poor peasants, who are still content with the humble lives of rural labourers to become disillusioned and to take a leading role in Thailand’s class struggle.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26826
ISBN: 9745642703
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siwarak_si_front.pdf7.83 MBAdobe PDFView/Open
Siwarak_si_ch1.pdf38.49 MBAdobe PDFView/Open
Siwarak_si_ch2.pdf37.25 MBAdobe PDFView/Open
Siwarak_si_ch3.pdf44.9 MBAdobe PDFView/Open
Siwarak_si_ch4.pdf21.54 MBAdobe PDFView/Open
Siwarak_si_ch5.pdf6.03 MBAdobe PDFView/Open
Siwarak_si_back.pdf37.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.