Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2695
Title: นิราศสมัยใหม่ในกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์และไพวรินทร์ ขาวงาม
Other Titles: Modern Nirat in the poetry of Angkhan Kalayanaphong and Phaiwarin Khao-Ngam
Authors: ณัฐกาญจน์ นาคนวล
Advisors: สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Suchitra.C@Chula.ac.th
Subjects: อังคาร กัลยาณพงศ์, 2469--กวีนิพนธ์
ไพวรินทร์ ขาวงาม--กวีนิพนธ์
นิราศ
กวีนิพนธ์ไทย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษานิราศสมัยใหม่ในกวีนิพนธ์ของ อังคาร กัลยาณพงศ์ และไพวรินทร์ ขาวงาม ซึ่งมีลักษณะเด่นในการสืบทอดขนบจากนิราศโบราณ และมีการสร้างสรรค์นวลักษณ์ ในการขยายขอบเขตความคิดและเนื้อหาให้ปรากฏอย่างเด่นชัด ผู้วิจัยได้ศึกษากวีนิพนธ์ทั้งหมด 7 เรื่อง ได้แก่ นิราศนครศรีธรรมราช (บางกอกแก้วกำศรวล) และลำนำภูกระดึง ของอังคาร กัลยาณพงศ์ ลำนำวเนจร คำใดจะเอ่ยได้ดั่งใจ ฤดีกาล ม้าก้านกล้วย และกลอนกล่อมโลก ของไพวรินทร์ ขาวงาม พบว่าความคิดและเนื้อหากล่าวถึง พันธกิจของกวีที่จะสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ เพื่อจรรโลงโลกและชี้นำแนวทางในการแก้ปัญหาสังคม กวีจึงพรรณนาความงามและคุณค่าของธรรมชาติ เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของธรรมชาติ ที่มีต่อมนุษย์ทั้งทางกายภาพและทางจิตวิญญาณ ทั้งยังแสดงให้เห็นคาวมรุนแรงของปัญหาสังคม ได้แก่ ความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและสภาพแวดล้อม กับความตกต่ำของจิตวิญญาณมนุษย์ เพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้แก่เพื่อนมนุษย์ กวีปรับใช้ขนบนิราศเพื่อนำเสนอความคิดและเนื้อหาดังกล่าว โดยพัฒนาขนบการจากและการฝากนาง เป็นการจากและการฝากสิ่งมีค่าที่เป็นนามธรรมไว้กับมวลมนุษย์ อาทิเช่น ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ความเรียบง่ายของชนบท และความดีงามของจิตวิญญาณมนุษย์ กวีคร่ำครวญถึงความสูญเสียสิ่งเหล่านี้ด้วยความทุกข์ ทั้งยังพัฒนาบทบาทของธรรมชาติและเวลา ที่เคยใช้เป็นสื่อเชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สึกของกวีให้กลายเป็นเนื้อหาสำคัญของเรื่อง นอกจากการปรับใช้ขนบนิราศและเนื้อหาที่มุ่งชี้นำความคิดแล้ว นิราศสมัยใหม่มีลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือ มีลักษณะของวรรณคดีคำสอน กวีใช้พุทธธรรมเผยแพร่คำสอนเรื่องความศรัทธา ในความดีกับความรักและความเมตตาในการแก้ไขปัญหา นิราศสมัยใหม่ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และ ไพวรินทร์ ขาวงาม จึงเป็นตัวอย่างของนิราศสมัยใหม่ที่ขยายขอบเขตความคิดและเนื้อหา จากวรรณคดีแสดงความรักระหว่างปัจเจกชน ไปสู่การเป็นวรรณคดีเพื่อจรรโลงปัญญาที่ทรงคุณค่าต่อสังคม
Other Abstract: To study the nature and characteristic of modern Nirat in the works of Angkhan Kalayanaphong and Phaiwarin Khao-ngam. These modern Nirat follow the convention of the ancient Nirat and create the novelty in expanding the ideas and subject matter in a distinct manner. The works studied consist of Nirat Nakornsrithammarat (Bangkok Khaeo Kamsuan) and Lam Nam Pu Kradueng of Angkhan Kalayanaphong, Lam Nam Wanechon, Kham Dai Cha Aei Dai Dang Chai, Rue Di Kan, Ma Kan Klouy and Klon Klom Lok of Phaiwarin Khao-ngam. It is found that the poets express their wish to create the works in order to enhance the world and give a solution to social problems. Therefore, the poets describe the beauty and value of nature in order to emphasize the importance of nature that has an influence on men both physically and mentally. They also try to show the seriousness of social problems, for example, the degradation of nature and environment as well as human's spirit. In order to express these ideas and content, the poets adapt the Nirat convention of departing his beloved and entrusting her to divine powers or beings. In modern Nirat, the poets lament their departure from the beauty of nature and human virtue and entrust these to the care of mankind. Besides, these two modern poets use Buddhist concept to express their ideas. They advocate the faith in virtue and the practice of compassion as a possible solution to modern problem of mankind. Thus, modern Nirat of Angkhan Kalayanaphong and Phaiwarin Khao-ngam can be considered an outstanding evidence illustrating that Nirat has transcended the nature of love poem between individuals and has become a kind of modern didactic poetry for the benefit of mankind.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2695
ISBN: 9741765169
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nathakarn.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.