Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27088
Title: การจัดตารางการผลิตในงานขึ้นรูปชิ้นส่วนโครงตัวถังเครื่องปรับอากาศ
Other Titles: Production scheduling for air-conditioning cabinet forming
Authors: วิชิต ศรีอ่อน
Advisors: ปารเมศ ชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การกำหนดงานการผลิต
แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์
โลหะ -- การขึ้นรูป
Production scheduling
Computer simulation
Metals -- Molding
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาระบบการจัดตารางการผลิตที่เหมาะสมในงานขึ้นรูปชิ้นส่วนโครงตัวถังเครื่องปรับอากาศสำหรับโรงงานกรณีศึกษา ด้วยวิธีการใช้กฎการจัดลำดับงานโดยอาศัยการจำลองแบบปัญหา (Simulation) และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดตารางการผลิต ในการศึกษาเพื่อหาวิธีการจัดตารางการผลิตที่เหมาะสมนั้นได้นำกฎการจัดลำดับงาน 4 วิธีมาทดลองจัดลำดับงานในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา โดย 2 วิธีแรกคือกฏ SPT (Shortest Processing Time) และกฎ LPT (Longest Processing Time) ที่พิจารณาจากเวลาปฏิบัติงานรวมของชิ้นงานแต่ละชิ้น ส่วนอีก 2 วิธีคือกฎ SPT และ กฎ LPT ที่พิจารณาจากเวลาปฏิบัติงานในขั้นตอนแรกของชิ้นงานซึ่งเป็นขั้นตอนที่เกิดสภาพคอขวด มาทำการเปรียบเทียบกับผลการจัดลำดับงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งอาศัยประสบการณ์เป็นหลัก โดยมีวิธีการจัดลำดับงานคืองานใดที่มีกำหนดส่งมอบก่อนจะทำก่อน และถ้าในกรณีที่งานใดมีกำหนดส่งมอบพร้อมกันจะเลือกงานที่มีความต้องการผลิตมากมาทำก่อน ซึ่งวิธีการจัดลำดับงานดังกล่าวมีรากฐานมาจากกฎ EDD (Earliest Due Date) โดยวิธีการเปรียบเทียบผลการจัดลำดับงานทั้ง 5 วิธีนั้นจะอาศัยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองปัญหา ซึ่งพบว่าการจัดตารางการผลิตด้วยกฎ SPT ที่พิจารณาจากเวลาปฏิบัติงานในขั้นตอนแรกของชิ้นงานนั้น ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดทั้งในด้านเวลาไหลของงาน เวลาปิดงานของระบบ และจำนวนงานล่าช้า โดยมีค่าประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากวิธีการจัดลำดับงานในปัจจุบัน คือ 15.39% 2.30% และ 33.33% ตามลำดับ
Other Abstract: The main objective of this study is to investigate the Appropriate Production Scheduling Procedure using dispatching rule methods for the “Cabinet Forming” shop in an air-conditioning factory. The use of research enquiry was conducted by applying computer simulation techniques. In the study, the selection of the appropriate production scheduling method employs four types of dispatching rule on actual production data. The first two types were SPT (Shortest Processing Time) and LPT (Longest Processing Time), examining the total processing time of each part. The others were SPT and LPT, examining the first processing time of each part which was the “Bottleneck” stage, by comparisons with an actual production scheduling based on EDD rule (Earliest Due Date). In case that there was more than one job to be finished on the same delivery date, the most urgent request would be selected to produce first. In comparison of the results of five production scheduling methods, the results were proceeded by the simulations only. It can be concluded that SPT rule that examines the total processing time of each part provided the best efficiency in production scheduling with 15.39%, 2.30% and 33.33% by comparison with an actual production scheduling, EDD, in consideration of Flow Time, Makespan and Number of Tardy Jobs, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27088
ISBN: 9741762925
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichit_sr_front.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open
Wichit_sr_ch1.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Wichit_sr_ch2.pdf5.12 MBAdobe PDFView/Open
Wichit_sr_ch3.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open
Wichit_sr_ch4.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open
Wichit_sr_ch5.pdf12.22 MBAdobe PDFView/Open
Wichit_sr_ch6.pdf11.61 MBAdobe PDFView/Open
Wichit_sr_ch7.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Wichit_sr_back.pdf36.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.