Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27090
Title: | การสร้างมาตรวัดทัศนคติทางพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | Construction of a physical education attitude scale for upper secondary school students |
Authors: | สุรศักดิ์ ศุภเมธีวรกุล |
Advisors: | รัชนี ขวัญบุญจัน โยธิน ศันสนยุทธ |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรวัดทัศนคติทางพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อความที่ใช้สร้างมาตรวัดทัศนคติฉบับนี้ได้คัดเลือกมาจากขอบข่ายของวัตถุประสงค์ในวิชาพลศึกษาทั้ง 4 ด้านคือ การพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม มาตรวัดทัศนคติฉบับนี้มีข้อความทั้งสิ้น 38 ข้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 460 คน จากโรงเรียนสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2524 โดยใช้หลักสูตรปี 2521 ผลการสร้างมาตรวัดทัศนคติมีดังนี้ 1. ค่าอำนาจจำแนกของข้อความทดสอบโดยค่าที (t) ระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ(27%) มีค่าตั้งแต่ 1.88 ถึง 7.08 ซึ่งมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และที่ระดับ .01 2. ความเชื่อมั่นของมาตรวัดทัศนคติคำนวณโดยวิธีแบ่งครึ่งข้อคู่ข้อคี่เป็น .91 3. มาตรวัดทัศนคติฉบับนี้มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากการให้ผู้เชียวชาญ จำนวน 6 ท่านตัดสินความเที่ยงตรง 4. มาตรวัดทัศนคติฉบับนี้มีความเที่ยงตรงเชิงสภาพปัจจุบัน โดยวิธีรู้ลักษณะกลุ่มทำการทดสอบค่าที ปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มนักเรียนที่มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษาสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มนักเรียนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาพลศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to construct a physical education attitude scale for upper secondary school students. The statements used in this attitude scale were selected from the areas of the four objectives of physical education. Four objectives were indentified : Physical Development, Mental Development, Emotional Development and social Development. The attitude scale was composed of 38 statements. The sample were 460 students from upper secondary school of secondary Education Devision, General Education Department, Ministry of Education in Bangkok Metropolis, of Academic year 1981. The results were as fellow : 1. The discrimination power of these statements were computed by t-test between high and low groups (27%), the values of t ranged from 1.88 to 7.08 which was significant at .05 and , 01 level. 2. The reliability which was computed by the split-half method was .91 3. The attitude scale appeared to have content validity by using the 6 experts’ judgement. 4 The attitude scale appeared to have concurrent validity by know group method. T-test was used to find that the mean scores of the favorable group was significantly higher than the unfavorable group attitude toward physical education at .01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27090 |
ISBN: | 9745607932 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Surasak_Sup_front.pdf | 380.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Sup_ch1.pdf | 452.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Sup_ch2.pdf | 913.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Sup_ch3.pdf | 464.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Sup_ch4.pdf | 340.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Sup_ch5.pdf | 395.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Sup_back.pdf | 730.61 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.