Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27179
Title: พฤติกรรมจริยธรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมือง ตามคำรายงานของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง
Other Titles: Political moral behaviors and behavior tendency as reported by pupils, teachers and parents
Authors: วีณา เนาวลักษณ์
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพที่เป็นอยู่เกี่ยวกับพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองตามคำรายงานของนักเรียน ครู และผู้ปกครองว่า (1) เคยทำบ่อยมากน้อยเพียงใด (2) มีแนวโน้มจะทำมากน้อยเพียงใด (3) เคยเห็นคนอื่นทำบ่อยเพียงใด (4) คิดว่าคนอื่นมีแนวโน้มจะทำมากน้อยเพียงใดตามตัวแปรต้น 6 ตัวแปร คือ เพศ ศาสนา สถานภาพ ภูมิภาค สภาพความเป็นเมือง และอาชีพหลักของครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครูและผู้ปกครองจากกรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนรวมทั้งสิ้น 2,835 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง และแบบสำรวจ ซึ่งมีการกระทำพฤติกรรมทางการเมือง 18 ข้อ และแต่ละข้อมีคำถาม 4 คำถามดังกล่าวข้างต้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดรายงานว่าเคยทำบ่อย ๆ มี 1 พฤติกรรมคือ การปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นพฤติกรรมด้านบวก ส่วนพฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างรายงานว่าไม่เคยทำมีทั้งสิ้น 14 พฤติกรรม แบ่งเป็นด้านบวก 5 พฤติกรรมคือ การสละเพื่อส่วนร่วม การมีส่วนร่วมทางการเมือง การยอมปฏิบัติตามกฏหมายบ้านเมือง การต่อต้านกฏหมายที่ไม่ชอบธรรม การเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่บ้านเมือง และด้านลบ 9 พฤติกรรม (ซึ่งเป็นพฤติกรรมด้านลบทั้งหมดในแบบสำรวจนี้) คือ อคติในการปฏิบัติต่อบุคคลต่าง ๆ การปกครองด้วยความรุนแรง การใช้ตำแหน่งหน้าที่หาผลประโยชน์ การให้และการใช้อภิสิทธิ์ การรับสินบน การแจ้งความเท็จ การให้สินบน การปิดบังผู้กระทำผิดกฏหมาย และการทุจริตในการเลือกตั้ง 2. พฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดรายงานว่าจะทำแน่ ๆ ถ้ามีโอกาส มี 5 พฤติกรรมซึ่งเป็นพฤติกรรมด้านบวกทั้งสิ้น เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยคือ การปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด การสละเพื่อส่วนรวม การสละสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล การจัดสวัสดิการแก่ผู้ด้อยโอกาส และการเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ส่วนพฤติกรรมที่จะไม่ทำคือพฤติกรรมด้านลบทั้งหมด 3. พฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดรายงานว่าเคยเห็นคนอื่นทำบ่อย ๆ มี 1 พฤติกรรม คือ การปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด ส่วนพฤติกรรมที่ไม่เคยเห็นคนอื่นทำมี 3 พฤติกรรมคือ การแจ้งความเท็จ การทุจริตในการเลือกตั้ง และการปิดบังผู้กระทำผิดกฏหมาย ซึ่งเป็นพฤติกรรมด้านลบทั้งสิ้น 4. พฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพยากรณ์ว่าคนอื่นจะทำแน่ ๆ ถ้ามีโอกาส มี 1 พฤติกรรม คือ การปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด และไม่มีพฤติกรรมใดเลยที่กลุ่มตัวอย่างคาดว่าคนอื่นจะไม่ทำถ้ามีโอกาส 5. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองมากที่สุดคือ สถานภาพ รองลงมาได้แก่ เพศ และอาชีพหลักของครอบครัว ส่วนตัวแปรที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมดังกล่าวคือ ศาสนา 6. ผู้หญิงและผู้ชายมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P ≤ .05) และ โดยส่วนรวมพบว่าผู้ชายมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองทั้งด้านบวกและด้านลบมากกว่าผู้หญิง 7. ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 8. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมปีที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 5 ครูและผู้ปกครองมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P ≤ .05) และโดยส่วนรวมพบว่าครูมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองด้านบวกมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในขณะที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรทจริยธรรมทางการเมืองด้านลบมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองทั้งด้านบวกและลบน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ 9. ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P ≤ .05) และพบว่าโดยส่วนรวมคนในภาคเหนือมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมด้านบวกมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในขณะที่คนในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมด้านลบมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ 10. ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานครส่วนใน กรุงเทพมหานครส่วนนอก อำเภอเมือง และ อำเภอชนบท มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P ≤ .05) และพบว่าโดยส่วนรวมคนในกรุงเทพมหานครส่วนในมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมทั้งด้านบวกและด้านลบมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในขณะที่คนในอำเภอชนชทมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมทั้ง 2 ด้านนี้น้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ11. ผู้ที่มีอาชีพหลักของครอบครัวรับราชการ ผู้ใช้แรงงาน ธุรกิจการค้า และลูกจ้างเอกชน มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P ≤ .05) และพบว่าโดยส่วนรวมผู้ที่อยู่ในครอบครัวอาชีพรับราชการ มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมด้านบวกมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในขณะที่มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมด้านลบน้อบกว่ากลุ่มอื่น ๆ ส่วนผู้ที่อยู่ในครอบครัวอาชีพหลักเป็นผู้ใช้แรงงาน มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมด้านบวกน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ และมีพฤติกรรมด้านลบมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในขณะที่ผู้ที่อยู่ในครอบครัวอาชีพธุรกิจการค้ามีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมด้านลบมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ
Other Abstract: The purpose of this research was to survey existing political moral behaviors and behavioral tendencies as reported by pupils, teachers and parents. There were 4 questions asked about each of the political behaviors: (1) frequency of doing it, (2) the tendency to do it, (3) how often they have seen others doing it, (4) the tendency they except others to do it. There were six independent variables: sex, religion, status, region, urbanity, and family occupation. The subjects were 2,835 public in Pathomsuksa 6 Mathayom 3, Mathayomsuksa 5 in the 1981 acedemic year, teachers and parents from the five regions of Thailand namely, Bangkok Metropalitan, Central, Northern, Southern and Northeasthern areas. The subjects were selected by using a multi-stage sampling method the data were collected by using a questionnaire for biographical data and a moral behavior scale. There were 13 political behaviors, each behavior was accompanied by the four questions mentioned earlier. The data were analysed by using one-way analysis of variance and, where appropriate, a Scheffe’s method for pairwise comparison was employed. The major finding are as follows: 1. The samples reported only one most frequently done behavior was obeying rules strictly. The behaviors that they had never done were: sef denial for the common good, political participation, obeying the law, protesting, behave as a good co-operator to police to help arresting all law offenders and all of negative political behaviors. 2. The sample reported that if they had a chance they would certainly do 5 behaviors, respectively from the most certain were: obeying rules strictly, self denial for the common good, forgoing personal rights, welfare work for the disadvantaged and behave as a good co-operator to police to help arresting all law offenders. The behaviors they reported that if they had a chance they wouldn’t do were all of negative political behaviors. 3. The samples reported that they saw others doing only one behaviors was obeying rules strictly. The behaviors that reported they have never seen others doing were: making false statement, deceitful behaviors in election and concealing law offenders. 4. The samples reported that they think if the others had a chance they would certainly do only one behavior was: obeying rules strictly. 5. Status was a good independent variable. Status was a good independent variable. Status was more variable to political moral behaviors and behavioral tendencies than the others. 6. There was a significant difference (P ≤ .05) in political moral behaviors and behavioral tendencies between sex. Males had a higher level of both positive and negative political moral behaviors and behavioral tendencies than Female. 7. There was not a significant difference in political moral behaviors behavioral tendencies religions. 3. There was a significant difference in political moral behaviors and behavioral tendencies among pupils in Prathomsuksa 6, Mathayom 3, Matha yomsuksa 5, teacher and parents (P ≤ .05). The teachers had the highest level of positive political moral behaviors and behavioral tendencies while the pupils in Mathayomsuksa 5 had the highest level of negative political behaviors and behavioral tendencies. The pupils in Prathomsuksa 6 had the lowest level of both positive and negative political behaviors and behavioral tendencies. 9. There was a significant difference in political moral behaviors and behavioral tendencies among difference regions (P ≤ .05), People in the Nothern had the highest level of positive political behaviors and behavioral tendencies while people in Bangkok Metropolis had the highest level of negative political behaviors and behavioral tendencies. 10. There was a significant difference political moral behaviors and behavioral tendencies among difference level of urbanity. People in the middle of Bangkok Metropolitan had the highest level of both positive and negative political behaviors and behavioral tendencies while people in the rural area had the lowest them. 11. There was a significant difference in political moral behaviors and behavioral tendencies among difference family occupations (P ≤ .05). People from civil service families had the highest level of positive political behaviors and behavioral tendencies while people in manual labor families had lowest them but the highest level of negative political behaviors. People in Business families had the highest level of negative political tendencies.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27179
ISBN: 9745646849
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Veena_na_front.pdf7.8 MBAdobe PDFView/Open
Veena_na_ch1.pdf14.81 MBAdobe PDFView/Open
Veena_na_ch2.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open
Veena_na_ch3.pdf42.73 MBAdobe PDFView/Open
Veena_na_ch4.pdf9.39 MBAdobe PDFView/Open
Veena_na_ch5.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Veena_na_back.pdf6.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.