Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27235
Title: การเปรียบเทียบความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาระหว่างผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยครู ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A comparison of educational philosophy beliefs among administrators, instructors and students in teachers colleges in Bangkok metropolis
Authors: สุรินทร์ รักชาติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisors: จุมพล พูลภัทรชีวิน
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาระหว่างผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาวิทยาลัยครู ในกรุงเทพมหานคร ตามตัวแปรต่างๆ ได้แก่ เพศ อายุ และประสบการณ์การทำงาน และเพื่อเปรียบเทียบความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาที่ระบุว่าตนเองยึดถือ กับความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาที่ได้จากการตอบแบบสอบถาม วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้กลุ่มตัวอย่างผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาวิทยาลัยครู ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 370 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสำรวจความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำแนกเป็น 5 ลัทธิคือ สารัตถนิยม นิรันตรนิยม พิพัฒนาการนิยม ปฏิรูปนิยมและอัตถิภาวนิยม ซึ่งในแต่ละลัทธิจะศึกษาความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาใน 8 ด้าน คือ ความหมายการศึกษา จุดมุ่งหมายการศึกษา หลักสูตร บทบาทครู บทบาทผู้เรียน บทบาทโรงเรียน กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการศึกษา แบบสำรวจนี้มีทั้งหมด 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 ถามสถานภาพส่วนตัว ตอนที่ 2 ถามความเชื่อทางปรัชญาการศึกษา และตอนที่ 3 ให้ผู้ตอบระบุว่าตนเองมีความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาใกล้เคียงลัทธิใดมากที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัย 1. ความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา โดยส่วนรวมโน้มไปทางลัทธิพิพัฒนาการนิยมสูงสุด เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านปรากฏว่าส่วนใหญ่โน้มไปทางลัทธิพิพัฒนาการนิยมสูงสุด 2. การเปรียบเทียบความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มพบว่า ก. ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม มีความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาโดยส่วนรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในลัทธิ สารัตถนิยม นิรันตรนิยม ปฏิรูปนิยม และอัตถิภาวนิยม ข. ผู้บริหารมีความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน อาจารย์ แตกต่างกันในด้านบทบาทโรงเรียน ส่วนนักศึกษา แตกต่างกันในด้าน ความหมายการศึกษา และด้านหลักสูตร ค. ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาที่อายุ เพศ และประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 3. ความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาที่ระบุว่าตนเองยึดถือ กับความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาที่ได้จากการตอบแบบสอบถามแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละลัทธิปรากฏว่า ความเชื่อทางปรัชญาทางการศึกษาของผู้บริหารที่ระบุว่าตนยึดถือ กับความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาที่ได้จากการตอบแบบสอบถามไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับอาจารย์ พบว่าแตกต่างกันในลัทธิสารัตถนิยม ส่วนนักศึกษาพบว่าแตกต่างกันในลัทธิสารัตถนิยม และลัทธินิรันตรนิยม
Other Abstract: Purposes of the study The purpose of this research was to study and to compare the educational philosophy beliefs among administrators, instructors, and students in Teachers Colleges in Bangkok Metropolis classified by sex, age and working experience, and to compare their self-identified philosophy of education to their actual beliefs in philosophy of education. Procedures This research was a survey. The subjects consisted of 370 administrators, instructors and students in Teachers Colleges in Bangkok Metropolis, selected by stratified and simple random sampling. The instruments used in this research was the Educational philosophy Inventory constructed by the researcher which covered five philosophies namely, Essentialism, Perennialism, Progressivism, Reconstructionism and Existentialism. Each philosophy was classified into eight categories; meaning of education, aim of education, curriculum, teachers’ roles, students’ roles, the role of the school, learning-teaching process, and measurement and evaluation. The inventory was divided into three parts. The first part included questions on personal data; the second measured educational philosophy beliefs and the third asked respondents to identify their educational philosophy preference. The obtained data were analyzed statistically by means of frequencies, percentages and Chi-square tests. Findings 1. Progressivism was rated highest by administrators, instructors and students. When analyzed by categories, Progressivism was also rated highest. 2. A comparison of the educational philosophy beliefs of the three groups showed the following; a) significant differences between the three groups were found on Essentialism, Perennialism, Reconstructionism and Existentialism; b) administrators did not show any significant differences between each philosophy for each category; the instructors showed a significant difference on the meaning of education and on the curriculum; c) the educational philosophy beliefs of administrators, instructors and students, when analyzed by sex, age groups and working experience, showed significant differences. 3. The self-identified philosophies of education of the administrators, instructors and students showed a significant difference with their actual beliefs in philosophy of education as measured by the inventory. However, when each philosophy was considered separately, there was no significant difference on every philosophy for administrators. For instructors, there was a significant difference on Essentialism. For students, there was a significant difference on Essentialism and Perennialism.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27235
ISBN: 9745671819
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surin_Ra_front.pdf555.11 kBAdobe PDFView/Open
Surin_Ra_ch1.pdf587.65 kBAdobe PDFView/Open
Surin_Ra_ch2.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Surin_Ra_ch3.pdf448.24 kBAdobe PDFView/Open
Surin_Ra_ch4.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Surin_Ra_ch5.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Surin_Ra_back.pdf956.97 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.