Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27318
Title: การนำหลักค่าเสียหายที่กฎหมายกำหนด (statutory damages) มาใช้ในการเรียกค่าเสียหายทางแพ่งในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีละเมิดลิขสิทธิ์
Other Titles: The implementation of statutory damages into the case of copyright infringement in Thailand
Authors: มานิตา รุ่งเรืองตันติสุข
Advisors: อรพรรณ พนัสพัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ลิขสิทธิ์ -- กรณีศึกษา
การละเมิดลิขสิทธิ์ -- ไทย
ค่าเสียหายกรณีขาดทุน
ค่าเสียหายกรณีสูญรายได้
ค่าชดเชย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบันการบังคับสิทธิทางแพ่งสำหรับกรณีการกำหนดค่าเสียหายนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์มีภาระอย่างมากในการค้นหาพยานหลักฐานและนำสืบพิสูจน์ถึงความเสียหายจากการละเมิด วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งทำการศึกษาถึงเจตนารมณ์ สาระของค่าเสียหายทางแพ่งกรณีละเมิดลิขสิทธิ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาและข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights - TRIPS) โดยศึกษาความเป็นมา ความหมาย ประเภท กลไกและมาตรการให้ความคุ้มครองและการบังคับใช้ในค่าเสียหายทางแพ่งกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ จากการศึกษาพบว่า ตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทยให้สิทธิเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีได้รับการเยียวยาชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติของการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ เนื่องจากปัญหาความยากในการนำสืบและพิสูจน์ค่าเสียหายที่แท้จริงที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับ ปัญหาความไม่ชัดเจนของหลักเกณฑ์การกำหนดค่าเสียหายกรณีละเมิดลิขสิทธิ์และปัญหาความไม่แน่นอนของการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณากำหนดค่าเสียหายกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ ประกอบกับส่วนหนึ่งเกิดจากความบกพร่องและความผิดพลาดของเจ้าของลิขสิทธิ์เอง เช่น กล่าวอ้างความเสียหายจากการขาดรายได้มาจำนวนหนึ่งโดยไม่มีพยานหลักฐานอ้างอิงมาประกอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าตนมีวิธีคิดคำนวณค่าเสียหายอย่างไร ในขณะที่กฎหมายต่างประเทศได้กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการดังกล่าวอย่างเหมาะสม โดยมีขอบเขตการเยียวยาชดใช้จากการละเมิดลิขสิทธิ์และเจ้าของลิขสิทธิ์ยังมีสิทธิเรียกร้องประเภทค่าเสียหายได้อย่างหลากหลาย เช่น ผลกำไรของผู้กระทำละเมิดอันเนื่องมาจากการละเมิดงานลิขสิทธิ์ (Account of Profits) ค่าเสียหายที่กฎหมายกำหนด (Statutory Damages) หรือค่าเสียหายเพิ่มเติมในกรณีเฉพาะ (Additional Damages) ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการแก้ไข เพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 64 โดยบัญญัติเพิ่มเติมประเภทของค่าเสียหายที่เจ้าของลิขสิทธิ์อาจเรียกได้นอกจากค่าเสียหายที่แท้จริงให้รวมถึงผลกำไรของผู้กระทำละเมิดอันเนื่องมาจากการละเมิดงานลิขสิทธิ์ (Account of Profits) กับการนำหลักค่าเสียหายที่กฎหมายกำหนด (Statutory Damages) มาปรับใช้เพื่อเป็นทางเลือกในการเยียวยาความเสียหาย การกำหนดขอบเขตค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับสิทธิให้มีความหมายที่ชัดเจนขึ้นและบัญญัติให้หมายความรวมถึงค่าธรรมเนียมทนายความด้วย นอกจากนี้ ยังควรให้มีการยกเลิกค่าปรับกึ่งหนึ่งที่โจทก์ได้รับกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาเพื่อให้การบังคับใช้สิทธิทางแพ่งจากการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องระหว่างเอกชนกันเอง นอกจากนี้ ศาลควรจะใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายให้มีบรรทัดฐานไปในทางเดียวกัน อีกทั้งควรจะมีการปรับปรุงการบริหารงานคดีภายในศาลให้มีความเป็นระเบียบเพื่อให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้เข้าถึงความเป็นธรรมโดยสะดวก รวดเร็ว ยังผลทำให้เกิดการบังคับสิทธิที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Other Abstract: Under the current Copyright Law of Thailand, copyright owners bear the burden of proving and of finding abundantly sufficient evidences to support the damages award. Hence, the research herein aims to study a rationale, a content of the said damages for copyright infringement and those of any other relevant laws compared with the United States Copyright Law, and Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights (“TRIPS”) by studying the scope of historical, definition, classification, safeguard, and enforceability mechanism of damages originated from copyright infringement. From the study, it has found that copyright owners who succeeded with claims of infringement are entitled to receive an amount of compensation under Section 64 of the Copyright Act B.E. 2537 (1994) of Thailand. Yet, the act does not solve practical problems of remedies regarding copyright infringement due to the difficulty in proving infringement, the unclear criteria and the uncertainty of court’s discretion in determining damages for copyright infringement together with the negligence or mistake made by copyright owners themselves. For example, many copyright owners claim an amount of damages for lost sales without sufficient evidences to show the calculation processes of the so called “lost sales”. Meanwhile, the laws of certain foreign countries provide prudent criteria and adequate mechanisms with a clear scope of remedies given to copyright infringement. Copyright owners are also entitled to claim various types of damages, for instance, account of profits, statutory damages or additional damages. Therefore, it is suggested that Section 64 of the Copyright Act with respect to damages for copyright infringement should be amended by inserting other types of damages other than actual damages, e.g. account of profits, statutory damages, and by establishing a provision regarding definition of clear expenses by including attorney’s fees. In addition, this thesis proposes rescission of criminal penalty in order to maintain enforceability of copyright infringement as a private right. Furthermore, the court should, under its creation, standardize the determination of the damages, and should also improve as well as organize its internal management for concerned parties to reach fairness promptly with convenience which in turn would result in more efficient enforcement of copyright.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27318
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1967
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1967
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
manita_ru.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.