Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27381
Title: พัฒนาการของการใช้ลักษณนามภาษาไทย ของนักเรียนจังหวัดน่าน
Other Titles: The development of Thai classifiers usage of school students in Nan province
Authors: สุวัฒนา วิชารักษ์
Advisors: ธีระ อาชวเมธี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับความสามารถของนักเรียนในการใช้ลักษณนามได้ตรงกับภาษาเขียน และศึกษาแบบแผนของการใช้ลักษณนามภาษาไทยที่ต่างจากภาษาเขียน ใช้กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, 4, 6 อายุเฉลี่ย 8/2, 10/0, 12/0 ตามลำดับ จำนวน 150 คน จากโรงเรียนศรีเสริมกสิกรและมัธยมศึกษาปีที่ 1, 3, 5 อายุเฉลี่ย 14/0, 16/1, 18/0 ตามลำดับ จำนวน 150 คน จากโรงเรียนสตรีน่าน “สตรีสวัสดิ์วิทยาคาร และโรงเรียนการช่างน่าน จังหวัดน่าน ทดสอบเด็ก โยใช้แบบทดสอบปรนัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยรวบรวมลักษณนามชนิดต่าง จากหนังสือหลักภาษาไทย ผลการวิจัยที่สำคัญดังนี้ 1. ความสามารถในการใช้ลักษณนามภาษาไทยที่ถูกต้องตามภาษาเขียนพัฒนาตามระดับอายุที่เพิ่มขึ้น 2. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนแบบทดสอบจะลดลงตามลำดับอายุที่เพิ่มขึ้น 3. มีจำนวนคำนาม ร้อยละ 8 ที่นักเรียนใช้ลักษณนามมาขยายได้ถูกต้องตรงตามภาษาเขียนเพิ่มตามลำดับอายุเมื่อใช้เกณฑ์อย่างเข้มงวด 4. เด็กเล็กมีแนวโน้มที่จะใช้ลักษณนามที่ต่างจากภาษาเขียนมากกว่าเด็กโต 5. ในการใช้ลักษณนามที่ผิดจากภาษาเขียนบางตัว นักเรียนบางคนในทุกระดับอายุ ใช้ลักษณนามที่ผิดจากภาษาเขียนคล้าย ๆกัน 6. ในการใช้ลักษณนามที่ต่างจากภาษาเขียน นักเรียนทุกระดับอายุจะใช้ลักษณนาม “อัน” มากกว่าลักษณนามตัวอื่น ๆ 7. มีนักเรียนบางคนในทุกระดับอายุ จะนำลักษณนามที่เป็นภาษาถิ่นมาใช้แทนลักษณนามที่ถูกต้องตามภาษาเขียน 8. นักเรียนบางคน ในบางระดับอายุ ใช้ลักษณนามที่ต่างจากภาษาเขียน ซ้ำคำนามทั้งคำหรือพยางค์หน้า หรือพยางค์หลังของคำนามนั้น ๆ
Other Abstract: Two main purpose of this research were to study the relationship between age and ability in students’s Thai Classifiers usage and to study the way the students used Thai Classifiers that differed from the correct written language. Subjects were 150 Pratom Suksa 2, 4, 6 pupils from Srisermkasikorn School who were 8/2, 10/0, 12/0 years of age in average, and 150 Mattayom Suksa 1, 3, 5 pupils from Strinan “Strissrinan”, Sriswadiwittayakarn and Nan Vocational School who were 14/0, 16/1 and 18/0 years of age in average, respectively. The test was constructed by collecting Classes of Thai Classifiers from text books. The results were 1. The students’ Thai Classifiers usage improved significantly with age. 2. The variance of the developmental scores strictly increased with age 3. The developmental scores strictly increased with age in only 8 percent of the nouns used in the test. 4. The Thai classifiers usage which differed from the correct language was more pronounced in the younger groups than the older groups. 5. Some student at all age levels used some classifiers which were different from the correct written language similarly. 6. At every age level, the use of the incorrect Thai Classifier “ an” (อัน) was most frequent. 7. Some students at every age level used classifiers in their dialect to replace the correct classifiers according to the written language. 8. The students at every age level tended to use some first, last or all of syllables of the nouns as classifiers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27381
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwattana_Wi_front.pdf379.52 kBAdobe PDFView/Open
Suwattana_Wi_ch1.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Suwattana_Wi_ch2.pdf343.86 kBAdobe PDFView/Open
Suwattana_Wi_ch3.pdf406.83 kBAdobe PDFView/Open
Suwattana_Wi_ch4.pdf447.65 kBAdobe PDFView/Open
Suwattana_Wi_ch5.pdf301.8 kBAdobe PDFView/Open
Suwattana_Wi_back.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.