Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27384
Title: พฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางสังคม ตามคำรายงานของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง
Other Titles: Sociall moral behaviors and behavior tendency as reported by pupils, teachers and parents
Authors: สุวิมล สุรังค์กาญจนจัย
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) สำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มจริยธรรมทางสังคมตามคำรายงานของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง และ (2) ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมของบุคคลตามตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปร ได้แก่ สถานภาพ เพศ ศาสนา ภูมิภาค สภาความเป็นเมือง และอาชีพหลักของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 และผู้ปกครอง จำนวน 2,888 คน จากห้าภูมิภาคของประเทศไทย อันได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Muti-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่างและแบบสำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีของเซฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมที่กลุ่มตัวอย่างรายงานว่าเป็นพฤติกรรมที่ดี ที่ถูกและที่ควร มีจำนวน 10 พฤติกรรม ได้แก่ การช่วยเหลือผู้อื่น (พ9) การบำเพ็ญประโยชน์ (พ13) การกตัญญูแม้ตนจะยากลำบาก (พ16) การคำนึงถึงความอาวุโส (พ18) การให้อภัย ( พ10) การเห็นอกเห็นใจ (พ11) การรักษาชื่อเสียงของหมู่คณะ (พ15) การรักษาสัญญา (พ2) การอดทน (พ21) และการเห็นแก่พวกพ้อง (พ8) ส่วนพฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างรายงานว่าเป็นพฤติกรรมไม่ดี ไม่ถูก และไม่ควร มีจำนวน 11 พฤติกรรม ได้แก่ การกตัญญูแม้การกระทำนั้นจะผิดระเบียบ (พ17) การปฏิบัติต่อผู้ขายดีกว่าผู้หญิง (พ 6) การประจบ (พ 5) การรักษาหน้า (พ 19 ) การปฏิบัติต่อคนร่ำรวยดีกว่าคนไม่ร่ำรวย (พ 7) การพูดปด (พ 1) การไม่รักษาระเบียบวินัย (พ 14) การใช้กโลบาย (พ 4) การอิจฉาริษยา (พ 20 ) การเบียดเบียนผู้อื่น (พ 12 ) และการให้ร้ายป้ายสี (พ 3) 2. พฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมที่กลุ่มตัวอย่าง รายงานว่าเคยทำบ่อยที่สุดคือ การคำนึงถึงความอาวุโส (พ 18) และเคยทำน้อยที่สุดคือ การให้ร้ายป้ายสี (พ 3) ส่วนพฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมที่กลุ่มตัวอย่างรายงานว่า มีแนวโน้มจะทำมากที่สุดคือ การช่วยเหลือผู้อื่น (พ 9) และมีแนวโน้มจะทำน้อยที่สุดคือ การให้ร้ายป้ายสี (พ 3) สำหรับพฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมที่กลุ่มตัวอย่างรายงานว่า เคยเห็นคนอื่นทำมากที่สุดคือ การไม่รักษาระเบียบวินัย (พ 14) และเคยเห็นคนอื่นทำน้อยที่สุดคือ การกตัญญูแม้ว่าการกระทำนั้นจะผิดระเบียบ (พ 17) นอกจากนี้พฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมที่กลุ่มตัวอย่างรายงานว่า คิดว่าคนอื่นจะทำมากที่สุดคือ การคำนึงถึงความอาวุโส (พ 18) และคิดว่าคนอื่นทำน้อยที่สุดคือ การเบียดเบียนผู้อื่น (พ 12 ) 3. ตัวแปรอิสระทั้ง 6 ตัวแปร ได้แก่สถานภาพ เพศ ศาสนา ภูมิภาค สภาพความเป็นเมือง และอาชีพหลักของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมในระดับนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05 ขึ้นไป)โดยสถานภาพเป็นตัวแปรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมน้อยที่สุด กล่าวคือ 3 3.1 นักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เกือบทุกข้อ โดยพบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมสังคมทั้งด้านบวกและด้านลบน้อยกว่าทุกกลุ่ม ส่วนครูและนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมสังคมด้านบวกใกล้เคียงกันและมากกว่าทุกกลุ่ม สำหรับพฤติกรรมสังคมด้านลบพบว่านักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมดังกล่าวมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ 3.2 เพศหญิง และเพศชาย มีพฤติกรรมแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า เพศหญิงมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมสังคมด้านบวกมากกว่าเพศชาย และเพศชายมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมสังคมด้านลบมากกว่าเพศหญิง 3.3 ผู้นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมสังคมด้านบวกและด้านลบน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ ส่วนผู้นับถือศาสนาคริสต์มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมสังคมด้านลบมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ 3.4 บุคคลที่อยู่ในภูมิภาคต่าง ๆมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า ผู้ที่อยู่ในภาคใต้มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมสังคมด้านลบน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพฤติกรรมและแนวโน้มในพฤติกรรมดังกล่าวมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ 3.5 บุคคลที่อาศัยอยู่ในสภาพความเป็นเมืองต่างกัน มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมสังคมด้านบวกและด้านลบมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในขณะที่คนในอำเภอชนบทมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมดังกล่าวน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ 3.6 ผู้มีอาชีพหลักของครอบครัวต่างกัน มีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมจริยธรรมทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าผู้ที่มีอาชีพรับราชการเป็นอาชีพหลักของครอบครัวมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมสังคมด้านบวกมากกว่ากลุ่มอื่น ส่วนผู้ที่มีอาชีพธุรกิจการค้าและผู้มีอาชีพใช้แรงงานเป็นอาชีพหลักของครอบครัวมีพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมสังคมด้านบวกใกล้เคียงกันน้อยกว่ากลุ่มอื่น
Other Abstract: The purpose of this research was (1) survey and investigate existing social moral behaviors and behavior tendency as reported by pupils, teachers and parents, and (2) to study social moral behaviors and tendencies according to six independent variables : status, sex, religion, region, residential area and occupation of family. Data were collected from 2,888 subjects by multi-stage sampling including pupils in Prathomsuksa 6, Mathayom 3, Mathayomsuksa 5, teachers and parents from the five region of Thailand, i.e. Bangkok, Central Northern, Southern and Northeastern region. The research instruments were a questionnaire for biographical data and the Moral Behavior Scale : Social Moral Behaviors and Tendencies. The Procedures of data analysis were the one-way analysis of variance and the multiple comparison by Scheffe’s Method. Findings 1) The social moral behaviors which were rated by the subjects as good, right and proper were helping others, welfare work, showing gratitude even if difficult to do, being aware of seniority, forgiving, being sympathetic toward others, keeping the reputation of the group, keeping promises, being boastful and favoring acquaintances. The social moral behaviors which were rated by the subjects as bad, wrong and improper were showing gratitude even against the rule, favoring men more than women, flattering, face-saving, favoring the rich people, telling ties, lacking discipline, using tricks, envy, oppressing others and calumny. 2) The social moral behavior reported as the most frequently engaged in was being aware of seniority and the one reported as the least was calumny. The social moral behavior that the subjects reported as having tendency to engage in most frequently was helping others and as the least frequently was calumny. The social moral behavior that the subjects reported as having observed most frequently in others was lacking discipline and as the least frequently was showing gratitude even against the rule. The social moral behavior that the subjects reported as most likely to be done by others was being aware of seniority and the least likely was oppressing others. 3) The six independent variables significantly affected social moral behavior tendency of subjects (p .05 and beyond). The variable which showed the highest degree of significance was status and the variable which showed the least significance was religion. 3.1 There was a significant difference in social moral behaviors and behavior tendency for most behaviors among the pupils, the teachers and the parents. The Prathomsuksa 6 pupils had less positive and negative social behavior tendency than the others, the teachers and the M.S. 5 pupils had as more positive social behaviors and tendency than the others. The M.S.5 pupils had more negative social behaviors and behavior tendency than the others. 3.2 There was a significant difference in social moral behaviors and behavior tendency between females and males. Females had more positive social behavior tendency than males. But males had more negative social behaviors and behavior tendency than females. 3.3 There was a significant difference in social moral behaviors and behavior tendency among Buddhists, Moslems Islamites and Christians. Islamic respondents had less positive and negative social behaviors and behavior tendency than the others. Christians had more negative social behaviors and behavior tendency than the others. 3.4 There was a significant difference in social moral behaviors and behavior tendency among the subjects from various regions. The subjects from the South had less negative social behaviors and behavior tendency than the others and the subjects from the Northeast had more such behaviors and behavior tendency than the others. 3.5 There was a significant difference in social moral behaviors and behavior tendency among the subjects from various residential areas. The subjects from urban areas had more positive and negative social moral behaviors and behavior tendency than the others; the subjects from Amphoes in the rural areas had less such behaviors and behavior tendency than the others. 3.6 There was a significant difference in social moral behaviors and behavior tendency among the subjects from various occupations of the families. The subjects from civil service families had more positive social behaviors and behavior tendency than the others. The subjects from business families and the subjects from employee families had nearly as many as less such behaviors and behavior tendency than the others.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27384
ISBN: 9745630667
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwimon_Su_front.pdf790.24 kBAdobe PDFView/Open
Suwimon_Su_ch1.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Suwimon_Su_ch2.pdf739.12 kBAdobe PDFView/Open
Suwimon_Su_ch3.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open
Suwimon_Su_ch4.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Suwimon_Su_ch5.pdf371.09 kBAdobe PDFView/Open
Suwimon_Su_back.pdf826.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.