Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27391
Title: ปฏิกริยาของรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อการเคลื่อนไหวตามแนวความคิดประชาธิปไตย และสังคมก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
Other Titles: Reactions of King Prajadhipok's government to democratic and socialist movements before the revolution of 1932
Authors: สุวดี เจริญพงศ์
Advisors: ชัยอนันต์ สมุทวณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การติดต่อกับประเทศตะวันตกในปลายพุทธศตวรรษที่ 24 มีผลสำคัญต่อสังคมไทยในหลายๆ ด้าน ในขณะที่ผู้นำของประเทศยอมรับความรู้เกี่ยวกับวิทยาการสมัยใหม่ ก็ยังมีความไม่แน่ใจเกี่ยวกับแนวความคิดทางการเมืองแบบตะวันตกและผลในทางปฏิบัติ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้การปฏิรูปสังคมไทยตามระบบบริหารและวิทยาการแบบตะวันตกจึงเป็นไปในขอบเขตของระบอบการปกครองแบบเดิม การเคลื่อนไหวตามแนวความคิดทางการเมืองแบบตะวันตกเริ่มก่อตัวขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้กลายเป็นปัญหาสำคัญทางการเมืองของรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การต่อต้านรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยนี้เกิดบุคคลสองกลุ่มคือ ผู้ที่นิยมแนวความคิดประชาธิปไตย และผู้ที่นิยมแนวความคิดสังคมนิยมแบบมาร์กซิสต์ การเคลื่อนไหวตามแนวความคิดประชาธิปไตยได้แผ่ขยายไปในวงกว้างมากขึ้นจากการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระของหนังสือพิมพ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ เป็นต้นมา แนวความคิดนี้เป็นที่ยอมรับของรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ในส่วนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ในระหว่าง พ.ศ. 2468 – 2475 จึงได้มีความพยายามที่จะปฏิรูปการปกครองไปสู่ระบบประชาธิปไตยในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปก่อนที่จะมีการปฏิวัติล้มล้างระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 ในทางตรงกันข้าม การเคลื่อนไหวตามแนวความคิดมาร์กซิสม์มีความจำกัดทั้งด้านจำนวนสมาชิกแลขอบเขตของกิจกรรม พรรคคอมมิวนิสต์ยามมุ่งหาสมาชิกส่วนใหญ่จากชุมชนชาวจีนและชาวญวน และรับคำสั่งจากองค์การคอมมิวนิสต์ภายนอกประเทศ เนื่องจากการที่คนไทยโดยทั่วไปพิจารณาว่าแนวความคิดนี้เป็นของต่างชาติไม่เหมาะกับสังคมไทย รวมทั้งการที่แนวความคิดนี้มีหลักการปฏิวัติแบบรุนแรง การเคลื่อนไหวตามแนวความคิดมาร์กซิสม์จึงไม่ประสบผลสำเร็จในการขยายฐานกำลังสนับสนุนในบรรดาชาวไทย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะอธิบายถึงนโยบายของรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ต่อแนวความคิดทั้งสองนี้ เป็นที่แนชัดว่ารับบาลเน้นในการปราบปรามการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบสังคมนิยมมาร์กซิสต์ ในขณะที่ค่อนข้างผ่อนปรนต่อการแสดงความคิดเห็นของชาวไทยซึ่งมีอุดมการประชาธิปไตย รัฐบาลไม่ประสบปัญหายุ่งยากมากนักในความพยายามที่จะปราบปรามกิจกรรมของฝ่ายมาร์กซิสต์เนื่องจากสามารถใช้มาตรการทางกฎหมายต่อผู้ที่เลื่อมใสลัทธิคอมมิวนิสม์ได้ยิ่งไปกว่านั้น อุดมการณ์มาร์กซิสม์เป็นสิ่งที่ประชาชนโดยทั่วไปยังไม่ยอมรับ และไม่ได้รับกำลังสนับสนุนมากจากปัญญาชนชาวไทยซึ่งมีทางเลือกตามแบบแนวความคิดประชาธิปไตยแล้ว สำหรับปัญหาที่ว่ารัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ประสบความล้มเหลวหรือไม่ ในความพยายามที่จะสร้างรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น คำตอบอาจมีทั้งการตอบรับและปฏิเสธ ทั้งนี้เพราะแม้ว่ารัฐบาลประสบความล้มเหลวในการนำรูปแบบประชาธิปไตยในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปตามที่ได้วางแผนไว้มาใช้ แต่นโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ช่วยส่งเสริมแนวความคิดประชาธิปไตย ในอีกด้านหนึ่งจึงเท่ากับเป็นการช่วยแผ้วทางให้แก่คณะราษฎรซึ่งยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
Other Abstract: The contact between Siam and the West in the nineteenth century had a far – reaching impact on several aspects of Thai society. While the ruling elite had welcomed and made use of western technological advancement, they were highly skeptical about foreign political ideas and practices. Hence, western administrative system and technique were emulated but these reforms were carried through within the limits of traditional political structure. Western political ideas began to gain grounds in the reign of King Chulalongkorn and King Vajiravudh, and became the major political problem of King Prajatipok’s government. The opposition to the absolute monarchy during this period came from two groups of conspirators, the Democrats and the Marxist Socialists. Democratic movement was facilitated by the birth of a free press since the reign of King Vajiravudh and was to a certain degree acceptable by Prajatipok’s Government. Incremental steps towards democratic reforms were taken during 1925 – 1932 prior to the successful coup d’état on June. 1932 which overthrew the absolute monarchical regime. The Marxist Socialist movement, on the other hand, was very limited in the number of sympathizers and in the scale of its activities. The Communist Party of Siam, as it was called recruited its members from the Chinese and Vietnamese communities and was directed from communist organizations outside the country. Being an alien element and having a violent revolutionary ideology, the Marxist Socialist movement was unsuccessful in expanding its base of support among the Thai people. This thesis attempts to explain King Prajatipok’s policy towards these two movements. It is quite clear that the government concentrated more of its efforts on the suppression of Marxist Socialist movement, while it was rather lenient in dealing with criticisms which came from democratically inspired Thai citizens. The government had no serious difficulty in its attempts to curb the activities of the Marxist Socialists since positive legal measures could be used against the Marxist Socialist Conspirators. Moreover, the Marxist ideology was too premature for the mass, and it did not gain much support from the Thai educated elites who had already acquired their alternative to the system via democratic idealism. Did the government fall in its attempt to establish a democratic from of government ? The government did fail in bringing about a democratic from of government as it had planned i.e. through successive incremental steps. But its policy concerning this matter was instrumental in keeping democratic idealism alive, which in turn, had paved the way for the People’s Party to finally take over on June 24, 1932.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27391
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwadee_Ch_front.pdf765.93 kBAdobe PDFView/Open
Suwadee_Ch_ch1.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Suwadee_Ch_ch2.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Suwadee_Ch_ch3.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open
Suwadee_Ch_ch4.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Suwadee_Ch_ch5.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Suwadee_Ch_back.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.