Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27445
Title: มนุษย์ในทัศนะของวอลแตร์
Other Titles: La vision de l' homme chez Voltaire
Authors: กรธิการ์ จุลละพราหมณ์
Advisors: อนงค์นาฎ เถกิงวิทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: L’ idée sur l’ home est une parmi les choses les plus difficiles a comprendre, profondes et sans conclusions. Au-dessus des autres animaux, l’home sait penser, et voila la source de toutes les progression et de toutes les civlisations materiedlles. En meme temps, l’home s’sinteresse a son esprit en cherchant a donner des reponses a tlles ou telles questions: Qui sommes-nous?, Ou est le Bonheur?, Quel est le sens de la vie humaine; par example. Depuis le temps de l’Antiquite, il y a quelques ecrivains qui commencent et ouvrent ce passage philosophique pour l’ humanite, dont l’dee est, chacun, interessante. Au dix-huitieme siècle, Siecle des Lumires, un point du depart du changement scientifique, nous avons l’ecrivain philosophe et critique Voltaire. Il est francais, cependant son tracassement est universel, en etant etabli sur l’humanite toute entiere. Ses sources sont parfaits, a la mercie des evenements de son temps: la confusion a cause du changment scientifique, social et politique; la de terre, par example; le problem economique, social et politique; la querre; et cetera. De plus, le fait d’observer quelque chose dans tous les cotes temoigne ses idees larges et ses coeurs ouverts. Dans ces trios contes etudies (Babouc, Zadig et candide) Voltaire met ses heros en voyage pour but d’ observer la vie humaine. Heureusement que ces trios oeuveres sont ecrits des fifferentes dates, le development des idees de Voltaire sur l’homme se permet alors. La pensee de Voltaire est suiveie a travers ses heros et aussi ses personages secondaires et minims don’t le role divers mene les heros et les lecteurs a la conclusion de la vision voltairiene. Aussi y s-t-il l’etude des miseres humaines en detail ce qui se repete toujours dans l’histoire de l’humaite; ou bien a cause de la nature, ou bien a cause de la faiblesse humaine, et ce que l’homme ne peut pas en eviter. Finalement, j’etudie les points abstraits chez Voltaire: le development de ses idees, son opinion sure une societe hmaine parfait, le sens et la valeur humains et après tout les propositions de Voltaire sur le moyen de vivre. Tout cela n’est qu’ une seule entre les idees deverses qui existent. Ell est raisonnable et interessante, de toute facon, et qui permet une conception plus large pour les idees philosophiques du dixhuitieme siècle. Aussi donne-t-elle une issue philosophique qui est toujors modern parce qu’elle est, d’un cote, une verite.
Other Abstract: ในบรรดาสิ่งทั้งหลายที่ยากบนโลกนี้ เรื่องของมนุษย์เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง ยาก และหาข้อสรุปไม่ได้เรื่องหนึ่ง แต่เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่สามารถคิดได้ จึงเกิดพัฒนาการทั้งด้านวัตถุทำให้เกิดสังคมอันศิวิไลซ์ ในขณะเดียวกันในแง่จิตใจ มนุษย์ก็สนใจค้นคว้าหาคำตอบด้านปรัชญา ซึ่งก็มีนักคิด นักเขียนหลายท่านเปิดแนวทางไว้ให้นับตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว โดยมีแนวคิดอันหลากหลายที่ล้วนมีแง่มุมที่น่าสนใจ มาในคริสตศวรรษที่สิบแปด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่อันมีผลให้สังคมมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและฉับพลัน เรามีวอลแตร์ ซึ่งนอกจากจะเป็นนักคิด นักเขียน นักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศสแล้ว เขายังมีความห่วงใยในเพื่อนร่วมโลกอันเป็นความคิดสากล ความสับสนจากการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ ภัยพิบัติตามธรรมชาติ ความวุ่นวานทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการสงคราม ล้วนทำให้วอลแตร์มีข้อมูลมากมายเกี่ยวมนุษยชาติ ยิ่งไปกว่านั้น การมองอะไรหลายๆแง่ ทำให้ความคิดของวอลแตร์กว้างและน่าสนใจยิ่งขึ้น งานเขียนของเขานับได้ว่ามหึมา และล้วนแสดงความกังวลต่อเพื่อนมนุษย์ ในนิทานปรัชญาสามเรื่องที่นำมาศึกษานี้ (บาบุก ชาดิก และกองดิด) วอลแตร์ให้ตัวเอกในแต่ละเรื่องออกเดินทางไปเพื่อสังเกตการณ์ชีวิตมนุษย์ แต่เนื่องจากเวลาในการเขียนแต่ละเรื่องแตกต่างกัน เราจึงสามารถเห็นพัฒนาการทางความคิดของวอลแตร์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ด้วย งานค้นคว้าชิ้นนี้ติดตามความคิดของวอลแตร์จากตัวเอกของเขา รวมทั้งตัวละครรอง และตัวย่อย ซึ่งล้วนมีบทบาทอันหลากหลายในการนำตัวเอกและผู้อ่านไปยังจุดสรุปแนวคิดของวอลแตร์ นอกจากนี้ยังศึกษารายละเอียดความทุกข์ในแง่ต่างๆ ของมวลมนุษย์ ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประวัติศาสตร์ ทั้งความทุกข์อันเป็นไปตามวิถีทางแห่งธรรมชาติ และความทุกข์ที่เกิดจากความบกพร่อง และความอ่อนแอของมนุษย์เอง ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ สุดท้ายจึงศึกษาพัฒนาการทางความคิดของวอลแตร์ในแง่นามธรรม ความคิดเรื่องสังคมมนุษย์ที่เพียบพร้อม ที่พึ่งทางใจ ความหมายของการเป็นมนุษย์ คุณค่า และข้อเสนอแนะในการดำเนินชีวิต แนวคิดและทัศนะที่วอลแตร์มีต่อมนุษยชาติ เป็นเพียงหนึ่งในทักศนะอันหลากหลายในโลก แต่ก็มีเหตุผลและน่าสนใจ ทำให้สามารถเข้าใจแนวความคิดของคริสตวรรษที่สิบแปดได้กว้างขึ้น และยังเสนอทางออกอันเป็นปรัชญาชีวิตที่น่าสนใจ และไม่มีวันล้าสมัยอีกด้วย
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาอังกฤษ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27445
ISBN: 9745669067
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kornthikar_Ch_front.pdf568.14 kBAdobe PDFView/Open
Kornthikar_Ch_ch1.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Kornthikar_Ch_ch2.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Kornthikar_Ch_ch3.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Kornthikar_Ch_back.pdf401.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.