Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2754
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยนาถ บุนนาค-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาประวัติศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2006-09-23T04:56:37Z-
dc.date.available2006-09-23T04:56:37Z-
dc.date.issued2518-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2754-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการวิจัยเรื่องนี้คือ เพื่อศึกษาให้ทราบว่างานด้านการคมนาคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นรากฐานของการคมนาคมในปัจจุบันนี้ ได้เริ่มต้นและมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้ลงทุนเพื่อการคมนาคมอันเป็นสาธารณูปโภคที่สำคัญยิ่งประเภทหนึ่งของประเทศมากน้อยเพียงใด และการจัดการดังกล่าวได้บรรลุผลสำเร็จเพื่อประโยชน์สุขของสาธารณชนคุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่ ในการศึกษาเรื่องการวางรากฐานการคมนาคมนั้น ผู้วิจัยจะได้ศึกษาในด้านต่างๆ คือ การคมนาคมทางน้ำ ทางบก รวมถึงกิจการไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ ซึ่งถือว่าเป็นความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการคมนาคมด้วย ผู้วิจัยศึกษาโดยพิจารณาตามประเด็นต่อไปนี้ คือ ประการแรก สาเหตุและวัตถุประสงค์ที่ทำให้มีการเริ่มต้น และมีการดำเนินการคมนาคมแต่ละด้าน ประการที่สอง ขั้นตอนของการดำเนินงานและผู้ดำเนินงาน ประการที่สาม ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า และประการที่ 4 ประเมินผลจากเอกสารเท่าที่ค้นคว้าได้ งานวิจัยแบ่งออกเป็น 8 บท คือ บทนำ กล่าวถึงความมุ่งหมายของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย วิธีการดำเนินการค้นคว้าและวิจัย ที่มาของเอกสารและข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย และคำชี้แจงในการทำวิจัย บทที่ 1 กล่าวถึงการคมนาคมในสมัยโบราณ ก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บทที่ 2 กล่าวถึงการจัดการคมนาคมทางน้ำและทางบกในมณฑลกรุงเทพฯ บทที่ 3 กล่าวถึงการจัดการคมนาคมทางน้ำและทางบกในมณฑลต่างจังหวัด บทที่ 4 กล่าวถึงพาหนะประเภทต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งที่มีอยู่แต่เดิม เช่น เรือ รถม้า และที่สั่งเข้ามาในประเทศไทยใหม่ เช่น รถยนต์ รถจักรยาน รถลาก รถราง บทที่ 5 กล่าวถึงการดำเนินงานสร้างทางรถไฟและความเจริญของงานด้านนี้ บทที่ 6 กล่าวถึงกิจการด้านการไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุโทรเลข และบทที่ 7 เป็นบทสรุปสาเหตุและวัตถุประสงค์ของการจัดการคมนาคมด้านต่างๆ ซึ่งกลายเป็นรากฐานของการคมนาคมในปัจจุบัน ขั้นตอนของการดำเนินงานและประเมินผลการใช้การคมนาคมว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ พร้อมทั้งวิจารณ์เชิงเปรียบเทียบการจัดการคมนาคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมัยปัจจุบันen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study the works in the field of communications in the reign of King Chulalongkorn which was the basic foundation of the present communication system in Thailand. It attempts to investigate how large an allocation of the governmental budget for the establishment and management of this public communication system and how effectively did these plans were put into action. In studying this topic, the researcher studies different types of communication system by water, by land, and including the telecommunication system. The subject is carefully examined accordingly: firstly, causes and objectives of many facets of the establishment and management of the communication system. Secondly, the developmental processes including the organizers of the projects. Thirdly, problems and obstacles of the processes delaying the projects. Fourthly, the evaluation of the results of the successful projects. This research is organized into 8 chapters. The introductory chapter describes the purpose of the study, the scope, procedures and the data used in the research and the research benefits including suggestion in doing this research. Chapter I describes the historical patterns of communication systems prior to the reign of King Chulalongkorn. ChapterII deals with the processes of communication system both by water and by land in the urban areas especially in the Circle of Krungthep. Chapter III shows the establishment and management of communication system both by water and by land in the rural areas. Chapter IV describes the means of communication in the reign of King Chulalongkorn, for example, boats, carriages, and transport novelties imported from the West such as motorcars, bicycles, rickshaws and tramcars. Chapter V deals with the railways construction and its prospects. Chapter VI gives a description of the construction of telecommunications including telegraph, telephone and wireless. Chapter VII summarizes the causes and effects of the different communication processes which are the formation and growth of the present communication systems in Thailand. It also tries to evaluate the usefulness and value of the investments in building up the communication system. Analytical criticism and comparison of different communication system in the reign of King Chulalongkorn and the present are also treated.en
dc.description.sponsorshipกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชen
dc.format.extent142586955 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการคมนาคม--ไทยen
dc.subjectการขนส่ง--ไทยen
dc.subjectไทย--ประวัติศาสตร์--กรุงรัตนโกสินทร์--รัชกาลที่ 5en
dc.titleการวางรากฐานการคมนาคม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : รายงานผลการวิจัยen
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorPiyanart.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyanart(comm).pdf36.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.