Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27671
Title: ความต้องการในการศึกษาต่อเนื่องของบรรณารักษ์ห้องสมุดเฉพาะ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The needs for continuing education of scientific and technological librarians in Bangkok metropolis
Authors: อนงค์ วรคุณพิเศษ
Advisors: พรรณพิมล กุลบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและทัศนคติ และความต้องการเหตุจูงใจ ปัญหาหรืออุปสรรคของการศึกษาต่อเนื่องของบรรณารักษ์ห้องสมุดเฉพาะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งความสนับสนุนของผู้บริหารงานห้องสมุดที่มีต่อบรรณารักษ์เกี่ยวกับการศึกษาต่อเนื่อง ตลอดจนข้อเสนอแนะของผู้บริหารงานห้องสมุดและบรรณารักษ์ในการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับสถาบันที่สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องให้สอดคล้องกับความต้องการของบรรณารักษ์ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามให้บรรณารักษ์ห้องสมุดเฉพาะฯ จำนวน 140 คน และผู้บริหารห้องสมุดเฉพาะฯ 80 คน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์ เสนอในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า บรรณารักษ์และผู้บริหารงานห้องสมุดเฉพาะฯ มีความเห็นตรงกันว่า การศึกษาต่อเนื่องมีความจำเป็นต่อวิชาชีพและช่วยให้บรรณารักษ์ได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้ทันกับความก้าวหน้าในวิชาชีพและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการศึกษาต่อเนื่องแบบเป็นทางการ บรรณารักษ์ต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทมากที่สุด รองลงมา คือ การอบรมที่มีวุฒิบัตร โดยต้องการเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมในมหาวิทยาลัยในประเทศ และในเวลาราชการ ส่วนกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องแบบไม่เป็นทางการที่บรรณารักษ์ต้องการเข้าร่วมมาก ได้แก่ การเยี่ยมชมดูงานห้องสมุดในประเทศและต่างประเทศที่ได้มาตรฐาน การเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการและการเข้าร่วมสัมมนาทางบรรณารักษศาสตร์ ซึ่งจัดโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และต้องการให้จัดในเวลาราชการ นอกจากนั้นกิจกรรมที่จัดในครั้งหนึ่งๆ ต้องการให้ใช้เวลา 3-5 วัน เหตุจูงใจสำคัญที่ทำให้บรรณารักษ์เข้ารับการศึกษาต่อเนื่อง คือ ต้องการปรับปรุงการปฏิบัติงาน และต้องการติดตามให้ทันกับความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ตามลำดับ สำหรับปัญหาหรืออุปสรรคสำคัญที่ทำให้บรรณารักษ์ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องแบบเป็นทางการ คือ ไม่มีผู้ปฏิบัติงานแทน และอุปสรรครองลงมา คือ ไม่มีเวลามากพอ ส่วนการศึกษาต่อเนื่องแบบไม่เป็นทางการ อุปสรรคสำคัญที่บรรณารักษ์ประสบ คือ กิจกรรมที่จัดไม่ตรงกับความต้องการ รองลงมาคือ ไม่ทราบว่ามีการจัดกิจกรรมที่ใดบ้าง ในด้านเนื้อหาวิชาทางบรรณารักษศาสตร์ที่บรรณารักษ์ต้องการศึกษาเพิ่มเติมมากที่สุดคือ การบริหารงานห้องสมุด รองลงมาคือ แหล่งข้อมูลและวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดหาหนังสือและวัสดุห้องสมุด และบริการห้องสมุดตามลำดับ สำหรับความสนับสนุนของผู้บริหารงานห้องสมุดที่มีต่อการศึกษาต่อเนื่องของบรรณารักษ์ในทัศนะของบรรณารักษ์เห็นว่า ผู้บริหารงานห้องสมุดให้ความสนับสนุนในระดับปานกลาง และน้อย ในขณะที่ผู้บริหารงานห้องสมุดเห็นว่า ได้ให้ความสนับสนุนในระดับมากทุกด้าน ข้อเสนอแนะ สถาบันที่สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ ควรเปิดหลักสูตรปริญญาโทเพิ่มขึ้น หรือ สถาบันที่มีการสอนระดับปริญญาโทแล้ว ควรพิจารณาเปิดสอนในภาคค่ำ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยควรจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องแบบไม่เป็นทางการอันได้แก่ การสัมมนาและการอบรมเชิงปฏิบัติการในเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการของบรรณารักษ์ และควรประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่จะจัดให้กว้างขวาง นอกจากนั้นสถาบันต่าง ๆ ควรมีความร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้กิจกรรมที่จัดมีความซ้ำซ้อนกันรวมทั้งสถาบันต่าง ๆ ควรจัดทำวารสารและสิ่งพิมพ์ทางบรรณารักษศาสตร์ออกเผยแพร่ให้มากกว่าที่เป็นอยู่
Other Abstract: The purposes of this thesis were to study the needs, attitudes, motivations, problems including the library administrators’ support and the suggestions for continuing education of scientific and technological librarians and library administrators in order to be the guidelines for the library schools and other institutes in providing the continuing education programs according to their needs. The research was done through 220 questionnaires which were distributed to 140 scientific and technological librarians and their library administrators in 80 libraries. The data was analyzed and presented in the forms of percentage, means and standard deviation. The results of the research can be summed up that most of the librarians and their administrators agree that continuing education is necessary for library profession, and will help the librarians in coping up with the progress in the profession, and will improve their working ability. For formal continuing education, the librarians need to study in the master program and in the short courses accordingly which are provided by the university in working hours. For informal continuing education activities, they want to participate in study tour to the standardized libraries both in the country and abroad and workshops and seminars provided by the Thai Library Association. The activities should be done in working hours and between 3-5 days. The important motivations for continuing education are to improve their work and to keep up with the progress in librarianship. Their problems in formal continuing education are the shortage of personnel on condition that there is no replacement and the lack of time to further their studies. According to their informal continuing education, the problems are the subject contents do not meet their needs and the programs are not widely publicized. The scientific and technological librarians want to study these subjects: library administration, literature of scientific and technology, selection of library materials and library services. According to the questionnaires sent to the library administrators revealed that they provided support and opportunities for the continuing education of their library staff in s high level while the librarians felt that their administrators had supported them in a medium and low levels. Recommendations More library schools should offer the master program and provide the opportunities for scientific and technological librarians to further their studies. The library schools which have already had the master program should offer both the regular and twilight courses. For informal continuing education, the Thai Library association should provide the workshop and seminar with the needed contents. More publicity of the activities is needed and should be widely distributed. Besides, to develop continuing education programs in order that the programs will not be overlapped. Consequently, the concerned institutes should provide adequate professional journals and publications.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27671
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anong_Wo_front.pdf452.5 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Wo_ch1.pdf705.25 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Wo_ch2.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Anong_Wo_ch3.pdf854.83 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Wo_ch4.pdf764.86 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Wo_back.pdf979.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.