Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27704
Title: การนำระบบศาลภาษีมาใช้ในประเทศไทย
Other Titles: Adaptation of tax court syatem to Thailand
Authors: อธิป จิตต์สำเริง
Advisors: กาญจนา นิมมานเหมินทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องด้วยกระบวนการทางเศรษฐกิจ พาณิชยกรรมได้พัฒนาก้าวหน้าไปเป็นอันมากทำให้ข้อพิพาทในเรื่องภาษีอากรระหว่างประชาชนผู้เสียภาษีกับเจ้าหน้าที่ประเมินภาษีของรัฐทวีจำนวนมากขึ้นและซับซ้อนยิ่งขึ้น กระบวนการยุติธรรมทั้งในขั้นตอนของฝ่ายบริหารคือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของกรมสรรพากร และศาลไม่อาจอำนวยความเป็นธรรมให้แก่คู่กรณีได้อย่างเต็มที่เพราะขั้นตอนการพิจารณาทั้งในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และศาลใช้เวลานานมาก ประกอบทั้งบุคคลที่ประกอบเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ประกอบด้วยข้าราชการระดับสูงซึ่งมีงานประจำมากทำให้ไม่สามารถอุทิศเวลาอย่างเต็มที่ในการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้เสียภาษีได้ สำหรับกระบวนการทางด้านศาลสถิตยุติธรรมนั้น อาจพิจารณาได้ว่ากระบวนวิธีพิจารณาที่ใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทในคดีนั้นไม่เหมาะสมกับการนำมาใช้พิจารณาวินิจฉัยคดีภาษีซึ่งต้องการความรวดเร็วและความประหยัด ประกอบทั้งสมควรจะพิจารณาจัดหาผู้พิพากษาที่มีความรู้และความเข้าใจกฎหมายภาษีอากรและมีความรู้ทางด้านธุรกิจเชิงปฏิบัติเพื่อให้สามารถพิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาทภาษีได้อย่างละเอียดรอบคอบ เมื่อได้พิจารณาจุดบกพร่องต่าง ๆ ในการพิจารณาคดีภาษีของประเทศไทยแล้วทำให้เกิดแนวความคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้คดีภาษีได้รับการพิจารณาโดยรวดเร็ว สะดวก ประหยัด และยุติธรรมแก่คู่กรณีให้ได้มากที่สุด ซึ่งจากแนวความคิดนี้ทำให้ผู้เขียน ได้เขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “การนำระบบศาลภาษีมาใช้ในประเทศไทย” ขึ้น เพื่อเสนอวิถีทางอันเหมาะสมในการดำเนินกระบวนการพิจารณาข้อพิพาททางภาษีให้อำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชนให้ได้มากที่สุด ในการดำเนินการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ปรากฏว่ามีอุปสรรคอย่างมากในการรวบรวมเอกสารประกอบการค้นคว้า โดยเฉพาะเอกสารภาษาไทยนั้นแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีเลย จะมีก็แต่เฉพาะรายงานการเดินทางไปดูงานศาลยุติธรรมในต่างประเทศของผู้พิพากษาศาลยุติธรรมเท่านั้นแต่ก็เป็นรายงานค่อนข้างรวบรัด เอกสารประกอบการค้นคว้าที่ถือเป็นหลักของการเขียนวิทยานิพนธ์เล่มนี้คือหนังสือ World Tax Series ของ Harvard Law School ซึ่งได้เรียบเรียงกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติในเรื่องภาษีอากรไว้โดยจำแนกเป็นระบบภาษีอากรของแต่ละประเทศ หนังสือประกอบการค้นคว้าอีกเล่มหนึ่งที่สำคัญคือหนังสือ The United States Tax Court (1981) จากหนังสือภาษาต่างประเทศที่กล่าวมานี้ทำให้สามารถวิเคราะห์กระบวนการอุทธรณ์คดีภาษีอากรของต่างประเทศได้ค่อนข้างละเอียดโดยจัดลำดับหัวข้อให้เป็นไปตามลำดับเพื่อสะดวกแก่การค้นคว้า เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมในการพิจารณาคดีภาษีของต่างประเทศกับประเทศไทยแล้ว อาจพิจารณาสรุปได้ว่าสมควรจัดตั้งศาลภาษีขึ้นในประเทศไทยเพื่อเป็นการพัฒนากระบวนการยุติธรรมของไทยให้ทันกับสภาพเศรษฐกิจการค้าที่กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ศาลภาษีนี้มีหลักสำคัญ 2 ประการคือ ต้องประกอบด้วยผู้พิพากษาที่มีความชำนาญและจัดเจนทางด้านกฎหมายภาษีอากรและธุรกิจเชิงปฏิบัติ และการพิจารณาคดีภาษีนั้น ต้องมีวิธีพิจารณาความโดยเฉาะเพื่อความสะดวกและรวดเร็วแก่คู่กรณี ข้อเสนอแนะในการเสนอให้นำระบบศาลภาษีมาใช้ในประเทศไทยนี้ ผู้เขียนพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าจะช่วยในการขจัดอุปสรรคที่ปรากฏอยู่ในด้านพาณิชยกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจ และจะส่งผลดีต่อประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศในที่สุด
Other Abstract: Our national economy and commerce have developed so much so that tax disputes between taxpayers and State’s tax assessment officials are on the increase and becoming complicated. The juridical system, as far as the Revenue Department’s tax appellate committee and the court of law are concerned, cannot yet render proper justice to either party to the disputes because each step of the juridical process is time-consuming and secondly, because the high-ranking officials are much tied up with their own work, making it impossible for them to devote full time to taxpayers’ appeals. The court’s juridical proceedings, which are currently employed in handling general legal cases, are clearly not suitable for tax disputes, which have to be settled with the least delay and minimum cost to taxpayers. To achieve this objective, it is recommended that qualifies judges with knowledge of tax laws and business practices be employed in sitting in on tax cases. In view of the inadequacies of the Thai juridical process for tax cases, a question has arisen as to what procedure should be adopted to make certain that settlement of tax disputes be conducted with speed and economy, as well as with due justice to the parties concerned. The question has inspired the writer with the idea of preparing this thesis under the title of “Adaptation of Tax Court System To Thailand” The aim of the thesis is to propose a method suitable for the judgement of tax disputes to ensure utmost fairness to the public. In the course of research for this thesis, the writer encountered much difficulty since books and document on the subject, particularly those in the Thai language, could hardly be found locally. The available document in Thai were only those reports on observation tours abroad as written by judges of the Ministry of Justice and they were rather brief. Among the documents used as the basis for preparing this thesis are: “World Tax Series” by Harvard Law School. These books describe in detail practical and systematic procedures relating to the tax system of each country. Another book providing related valuable information is “The United States Tax Court (1981). Those foreign language publications contain information which helped greatly in the analysis of the appellate procedures involving tax cases in various countries, as they classify different subjects in orderly relations convenient for study. From comparative studies of the juridical proceeding on tax cases in foreign countries and those in Thailand, it may be concluded that there still is the need to set up a tax court in Thailand in order to develop the Thai juridical process to keep pace with the rapid growth of national economy and commerce. Operation of the tax court should be based on these two principles: The court must be composed of judges who possess the knowledge and understanding of tax laws and business practices to enable them properly to determine tax cases; and secondly, a separate type of proceedings has to be adopted for tax disputes for speedy conclusion of the cases and convenience of the disputing parties. In the writer’s opinion, introduction of the tax court system to Thailand will help much to out down obstacles confronting trade and economic developments and will eventually benefit the people and national economy as a whole.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27704
ISBN: 9745606839
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Athip_Ch_front.pdf390.74 kBAdobe PDFView/Open
Athip_Ch_ch1.pdf275.94 kBAdobe PDFView/Open
Athip_Ch_ch2.pdf674.55 kBAdobe PDFView/Open
Athip_Ch_ch3.pdf954.67 kBAdobe PDFView/Open
Athip_Ch_ch4.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Athip_Ch_ch5.pdf842.5 kBAdobe PDFView/Open
Athip_Ch_back.pdf260.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.