Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27707
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนวดี บุญลือ
dc.contributor.authorอธิณัฎฐ์ พรมศิริ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-15T04:01:16Z
dc.date.available2012-12-15T04:01:16Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745643548
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27707
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractปัญหาของการประถมศึกษามีหลายประการ ปัญหาที่สำคัญคือ คุณภาพของการประถมศึกษายังไม่ได้มาตรฐานและแตกต่างกันระหว่างโรงเรียนในเมืองและชนบท ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไข องค์ประกอบสำคัญในการแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพคือ บุคลากรอันได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนา ในระยะที่ผ่านมา การพัฒนาบุคลากรจะเป็นการอบรม นิเทศติดตามผล ปรากฏว่ายังคงมีปัญหาเรื่องคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จึงได้จัดทำโครงการศูนย์วิชาการเคลื่อนที่ขึ้น โดยนำเอาแนวคิดและหลักการของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ คือมีไมโครบัส มีเครื่องมือเครื่องใช้โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เคลื่อนที่ไปสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคคลให้ได้อย่างรวดเร็วและมีขอบเขตกว้างไกลในท้องที่ชนบท นับเป็นแนวใหม่ในการพัฒนาบุคลากร ความสำเร็จของโครงการนี้ ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะในการส่งเสริมงานนวัตกรรมของผู้จัดการศูนย์วิชาการเคลื่อนที่เป็นอย่างยิ่ง การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบคุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์วิชาการเคลื่อนที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมงานนวัตกรรมทางการศึกษา ในด้านความพยายามที่จะทำงานให้สำเร็จ การทำงานเพื่อประโยชน์หรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การทำให้เข้ากันได้ระหว่างความต้องการของกลุ่มเป้าหมายกับนวัตกรรม ความสามารถในการเข้าใจบุคคลในกลุ่มเป้าหมาย ลักษณะที่คล้ายคลึงกันระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมกับกลุ่มเป้าหมาย ความสามารถในการแสวงหาและใช้ผู้นำความคิด ความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ส่งเสริม และความสามารถในการทำให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้และรู้จักนวัตกรรมด้วยตนเอง ในพื้นที่ 14 จังหวัด ที่สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ มอบหมายให้ดำเนินการ แต่เนื่องมาจากโครงการนี้เป็นโครงการทดลองที่ดำเนินการในระยะเริ่มต้นของโครงการ สำนักงานการประถมศึกษาแต่ละหน่วยได้มอบหมายให้ศึกษานิเทศก์ผู้หนึ่ง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ จึงได้ใช้สำนักงานการประถมศึกษาทั้ง 14 หน่วย เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา โดยกำหนดให้บุคลากรของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ได้แก่ ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ ศึกษานิเทศก์ และผู้จัดการศูนย์ เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 105 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. คุณลักษณะต่างๆ ที่ทำการศึกษามีความสำคัญหรือจำเป็นมากต่อการทำงานของผู้จัดการศูนย์วิชาการเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาเพื่อนร่วมงาน หรือผู้จัดการศูนย์ 2. ความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้จัดการศูนย์ที่มีต่อคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้จัดการศูนย์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเรียงลำดับความสำคัญของคุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์วิชาการเคลื่อนที่ตามความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้จัดการศูนย์วิชาการเคลื่อนที่ เรียงลำดับได้ดังนี้คือ 1) การทำงานเพื่อประโยชน์หรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 2) ความพยายามที่จะทำงานให้สำเร็จ 3) ความสามารถในการทำให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้และรู้จักนวัตกรรมด้วยตนเอง 4) ความสามารถในการแสวงหาและใช้ผู้นำความคิด 5) ความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ส่งเสริม 6) การทำให้เข้ากันได้ระหว่างความต้องการของกลุ่มเป้าหมายกับนวัตกรรม 7) ความสามารถในการเข้าใจบุคคลในกลุ่มเป้าหมาย 8) ลักษณะที่คล้ายคลึงกันระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมกับกลุ่มเป้าหมาย การวิจัยนี้เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารในการใช้คุณลักษณะของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมงานนวัตกรรม เป็นเกณฑ์หนึ่งในการคัดเลือกบุคคลเพื่อมอบหมายให้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวกับการเผยแพร่นวัตกรรม และใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินความสำเร็จของโครงการศูนย์วิชาการเคลื่อนที่ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
dc.description.abstractalternativePrimary Education has faced with many problems. The most crucial problem is the quality of education has not met the standard and the quality of education between city and rural areas is different. These problems must be resolved. The important factor for resolution is found in the quality of the personnels such as administrators and teacher. In the past training and supervision is aimed at personnel development. However, personnel quality is still a problem. Therefore The office of National Primary Education Commission has initiated Mobile Educational Center Project which is considered as an educational innovation. The project micro bus equipped with audio-visual aids will travel to meet with teachers in rural areas in order to provide training and supervision. The success of the project depends on the quality of the manager of the mobile Education Center. In this connection, the objectives of this research is to study and explore the characteristics suitable for the mangers who act as change agents of this Education Innovation. Those characteristics studied are of the following: extent of change agent’s work effort, nature of work which meets the clients’ benefit, compatability with clients’ needs change agents’ empathic quality, homophily between change agents and clients, change agents’ ability to sought and use local resources or opinion leaders, change agents’ credibility, and ability of change agents to make clients learn and appraise innovation by themselves. The research findings: 1. All of the characteristics (Of Educational Center’s Managers) studied are in high level of importance, is according to the opinion of the three group samples: the authorities, supervisor colleques and educational center’s mangers. 2. There is no significant difference in opinion upon level of importance among those characteristics of the center’s manger according to the opinion of the authorities, supervisor colleques and center’s manager. 3. According to the opinion of the authorities, other supervisors and mangers themselves, the significance of those characteristics is in the following order: 1) Nature of work which meets the benefit of target clients. 2) The extent of change agent effort. 3) Capacity in increasing clients’ ability to learn and appraise innovations themselves 4) Ability to sought and use local opinion leaders. 5) Managers’ credibility. 6) Compatability with clients’ needs. 7) Change agent’s empathic quality. 8) Homophily between change agents and clients. This study will be useful as guideline for the administrators to use those characteristic studied as criteria to select qualified mangers to serve as educational change agents, and it may be applied as indicative tools to measure the success of the Mobile Educational Center of The Office of National Primary Education Commission.
dc.format.extent448930 bytes
dc.format.extent618585 bytes
dc.format.extent637954 bytes
dc.format.extent352210 bytes
dc.format.extent447661 bytes
dc.format.extent523066 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleคุณลักษณะของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมงานนวัตกรรมen
dc.title.alternativeStudying some characteristics of change agents in communication of educational innovationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atinut_Bh_front.pdf438.41 kBAdobe PDFView/Open
Atinut_Bh_ch1.pdf604.09 kBAdobe PDFView/Open
Atinut_Bh_ch2.pdf623 kBAdobe PDFView/Open
Atinut_Bh_ch3.pdf343.96 kBAdobe PDFView/Open
Atinut_Bh_ch5.pdf437.17 kBAdobe PDFView/Open
Atinut_Bh_back.pdf510.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.