Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27756
Title: ผลของวิธีสอนมาตรฐาน ประเภทมโนทัศน์ เพศ และผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียนมโนทัศน์
Other Titles: Effects of teaching paradigm, concept type, sex and achievement on concept learning
Authors: อรอนงค์ สาราภรณ์
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของตัวแปรต่อไปนี้คือ วิธีสอนมาตรฐานประเภทมโนทัศน์ เพศ และผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อการเรียนมโนทัศน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสารวิทยา ปีการศึกษา 2520 จำนวน 160 คน แบ่งผู้รับการทดลองเป็น 2 กลุ่มๆละ 80 คน แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนชายและนักเรียนหญิงประเภทละ 40 คน และในแต่ละประเภทเป็นนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์สูง 20 คนและนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ 20 คน จัดสภาพการทดลองให้ผู้รับการทดลองกลุ่มหนึ่งเรียนมโนทัศน์ด้วยวิธีสอนมาตรฐานแบบเลือก ผู้รับการทดลองอีกกลุ่มเรียนมโนทัศน์ด้วยวิธีสอนมาตรฐานแบบรับ การทดลองนี้ทำในลักษณะคู่ขนานและสอนมโนทัศน์ 4 ประเภทคือ มโนทัศน์อย่างง่าย มโนทัศน์ร่วมลักษณะ มโนทัศน์สัมพันธ์ และมโนทัศน์แยกลักษณะแก่ผู้รับการทดลองเป็นรายบุคคล โดยใช้ภาพสิ่งเร้ารูปทรงเรขาคณิตระนาบที่บรูเนอร์และคณะ (Bruner and others) สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรด้วยวิธีวัดซ้ำหนึ่งตัวแปร (Multifactor Analysis of Variance – Repeated measures on one factor) โดยมีวิธีสอนมาตรฐาน ประเภทมโนทัศน์ เพศ และผลสัมฤทธิ์เป็นตัวแปรอิสระ จำนวนครั้งถึงเกณฑ์กำหนดในการเรียนมโนทัศน์แต่ละประเภทเป็นตัวแปรตาม การเปรียบเทียบจำนวนครั้งถึงเกณฑ์กำหนดในการเรียนมโนทัศน์ประเภทต่างๆ ใช้วิธีการของนิวแมน-คูลส์ (Newman-Keuls) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. การสอนมโนทัศน์ด้วยวิธีสอนมาตรฐานแบบเลือกทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วกว่าวิธีสอนมาตรฐานแบบรับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการเรียนมโนทัศน์ประเภทต่างๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่ระดับความยากในการเรียนมโนทัศน์แต่ละประเภทเพิ่มขึ้นตามลำดับดังนี้ มโนทัศน์อย่างง่าย มโนทัศน์ร่วมลักษณะ มโนทัศน์สัมพันธ์ และมโนทัศน์แยกลักษณะ 3. กิริยาร่วมระหว่างวิธีสอนมาตรฐานและประเภทมโนทัศน์มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่มโนทัศน์อย่างง่าย มโนทัศน์ร่วมลักษณะ และมโนทัศน์สัมพันธ์เรียนได้เร็วด้วยวิธีสอนมาตรฐานแบบเลือก ส่วนมโนทัศน์แยกลักษณะเรียนได้เร็วด้วยวิธีสอนมาตรฐานแบบรับ 4. นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์สูงเรียนมโนทัศน์ได้เร็วกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ผลการเรียนมโนทัศน์ของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of teaching paradigm, concept type, sex and achievement on concept learning. Subjects were 160 students in Mathayom Suksa IV and Mathayom Suksa V of Saravitaya School, academic year 1977. The subjects were divided in two groups each consisted of 40 males and 40 females. In each groups, half of the males and half of the females had high academic achievement and the other halves had low academic achievement. The two groups of subjects received different modes of concept teaching; namely a selection paradigm group and a reception paradigm group. The experiment had employed yoking procedure. Each subject learned 4 concepts; affirmation, conjunction, relational and disjunction individually. The stimulus material was constructed according to Bruner and others to study the concept learning. Multifactor Analysis of Variance - Repeated measures on one factor was used to analyze the data. Teaching paradigm, concept type, sex and achievement were independent variables whereas the number of trials to criterion was dependent variable. Newman – Keuls multiple comparisons were performed on the number of trials to criterion for learning different concept types. The results were: 1. The selection paradigm was more efficient than the reception paradigm for concept learning. (P< .01) 2. There was significant difference (P <.01) for learning different concept types. The increasing order of difficulty were affirmation, conjunction, relational and disjunction. 3. The paradigm by the different concept types interaction was significant. (P <.01) The selection paradigm was more efficient for learning affirmation, conjunction and relational whereas the reception paradigm was more efficient for learning disjunction. 4. High achievement students learned concepts more efficiently than low achievement students. (P <.01) 5. There was no significant difference (P <.O5) for concept learning between male and female students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27756
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Onanong_Sa_front.pdf482.64 kBAdobe PDFView/Open
Onanong_Sa_ch1.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Onanong_Sa_ch2.pdf633.46 kBAdobe PDFView/Open
Onanong_Sa_ch3.pdf520.17 kBAdobe PDFView/Open
Onanong_Sa_ch4.pdf617.91 kBAdobe PDFView/Open
Onanong_Sa_ch5.pdf345.93 kBAdobe PDFView/Open
Onanong_Sa_back.pdf635.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.