Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27782
Title: ความรับผิดในทางอาญาของผู้สนับสนุน
Other Titles: Criminal liability of the accessory
Authors: เอก อังสนานนท์
Advisors: ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตามหลักทั่วไปของประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน บุคคลจะต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตร 2 และรวมถึงบุคคลที่ร่วมในการกระทำความผิดฐานเป็นตัวการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 83 และยังมีกรณีที่ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดหรือที่เรียกว่าผู้ใช้ให้กระทำความผิดตามมาตร 84 หรือผู้โฆษณา หรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิดตามมาตร 85 ซึ่งแม้จะไม่ได้ร่วมกระทำความผิด แต่เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดกฎหมายก็บัญญัติให้รับโทษเสมือนเป็นตัวการ หากความผิดที่ใช้หรือโฆษณานั้นได้กระทำลง แต่สำหรับกรณีผู้สนับสนุนให้กระทำความผิดตามมาตร 86 ไม่ใช่ผู้ร่วมในการกระทำความผิดหรือเป็นผู้ก่อให้บุคคลอื่นกระทำผิดแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งยังไม่เป็นความผิดในตัวเองเป็นแต่เพียงการกระทำนั้นเป็นการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดเท่านั้น ลักษณะสำคัญของผู้สนับสนุนก็ยังไม่ถึงขั้นเป็นความผิดอาญาในตัวการกระทำของมันเอง เว้นแต่ในบางกรณีซึ่งการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นเห็นว่ามีความร้ายแรงถึงขนาด กฎหมายก็อาจบัญญัติให้เป็นความผิดฐานหนึ่งในตัวเอง เช่น ผู้ให้ความช่วยเหลือแก่อั่งยี่หรือซ่องโจร ตาม มาตรา 212 และ 214 หรืออาจจะบัญญัติให้รับโทษสูงขึ้นเท่ากับตัวการ เช่น ผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตร 111 เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าการกระทำของผู้สนับสนุนมีความสำคัญในการกระทำผิดอยู่มาก ประกอบกับสภาพของสังคมในปัจจุบันการก่ออาชญากรรมนับวันแต่จะทวีความรุนแรงและความซับซ้อนยิ่งขึ้นซึ่งก็จะต้องมีการให้ความช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการกระทำความผิดมากขึ้นตามไปด้วย จึงสมควรที่จะได้วิจัยถึงปัญหาของการเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดในการกระทำความผิดอาญาให้ชัดเจนและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อเอื้ออำนวยต่อการนำมาบังคับใช้ให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากหลักกฎหมายเกี่ยวกับการสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญามีหลักการและแนวความคิดแตกต่างไปจากเรื่องตัวการ ผู้ใช้ และผู้โฆษณา จึงเกิดการสับสนของผู้นำมาบังคับใช้อยู่หลายประการ เช่น 1. ในความหมายของคำว่า “อันเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดนั้น” มีความหมายเพียงใด 2. กรณีเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลในความผิดบางฐานอันมีผลต่อการวินิจฉัยบุคคลนั้นจะต้องรับผิดฐานเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุน เช่น ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ได้วินิจฉัยไว้ว่า บุคคลผู้ไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ได้ร่วมกระทำความผิดกับเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ถือว่า ผู้ร่วมกระทำความผิดเป็นเพียงผู้สนับสนุนไม่ใช่ตัวการ 3. ในความผิดอาญาบางฐานโดยสภาพของการกระทำจะถือว่าอาจมีการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกได้หรือไม่ เช่น การกระทำความผิดอาญาโดยประมาท และความผิดในการครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งวิเคราะห์ถึงปัญหาและทางแก้ไขของปัญหาที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ เพราะถ้าหากปัญหาดังกล่าวแจ่มชัดขึ้นผู้มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อติดตามผู้มีส่วนช่วยเหลือผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้สะดวกขึ้น แต่เนื่องจากความสนใจของผู้บังคับใช้กฎหมายในเรื่องผู้สนับสนุนยังมีน้อย ประกอบกับสภาพของการกระทำในการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกจะไม่ปรากฏพยานหลักฐานชัดเจนเท่ากับพยานหลักฐานในการกระทำผิดของผู้กระทำผิด จึงทำให้การดำเนินคดีต่อผู้สนับสนุนมีเพียงจำนวนน้อย เป็นเหตุให้ข้อเท็จจริงที่จะนำมาวิจัยเกี่ยวกับปัญหาผู้สนับสนุนนี้มีอยู่เพียงจำกัด ของเขตของวิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งวิจัยทางเอกสารเป็นหลักสำคัญ
Other Abstract: In accordance with general principles of current criminal law. A person must bear responsibility for an act which is deemed to be criminal at the time of its committal. This is stipulated in section 2 of the Thai Penal Code and encompasses he who is considered to be a principal in a crime, as provided for in section 83. There are also other instances where a person who causes another person to commit a crime is criminally responsible for the act, as stated in section 84 and advertisers may also be criminally responsible for other people’s actions in conformity with section 85, even though they may not have actually taken part in the actions concerned. In these situations, the one who causes others to act on his behalf is considered to be responsible whether in using others to undertake the actions or to advertise in a manner tantamount to a crime. As regards accessory provided for in section 86, who are not deemed to be jointly responsible for a crime or to have caused others to commit a crime, this is a situation where they are not criminally responsible per se but may be responsible due to the assistance or facilities rendered to a person committing a crime. The essential characteristic of accessory is that they are not deemed to be criminally responsible per se, except where the assistance or facilities rendered by them are of sufficient gravity. The law provides for such instances, e.g. those who assist exploiters and burglars in accordance with with sections 212. They may also be sentenced to a term equivalent to that of a principal in a crime, e.g. accessory who commit a crime against the King, the queen, the royal family, and those performing duties on behalf of the monarch, as provided in section 111. It is evident that the acts of accessory play an important role in crimes, especially if viewed in the context of present-day crimes which are becoming more serious and complicated. As may crimes are assisted or facilitated by accessory, it is appropriate to analyse the problem relating to them and criminal acts in order to clarify and scrutinize the situation. This may thus lead to greater scope for law enforcement. Because the law concerning accessory in crimes entails principles and practices which are different from those relating to principals, the person employing another to commit the offence and advertisers, this has given rise to some confusion, for instance the following : 1) What is the meaning derived from the phrase “ assisting or facilitating crimes committed by others, whether before or at the time of its committal such crimes” . ? 2) Various elements concerning the person committing the crime which may have bearing on an analysis of whether such person is to be considered as a principal or an accessory. In this respect, one decision of the Thai Supreme Court has established that where a person who is not an official performing a duty commits a crime with such official, the former is considered to be merely an accessory, not a principal in the crime. 3) Various grounds for a crime, in particular in relation to whether a person has assisted or facilitated it. This is exemplified by the problem concerning negligence in criminal acts and responsibility for carrying firearms without a licence. This thesis aims to analyse the problems and solutions relating to the above. It is thus hoped that if a study is undertaken, this may clarify the situation which may facilitate the work of those who have to enforce the law concerning accessory. However , it is a reality that law-enforcers are still not very interested in the problem of accessory. This is compounded by the lack of or insufficiency of evidence to prove the wrongdoing of the accessory, as compared with that of principals. This may thus lead to a smaller number of prosecutions against accessory. It is also a reason for the paucity of meterials which may affect this thesis. To accommodate this, the thesis in question concentrates on documentary research as its principal source of information.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27782
ISBN: 9745661686
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aek_An_front.pdf415.63 kBAdobe PDFView/Open
Aek_An_ch1.pdf339.56 kBAdobe PDFView/Open
Aek_An_ch2.pdf980.64 kBAdobe PDFView/Open
Aek_An_ch3.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Aek_An_ch4.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Aek_An_ch5.pdf407.19 kBAdobe PDFView/Open
Aek_An_back.pdf288.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.