Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28408
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาออกแบบสถาปัตยกรรมภาย ในสำหรับภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Other Titles: The development of learning-teaching model in the interior architecture course for the Department of Architecture, Faculty of Architecture, King Mongkut's Institute of Technology Chaokuntaharn Ladkrabang
Authors: อรรถพร เพชรานนท์
Advisors: ปิยะชาติ แสงอรุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาออกแบบสถาปัตยกรรมภายในสำหรับภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยตั้งสมมติฐานในการวิจัยว่ารูปแบบนี้จะใช้ในการการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้สอนและผู้เรียน ภาควิชาสถาปัตยกรรม มี 2 กลุ่ม คือ 1.ประชากรกลุ่มที่ใช้ในชั้นสำรวจสภาพและความต้องการด้านการเรียนการสอน 1.1 ผู้สอนรายวิชานี้และที่เคยผ่านการสอนรายวิชานี้มาแล้ว จำนวน 10 คน 1.2 ผู้เรียนชั้นปีที่ 2, 3, 4, จำนวน 100 คน ที่เคยผ่านการเรียนรายวิขานี้ 2.ประชากรกลุ่มที่จะทดลองใช้สอน คือ ผู้เรียนชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2530 จำนวน 30 คน ซึ่งไม่เคยเรียนรายวิชานี้มาก่อน ซึ่งการวิจัยประกอบด้วย 2 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ ขั้นสำรวจสภาพและความต้องการจากประชากรกลุ่มแรก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสร้างเป็นรูปแบบชั่วคราวขึ้น นำรูปแบบขั้นนี้ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและเสนอแนะความเหมาะสม แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข ใช้รูปแบบนี้สร้างรูปแบบการเรียนการสอนสำหรับหัวข้อ “สีและแสงในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน” เพื่อใช้ในขั้นต่อไป ขั้นการนำรูปแบบหน่วยนี้ไปทดลองใช้สอนกับประชากรกลุ่มที่ 2 ซึ่งผลการทดลองสอนพบว่าคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการนำรูปแบบไปทดลองใช้สอน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยที่ได้ก่อนการนำรูปแบบไปทดลองใช้สอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) แสดงว่ารูปแบบใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยทำให้ได้รูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน สำหรับภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและจะเป็นแนวทางในการพัฒนารายวิชาอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถาบันต่อไป
Other Abstract: The objective of this research was to develop the learning-teaching model in the interior architecture course for the Department of Architecture, Faculty of Architecture, King Mongkut’s Institute of Technology Chaokuntaharn Laddrababg. (KMITL) The research hypothesis was the use of this model significantly improved the instruction efficiency. The research population comprised the instructors and students of the Department of Architecture devided into two groups: 1.The surveying phase group which consisted of 1.1 ten instructors who had instructed this course, 1.2 one hundred (2nd, 3rd, and 4th year) students who had studied this course. 2. The experimental phase group which consisted 30 first year students of academic year 1987 who studied this course for the first time. There were 2 phases in this research procedure: Phase 1: A questionaire survey was conducted with the first group of population to find out about the present status and need to develop. The result of the data analysis was found out using arith-metic means and standard deviation and it led to the development of the temporary model. The model was reviewed by specialists whose comments gave basis for the revision and further improvement of the learning-teaching model for the topic “Color and Light in interior architecture design” Phase 2: The model was then experimented with the second group of the population. The experiment resulted that the group’s average score on the post-test was significantly higher than the group’s average score on the pre-test at the level of .05 under the t-test statistical technique, indicated that the use of this model significantly improved the instruction efficiency. The result of this research confirmed the expected benefit of the introduced learning-teaching model for the Department of Architecture, Faculty of Architecture, (KMITL) and it suggests the ways to develop other courses of similar nature in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28408
ISBN: 9745692268
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Athaporn_be_front.pdf5.41 MBAdobe PDFView/Open
Athaporn_be_ch1.pdf6.28 MBAdobe PDFView/Open
Athaporn_be_ch2.pdf51.57 MBAdobe PDFView/Open
Athaporn_be_ch3.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open
Athaporn_be_ch4.pdf9.41 MBAdobe PDFView/Open
Athaporn_be_ch5.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open
Athaporn_be_back.pdf21.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.