Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28414
Title: | ทางปฏิบัติในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาของไทย |
Other Titles: | Revision of treaties in the practice of Thailand |
Authors: | อรรถพร จรจำรัส |
Advisors: | ชุมพร ปัจจุสานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้จุดมุ่งหมายเพื่อแสดงถึงปัญหาในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาของไทยทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับในประเทศ ซึ่งถึงแม้ในปัจจุบันสังคมระหว่างประเทศจะมีความเสมอภาคสูงขึ้น แต่ประเทศไทยก็ยังอยู่ในฐานะเสียเปรียบประเทศมหาอำนาจหรือบางประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง จึงเป็นเหตุให้ต้องเสียเปรียบในการทำสนธิสัญญาไปด้วย โดยในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศถือว่าตามหลักกฎหมายว่าด้วยสนธิสัญญา (Law of Treaties) รัฐจะอ้างความขัดข้องตามกฎหมายภายในของตนเป็นสาเหตุจะไม่ปฏิบัติตามพันธะกรณีระหว่างประเทศไม่ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแก้ไขหรือยกเลิกสนธิสัญญานั้นๆ ให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศไทย ผลจากการวิจัยครั้งนี้พบว่าจากหลักกฎหมายที่ว่า "เมื่อได้สัญญาไว้อย่างใดก็ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น" (pacta sunt servanda) ซึ่งเป็นผลให้มีหลักการระดับรากฐาน (fundamental principle) ว่าการแก้ไขหรือยกเลิกสนธิสัญญาจะกระทำได้โดยการยินยอมของภาคีทุกฝ่ายเท่านั้น เว้นแต่กรณีจะเข้าข่ายหลักกฎหมายที่เป็นข้อยกเว้นของหลักการดังกล่าว เช่น หลักทางปฏิบัติต่อมาของคู่ภาคี (subsequent conduct) หลัก clausula rebus sic stantibus หลักอำนาจของ ฝ่ายที่ชนะสงคราม (debellatio) และหลัก lex postiori derogat priori เป็นต้นแต่กรณีของประเทศไทยการที่จะเจรจาต่อรองให้ภาคีฝ่ายที่ได้เปรียบอย่างมากจากสนธิสัญญา ยอมสละความได้เปรียบนั้นเป็นเรื่องยากมาก เพราะปัจจัยสำคัญที่สุดในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาก็คือ "อำนาจต่อรอง" (bargaining power) ระหว่างคู่ภาคี |
Other Abstract: | This study was aimed to identify problems concerning 'revision of treaties in the practice of Thailand' at both international and domestic levels. Although, at present, social atmosphere between countries shows a more balanced acceptions of rights; Thailand still has a disadvantage position against the so-called power countries in many respects such as economics, politics, and security. Hence Thailand is always an underdog when making treaties. In international relationship, Law of Treaties is observed, thus a state can not hold problems by municipal law as reasons not to comply by inter-state obligations. It is so recommended that amendments or abrogations to those treaties are made for Thailand to gain its benefits. It was found that in the 'pacta sunt servanda' law there is a fundamental principle controling amendments and abrogations of treaties. It is laid out that such improvements can be made only when consents from all concerned parties are received, except when it comes to laws of exceptions clearly mentioned in the principle such as law of subsequent conduct, rule of 'clausula rebus sic stantibus', rule of 'debellatio', and rule of 'lex postiori derogat priori'. In Thailand's case it is extremely difficult to negotiate with the party who has advantages over treaties to let go of its bebefit because the most important factor to make possible the revision of any treaties is the 'bargaining power' between the parties. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28414 |
ISBN: | 9745792233 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Attaporn_jo_front.pdf | 4.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Attaporn_jo_ch0.pdf | 7.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Attaporn_jo_ch1.pdf | 27.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Attaporn_jo_ch2.pdf | 30.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Attaporn_jo_ch3.pdf | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Attaporn_jo_back.pdf | 44.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.