Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28430
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตติ ลิ่มสกุล-
dc.contributor.authorศรัณยา ศรีรัตนะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-01-14T09:42:40Z-
dc.date.available2013-01-14T09:42:40Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745816345-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28430-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en
dc.description.abstractอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศได้สูงเป็นอันดับหนึ่งในภาคบริการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศเกิดขึ้นจาก ผลคูณของค่าใช้จ่าย เฉลี่ยต่อคนต่อวัน กับระยะเวลาพำนักเฉลี่ยคูณกับจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวทั้งหมด ดังนั้น หากมีตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายเฉลี่ย และระยะเวลาพาพักเฉลี่ย อาจจะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่มากก็น้อย การศึกษานี้ต้องการหาปัจจัยที่มีผลกำหนดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของวันพำนักเฉลี่ย และค่าใช้จ่าย เฉลี่ย เพื่อที่จะทำการศึกษาถึงปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการใช้จ่าย และระยะเวลาพำนักของนักท่องเที่ยวชาวต่างประ เทศ การศึกษาได้ทำการทดสอบสมมติฐานว่า รายได้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างประ เทศ เพศ อายุ สัญชาติ จุดประสงค์ที่มา อาชีพ และต้นทุนต่อหน่วยในหมวดสำคัญๆ ทั้ง 5 หมวด มีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญหรือไม่เพียงใด และข้อมูลที่ใช้ได้จากการสุ่มข้อมูลจากฐานข้อมูลของการท่อง เที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นจำนวน 400 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ด้วยขบวนการถดถอยพหุ ได้ผลสรุปดังนี้ผลการวิ เคราะห์ปัจจัยที่กำหนดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาพำนักของนักท่องเที่ยวชาวต่างประ เทศ พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่อง เที่ยวได้แก่ รายได้ของนักท่อง เที่ยวในกลุ่มที่ 3 คือ นักท่องเที่ยวที่มีรายได้มากกว่า US$ 10,000 ต่อปี สัญชาติของนักท่อง เที่ยวในกลุ่มที่ 2 คือนักท่องเที่ยวจากอเมริกาเหนือ และวัตอุประสงค์ที่มาซึ่งปัจจัย เหล่านี้มีผลต่อค่าใช้จ่าย เฉลี่ยในทางบวก หมายความว่า ถ้าปัจจัย เหล่านี้เพิ่มขึ้นจะมีผลให้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่อง เที่ยวเพิ่มขึ้นด้วย ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวต่างประ เทศได้แก่ สัญชาติของนักท่องเที่ยวในกลุ่มที่ 3 คือ นักท่องเที่ยวจากเอเชียและแปซิฟิก จากการศึกษาพบว่า อาชีพของนักท่องเที่ยว มี 2 กลุ่มด้วยกันมีอิทธิพลในการกำหนดระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยว ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชนและแม่บ้าน ในส่วนปัจจัยเรื่องวัตถุประสงค์ที่มาและต้นทุนต่อหน่วยในหมวดสำคัญๆ 2 หมวดด้วยกัน ต้นทุนต่อหน่วยในหมวดค่าที่พักและต้นทุนต่อหน่วยในหมวดค่าซื้อสินค้าที่ระลึก โดยที่ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของนักท่อง เที่ยว หมายความว่าถ้าปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปจะมีผลทำให้ระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งเมื่อได้ผลดังกล่าวแล้ว เราก็สามารถนำผลของปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดค่าใช้จ่าย และระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ต่อไป-
dc.description.abstractalternativeTourism industry has played an important role to Thailand's economic development. Tourism income was the first ranking of foreign currency income since 1982 until now. Tourism income calculated by the multiplication of average expenditure per person per day, length of stay and total number of tourists. Therefore, the change of average expenditure and length of stay will effect tourism income. This study will find out the factors indicating the average expenditure and length of stay of foreign tourists in order to explain the causes of the change of the average expenditure and length of stay. The hypothesis of this research are that income from foreign tourists, sex, age, nationality, objectives of visiting, occupation and cost per unit of 5 major categories of expenditure significantly explain the behavior of the average expenditure and length of stay of foreign tourists. 400 random samples were collected from the information base of Tourism Authority of Thailand. This, research was analyzed by multiple regression. From the study, the factors that indicate the average expenditure are annual income above US$10,000 per year, tourists from North American and objectives of visiting. These factors positively affect the average expenditure of foreign tourists. Thus, if these factors increase, the foreign tourists' expenditure will increase. Moreover, the factors significantly explaining the length of stay of foreign tourists being from Asia and Pacific, working in private sector or as a housewife, objectives of visiting and cost per unit of accommodation and shopping. In addition, the result from this research can be used as a guideline to promote tourism industry in the future.-
dc.format.extent7036725 bytes-
dc.format.extent17662771 bytes-
dc.format.extent12146143 bytes-
dc.format.extent7312617 bytes-
dc.format.extent54421839 bytes-
dc.format.extent4455852 bytes-
dc.format.extent21043225 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการใช้จ่ายและระยะเวลาพำนัก ของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศen
dc.title.alternativeA study on the determination of international tourists' expenditure pattern and length of stayen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saranya_si_front.pdf6.87 MBAdobe PDFView/Open
Saranya_si_ch1.pdf17.25 MBAdobe PDFView/Open
Saranya_si_ch2.pdf11.86 MBAdobe PDFView/Open
Saranya_si_ch3.pdf7.14 MBAdobe PDFView/Open
Saranya_si_ch4.pdf53.15 MBAdobe PDFView/Open
Saranya_si_ch5.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open
Saranya_si_back.pdf20.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.