Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28446
Title: จุลพยาธิสภาพของเหงือก ตับและไตในปลากระดี่หม้อ Trichogaster trichopterus และปลาตะเพียน Puntius gonionotus ในพื้นที่เกษตรกรรมคลอง 7 จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Histopathological alteration of gill, liver and kidney of three-spotted gouramy Trichogaster trichopterus and common silver barb Puntius gonionotus at Klong 7 agriculture area, Pathum Thani Province
Authors: วันทนีย์ ศรีจันทร์
Advisors: กิ่งแก้ว วัฒนเสริมกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: kingkaw.w@chula.ac.th
Subjects: ปลากระดี่หม้อ
ปลาตะเพียน
เหงือก -- จุลพยาธิวิทยา
ตับ -- จุลพยาธิวิทยา
ไต -- จุลพยาธิวิทยา
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเหงือก ตับ ไต ในปลากระดี่หม้อและปลาตะเพียน และปริมาณตกค้างของสารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน ในพื้นที่เกษตรกรรมคลอง 7 จังหวัดปทุมธานี และศึกษาความเป็นพิษกึ่งเรื้อรังของสารเอนโดซัลแฟนความเข้มข้น 0.1 0.2 0.5 และ 0.8 ppb เป็นระยะเวลา 1 เดือนต่อเนื้อเยื่อเหงือก ตับและไตของปลากระดี่หม้อและปลาตะเพียนในห้องปฏิบัติการ เก็บตัวอย่างน้ำและปลาทั้ง 2 ชนิดตั้งแต่เดือน เมษายน กรกฎาคม ตุลาคม พ.ศ. 2550 และเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นตัวแทนของฤดูแล้งและฤดูฝน ศึกษาเนื้อเยื่อจากสไลด์ถาวร และวิเคราะห์ปริมาณการตกค้างของสารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน 17 ชนิดในน้ำ ปลากระดี่หม้อและปลาตะเพียนโดยวิธีแก๊สโครมาโตกราฟ การศึกษาพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อเหงือก ตับและไตของปลาทั้ง 2 ชนิด ในคลอง 7 พบการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกัน มีการเพิ่มจำนวนเซลล์เยื่อบุผิวของกิ่งเหงือก ทำให้เกิดการเชื่อมกันของซี่เหงือก เซลล์เยื่อบุผิวของซี่เหงือกแยกตัวหลุดลอก พบการคั่งของเซลล์เม็ดเลือดแดงในไซนูซอยด์ และพบการบวมพองของกิ่งเหงือก เนื้อเยื่อตับพบการสะสมของแวคิวโอลและไฮยาลินแกรนูลในเซลล์ตับเกิดการคั่งของเลือดในไซนูซอยด์และหลอดเลือด เซลล์ตับตายเป็นหย่อมๆและกระจายทั่วไป และมีการแทรกซึมของเซลล์เม็ดเลือดขาว เนื้อเยื่อไตพบการหดตัวของโกลเมอรูลัสและมีเม็ดเลือดแดงอัดแน่น เซลล์ท่อไตมีช่องว่างภายในและพบการตายของเซลล์ปลากลุ่มทดลองที่ได้รับสารเอนโดซัลแฟนที่ความเข้มข้นสูง 0.5 และ 0.8 ppb พบการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเช่นเดียวกันกับปลาจากคลอง 7 สรุปได้ว่าน้ำที่ปนเปื้อนสารในพื้นที่เกษตรกรรมคลอง 7 ทำให้เกิดพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อปลา โดยปลากระดี่หม้อมีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพมากกว่าปลาตะเพียน จากการวิเคราะห์ทางเคมีพบเอนโดซัลแฟนและอนุพันธุ์ของเอนโดซัลแฟน ตกค้างในน้ำ 0.004 - 0.021 ppb ซึ่งมีค่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาก่อนหน้านี้ แสดงถึงปริมาณการใช้ที่ลดลงอันเนื่องมาจากการประกาศห้ามใช้สารชนิดนี้ตั้งแต่พ.ศ. 2547 โดยมีปริมาณสารพิษตกค้างในระดับไม่เกินความเข้มข้นสูงสุดของสารเอนโดซัลแฟนที่สามารถมีในแหล่งน้ำโดยไม่เกิดอันตรายแก่สัตว์น้ำตามมาตรฐานของ U.S.EPA (1994) คือ 0.22 ppb พบการตกค้างของสารออร์กาโนคลอรีนหลายชนิดในตัวอย่างปลาซึ่งมีปริมาณสะสมมากกว่าที่พบในตัวอย่างน้ำ 100 เท่า และพบปริมาณที่ตกค้างทั้งในตัวอย่างน้ำและปลามากน้อยขึ้นกับฤดูกาลในการทำเกษตรกรรม
Other Abstract: Histological alteration of the gill, liver and kidney of the three-spotted guaramy and Thai silver barb and the concentration of organochlorine pesticide residual in water and fish tissue at Klong 7 agricultural area, Pathum Thani Province and subchronic toxicological test with endosulfan at level 0.1, 0.2, 0.5 and 0.8 ppb for 1 month in laboratory were studied. Water and tissue samples in April, July, October 2006 and January 2007 represented to summer and rainy season were collected. Histological alteration was studied on H&E staining permanent slides preparation and the analyses of 17 organochlorine compounds in water and fish samples were conducted by Gas-chromatography. Histopathological alteration of these fish exhibited similar histophatological changes. Histopathological changes in gill were hyperplasia of 1[degree] gill lamellae, epithelial lifting, congestion in sinusoid and talengietacia. Histopathological alterations of liver were accumulation of vacuoles and hyalin granules, congestion in blood vessel and sinusoid, foci and diffuse necrosis and lymphocyte infiltration. Kidney alterations were shrinkage of glomerulus, vacuole accumulation in renal tubular cell, necrosis of renal tubular cell. Fish treated in high dose with endosulfan 0.5 and 0.8 ppb showed histological alteration at the same level with fish collected from klong 7. It could be concluded that water in klong 7 has effects on histopathological changes. Three-spotted guaramy has more degree of severity than the Thai silver barb. From chemical analysis, residual concentration of endosulfan and its derivatives were 0.004 - 0.021 ppb which lower than previous study. These results indicated that the used of endosulfan has been low in this area due to the banning in 2004 and did not exceed the Maximum Allowable Concentration of endosulfan in drinking water standards by U.S.EPA(1994) which was 0.22 ppb. However, most organochlorine pesticide residues in the fish tissues were more than 100 times of the amount in water samples.These residues found in samples related to seasonal of agricultural activity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28446
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.705
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.705
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wantanee_sr.pdf4.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.