Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28457
Title: สัณฐานวิทยา การขัน และการใช้พื้นที่ของไก่ป่าตุ้มหูแดงในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
Other Titles: Morphology, calling and habitat utilization of the Red Junglefowl Gallus gallus spadiceus in Huai Kha Kaeng Wildlife Breeding Station, Uthai Thani province
Authors: สุทธิพงศ์ อาศิรพจน์
Advisors: วีณา เมฆวิชัย
ไสว วังหงษา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Wina.M@Chula.ac.th
zsawai1962@hotmail.com
Subjects: สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ไก่ป่าตุ้มหูแดง -- สัณฐานวิทยา
ไก่ป่าตุ้มหูแดง -- ไทย -- อุทัยธานี
ไก่ป่าตุ้มหูแดง -- พฤติกรรม
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาสัณฐานวิทยาของไก่ป่าตุ้มหูแดง (Gallus gallus spadiceus) ในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550 ถึง เดือนสิงหาคม 2551 การศึกษาสัณฐานวิทยาของไก่ป่าตุ้มหูแดงเพศผู้ช่วงนอกฤดูสืบพันธุ์ และช่วงฤดูสืบพันธุ์ พบความแตกต่างดังนี้ช่วงนอกฤดูสืบพันธุ์ (เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) ขนไก่ป่าตุ้มหูแดงเพศผู้มีขนคอ สั้นสีดำ แต่ในฤดูสืบพันธุ์ขนคอของไก่ป่าตุ้มหูแดงมีลักษณะยาวสีเหลืองทอง สำหรับการศึกษาสัณฐานวิทยาเปรียบเทียบศึกษาระหว่างไก่ป่าตุ้มหูแดงเพศผู้และเพศเมียจำนวน 10 ลักษณะ พบว่าไก่ป่าเพศผู้มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาแตกต่างจากเพศเมียทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยาระหว่างเพศผู้ในไก่ป่าตุ้มหูแดง ไก่ป่าลูกผสม และไก่พื้นบ้าน พบว่ามีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ใน 4 จาก 7 ลักษณะ ได้แก่ ความยาวนิ้วกลาง ความยาวจะงอยปาก ความยาวจากปาก-ท้ายทอย และน้ำหนัก และสัณฐานวิทยาระหว่างเพศเมียในไก่ป่าตุ้มหูแดง และไก่พื้นบ้าน มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ใน 4 จาก 7 ลักษณะได้แก่ ความยาวจะงอยปาก ความยาวปีก ความยาวเล็บ และน้ำหนัก การศึกษาการขันของไก่ป่าตุ้มหูแดง เริ่มศึกษาตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2550 จนถึงเดือน สิงหาคม 2551 พบว่าตลอดช่วงเวลาที่ศึกษาไก่ป่าตุ้มหูแดงมีการขันมากที่สุดในช่วงฤดูสืบพันธุ์ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคม การศึกษาการขันในระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนพฤษภาคม 2551 พบว่าไก่ป่าตุ้มหูแดงมีการขันมากที่สุดในเดือนมีนาคมคิดเป็นร้อยละ 29 จากจำนวนไก่ป่าตุ้มหูแดงที่ศึกษา 21 ตัว สำหรับในช่วงวันพบว่าไก่ป่าตุ้มหูแดงมีความถี่การขันมากที่สุดในช่วงเช้าคิดเป็นร้อยละ 49 จากไก่ป่าตุ้มหูแดงจำนวน 2 ตัว นอกจากนั้นยังพบว่าใน ช่วงเช้าไก่ป่าตุ้มหูแดงมีความถี่ในการขันมากที่สุดในช่วงเวลา 20 นาทีก่อนพระอาทิตย์ขึ้นคิดเป็นร้อยละ 33 จากเสียงขันทั้งหมด 685 ครั้ง และการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขันโดยพบว่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเข้มแสง มีความสัมพันธ์กับความถี่การขันของไก่ป่า การศึกษาลักษณะเสียงขันของไก่ป่าตุ้มหูแดง ไก่ป่าตุ้มหูขาว และไก่ชน ชนิดละ 3 ตัว พบว่าลักษณะเสียงขันไก่ป่าตุ้มหูแดง มีความแตกต่างจากไก่ป่าตุ้มหูขาว และไก่ชน เมื่อทดสอบแต่ละคู่โดยใช้สถิติ Mann-Whitney U-Test โดยมีความแตกต่างกันที่ เวลาของพยางค์ที่ 2 และ ค่าความถี่ต่ำสุดของพยางค์ที่ 2 และ พยางค์ที่ 4 การศึกษาพื้นที่ครอบครองและการใช้พื้นที่ของไก่ป่าตุ้มหูแดงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550 ถึง เดือนสิงหาคม 2551 ในพื้นที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี จากการติดวิทยุติดตามตัวไก่ป่าเพศผู้จำนวน 3 ตัว และตัวเมีย 2 ตัวพบว่าพื้นที่ครอบครองของไก่ป่าตุ้มหูแดงเพศผู้และเพศเมีย (95% minimum convex polygon) มีค่าเท่ากับ 0.0303±0.012 ตารางกิโลเมตร.และ 0.024±0.018 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ ไก่ป่ามีกิจกรรมมากที่สุดในช่วงเช้า และรองลงมาคือในช่วงเวลาเย็น โดยกิจกรรมหลักของไก่ป่าคือการหาอาหาร นอกจากนั้นยังพบว่าไก่ป่ามีพฤติกรรมการรวมกลุ่มในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ไก่ป่าตุ้มหูแดงเลือกใช้พื้นที่ 4 แบบหลักๆ ได้แก่ ป่าทุติยภูมิ (secondary forest) ป่าเต็งรัง (dry dipterocarp forest) ป่าไผ่ และพื้นที่เกษตรกรรม การใช้พื้นที่ของไก่ป่าพบว่ามีความสัมพันธ์ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ การรบกวนจากมนุษย์ และความชุกชุมของอาหาร
Other Abstract: The morphological studies of Gallus gallus spadiceus were carried out at Huai Kha Khaeng Wildlife Breeding Station, Uthai Thani Province, Thailand during July 2007 to August 2008. The studies were descriptive morphology of feather and morphometric. This studied was concentrated on only male Red Junglefowl. The results show that coloration of male’s feather in breeding season was remarkably different from non-breeding season. In early non breeding season (June – August) neck feather were shortly and black but in breeding season neck feather were long and yellow-gold. In morphometrics of ten measurements were taken on both male and female, the show that average of all size in male were longer than female. When compare that morphometric characters among of G. g. spadiceus, hybrid fowls and domestic fowls, we found in male 4 out of 7 characters were significantly different (p<0.05) including toe length, bill length, bill-nape length and weight, whereas in female there were significantly different (p<0.05) in 4 out of 7 characters including bill length, wing length, claw length and weight. The study of vocalization in G. g. spadiceus show that the highest frequency of crowing occurred during breeding season from November to May. During breeding season, it is found that the highest frequency of crowing was in March (29%) (n=21). The highest crowing frequency of a whole day was in the morning during 06:00-09:00 (49%) (n=2) and the highest frequency of morning crowed was during 20 minute before dawn (n=685). Moreover, from the physical analysis showed the crowing frequency were correlated to temperature, humidity and light intensity. The vocalization characteristics of Red Junglefowl including G. g. spadiceus, G. g. gallus and G. g. domesticus (domestic fighting cock) were significantly different in both of total time of crowing of second syllable and lower frequency of second and forth syllable (Mann-Whitney U-Test). Home range sizes and habitat utilization of Gallus gallus spadiceus were studied at Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, Uthai Thani Province, Thailand from July 2007 – August 2008. A total of five G. gallus spadiceus, consisting of three adult males and two adult females was radio-tracked. The median annual home ranges of adult males and females (95% minimum convex polygon) were 0.0303±0.012 and 0.024±0.018 km2 respectively. In daily activities of G. g. spadiceus had highest activity in morning (after dawn until 10 AM.). G. gallus spadiceus utilized 4 habitat types; secondary forest, dry dipterocarp forest, bamboo forest and agricultural area. In the rainy season (May – October), adult red jungle fowls often used secondary forest and dry dipterocarp forest whereas in the dry season (November-April), they more often used bamboo forest, secondary forest and agricultural area. Furthermore, based on Canonical Correspondence Analysis (CCA) the territories of G. g. spadiceus were dependent on biological factors (predation risk and human disturbance) and food abundance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28457
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.181
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.181
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutipong_ar.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.