Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28707
Title: การทำงานบำรุงรักษาระบบประกอบอาคารโดยช่างประจำอาคารในอาคารขนาดใหญ่พิเศษ
Other Titles: Practices of engineering operations and maintenance in large buildings : a study of five major service
Authors: สิทธิพร อิสระศักดิ์
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th
Subjects: อาคาร -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
การจัดการอาคาร
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทำงานบำรุงรักษาเป็นการดำเนินการรักษาระดับประสิทธิภาพของระบบประกอบอาคารให้มีความพร้อมใช้อยู่ตลอดเวลา เป็นงานที่มีความสำคัญและจำเป็น ทั้งนี้หากอาคารขาดการบำรุงรักษาที่ดี จะนำมาซึ่งการสะดุด ติดขัด อาจทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยน ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนทดแทน ก่อนช่วงเวลาที่ควรจะเป็น อาคารขนาดใหญ่จึงมักจัดจ้างบริษัทผู้ชำนาญในการดำเนินการบำรุงรักษาประจำอาคาร (Operation & Maintenance) จึงทำให้ผู้รับบริการจึงควรเข้าใจในรูปแบบและลักษณะของการให้บริการงานบำรุงรักษา การศึกษานี้จึงเป็นการศึกษาแนวทางในการทำงานบำรุงรักษาของช่างประจำอาคาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทำงานบำรุงรักษาประจำวันโดยช่างประจำอาคารว่ามีความแตกต่างกันกันอย่างไร โดยรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เพื่อบันทึกการทำงานบำรุงรักษาโดยช่างประจำอาคาร ดำเนินการศึกษาแบบกรณีศึกษา ในลักษณะของงานวิจัยเชิงประจักษ์ โดยใช้กรอบแนวคิดในการศึกษาการทำงานเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล จากบริษัทผู้ให้บริษัทการงานบำรุงรักษาประจำอาคาร 5 บริษัท ใน 5 อาคาร จากการศึกษาพบว่า การทำงานบำรุงรักษา โดยช่างประจำอาคาร เป็นการทำงานที่ต้องทำเป็นประจำ และสม่ำเสมอ ซึ่งการทำงานบำรุงรักษา เป็นลักษณะของการทำงานตามแผนงาน และมีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ซึ่งการทำงานบำรุงรักษาจะแตกต่างกันตามประเภทของแผนการทำงาน ตามรอบของการบำรุงรักษาระบบประกอบอาคารนั้นๆ การทำงานบำรุงรักษามีภาระงการทำงานที่แตกต่างกันออกไปตามการจัดชุดการทำงาน ในระดับปฏิบัติงาน หรือช่างประจำอาคาร ดังนั้น การทำงานในแต่ละช่วงเวลาประจำวัน จึงการเลือกงานมาจากการตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงาน แต่ในการทำงานบำรุงรักษา ซึ่งเป็นการทำงานตามแผนงานประจำวัน จะพบปริมาณงานนอกเหนือจากแผนงาน เช่น งานแจ้งซ้อมจากผู้ใช้อาคาร ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อาคารจึงมีความสำคัญและจำเป็น ในการให้บริการเป็นอันดับแรก จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การจัดการรูปแบบการทำงานบำรุงรักษาประจำวัน มีแนวทางในการจัดรูปแบบชุดช่างประจำอาคารที่แตกต่างกัน โดยพบ 2 รูปแบบ คือ แบ่งชุดการทำงานตามประเภทของระบบประกอบอาคาร และตามประเภทของการทำงาน และแบ่งระดับช่างที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ หัวหน้าช่าง ช่างเทคนิคอาวุโส และช่างเทคนิค รูปแบบดังกล่าวสนับสนุนการทำงานตามแผนงานที่มีการวางแผนไว้เท่านั้น ซึ่งปริมาณงานตามแผนงานมีความสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนเครื่องจักรในอาคาร ดังนั้น การทำงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันจึงสามารถจัดอยู่ในแผนงานได้ แต่หากเกิดการชำรุด สะดุด ติดขัด ต้องทำการซ่อมแซม งานดังกล่าวมักเป็นงานนอกเหนือจากแผนงานและมีปริมาณมาก จึงส่งผลกระทบโดยต่อการทำงานบำรุงรักษาตามแผน จากจำนวนช่างที่มีอยู่จำกัดและไม่เพียงพอต่อการทำงานในแต่ละวัน ดังนั้น การจัดสรรกำลังคนในแต่ละรอบการทำงานในแต่ละวันจึงมีความสำคัญ เพราะฉะนั้น การทำงานบำรุงรักษาประจำวันควรมีการจัดการงานให้สอดคล้องกับระยะเวลาการใช้งานอาคาร ขนาดของอาคาร การจัดรูปแบบการปฏิบัติงาน ปริมาณงานในแต่ละรอบการทำงานประจำวัน ที่เหมาะสมและสอดคล้องต่อการใช้งานอาคารในแต่ละช่วงเวลา การจัดการลำดับงานประจำวันดังกล่าว ผู้ปฏิบัติงานมักเป็นผู้ตัดสินใจเองในแต่ละงานประจำวัน อ้างอิงจากตารางการทำงาน เว้นแต่ว่ามีหัวหน้าช่างประจำอาคารค่อยกำกับดูแล ควบคุม และมอบหมายการทำงานต่อช่างประจำอาคาร ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดโครงสร้างการทำงาน ในการทำงานบำรุงรักษาประจำวันของช่างประจำอาคารทั้งสิ้น ผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่า การทำงานบำรุงรักษาระบบประกอบอาคารโดยช่างประจำอาคาร มีรูปแบบในการจัดชุดการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ตามการจัดโครงสร้างของหน่วยงานบำรุงรักษา โดยการจัดกำลังผู้ปฏิบัติในแต่ละรอบการทำงาน ที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับช่วงเวลาการเปิดใช้อาคาร ซึ่งนอกเหนือจากงานตามแผนงานแล้ว ปริมาณการทำงานประจำวันที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการทำงานของระบบประกอบอาคารที่ไม่เกิดให้เกิดความพึงพอใจต่อการใช้งาน ซึ่งปริมาณงานดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับประเภทของการใช้งานอาคารที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การจัดการรูปแบบการทำงานของช่างประจำอาคาร และการจัดสรรกำลังคนเพื่อให้เหมาะสมและรองรับกับปริมาณงานประจำวันจึงแตกต่างกันออกไป สำคัญที่การจัดการการทำงานของช่างประจำอาคารงานให้เหมาะสมกับการทำงานจริง
Other Abstract: Maintenance is an essential and important work in sustaining performance of a building. Recently, a number of large buildings has turned to appoint a specialized team of technician to overtake tasks of building’s engineering operations and maintenance (O&M). This sort of team is responsible for all routine and daily technical or hard services. This study was undertaken to explore the O&M practices of five major O&M service companies in Bangkok. In doing so, five large buildings commissioning those companies were chosen to case studies. Main data collection methods used in this study included on-site observation of daily practices and semi-structured interviews with key persons, supplemented with relevant documents and records. The study found that each O&M service provider implemented different working regime and program of services. Based on the analysis of manpower management and service schedule, The responsibilities are different according to the work programs at the operational level or to the building's technicians. The patterns of routine work , preventive maintenance ,operation and service were found. The research found that there are two approaches in organizing routine maintenance work by a building's technicians. There are three levels of the maintenance office which are supervisor senior technician and technician. Different level has a different role. However, priorities assigned to works were likely to be subject to judgment of operator or supervisor. In following, this resulted in causing manpower of programmed schedule. The largest number of the office in the operation & maintenance unit is doer level. Work programs may be separated according to the types of building component systems or according to the type of work. The amount of the work plan are directly related to the number of machines in the building. Consequently, in the case where there is a lot of unplanned work outside the plan, the extra work will directly affect the planned maintenance. This is because there are not enough technicians. Finally, it was concluded that the format of O&M works was related to period of time of building use, building size, building type and the scope of service requirements. In turn, the study suggested that in order to achieve the best result the format of routine engineering operations and maintenance should be designed to fit those key factors.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28707
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1555
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1555
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sittiporn_is.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.