Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28718
Title: การกำหนดดุลยภาพอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศไทย : ศึกษาในเชิงทางการเงิน
Other Titles: Equilibrium exchange rate determination in Thailand : a monetary approach
Authors: วันชัย สิทธิผลกุล
Advisors: ชวนชัย อัชนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นับตั้งแต่เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการเงินระหว่างประเทศในช่วงทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา ประเทศต่างๆ เริ่มใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวทำให้ค่าของ เงินในระบบการเงินระหว่างประเทศมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศจึงได้พยายามศึกษาวิธีในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศที่ได้ดุลยภาพเพี่อ เป็นแนวทางในการกำหนดค่าเงินของตนกับต่างประ เทศไม่ว่าจะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนประ เภทใดก็ตาม โดยมีแนวความคิดในการกำหนดแบบจำลองค่าของเงินที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งแนวทางการศึกษาออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ การศึกษาตามแนวความคิดด้าน Traditional Flow Model ด้าน Monetary Model และด้าน Portfolio Balance Model สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาขนาดเล็กที่พึ่งพาการพัฒนาจากต่างประ เทศค่อนข้างมากทั้งในด้านสินค้าทุนและเงินทุนจากต่างประ เทศ ดังพิจารณาได้จากปริมาณมูลค่าการค้ากับต่างประเทศเทียบกับมูลค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (GDP) อยู่ในอัตราส่วนค่อนข้างสูง ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นการกำหนดค่าเงิน หรือการเลือกดำเนินนโยบายระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบใดก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อการทำธุรกรรมกับต่างประ เทศ ซึ่งมีผลเชื่อมโยงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างสำคัญ และก็ได้มีการ เปลี่ยนแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยนอยู่เป็นระยะให้สอดคล้องกับสภาพที่ควรจะเป็นเพี่อรักษาสถานะภาพในด้านดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศไว้ ดังนั้นปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะเลือกกำหนดค่า เงินบาทเป็นเท่าใด ซึ่งในการศึกษานี้จะได้ศึกษาถึงค่าของ เงินบาทที่ได้ดุลยภาพในรูปของค่าเงินบาทต่อ 1 หน่วยสกุลเงินตราต่างประเทศของกลุ่มประเทศที่มูลค่าการค้ากับประเทศมากเป็น 10 อันดับแรก โดยใช้วิธีการคำนวณแบบค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักนำเข้า (Import Weight) ซึ่งจะให้ค่าของอัตราแลก เปลี่ยนเฉลี่ย (Effective Exchange Rate) ที่ใกล้เคียงกับค่าที่คำนวณจากการถ่วงน้ำหนักแบบ MERM Weight ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณที่ยุ่งยาก เพราะได้คำนึงถึงปัจจัยด้านต่างๆ ที่สำคัญกับการทำธุรกรรมกับต่างประเทศมากขึ้น โดยจะนำผลการคำนวณดังกล่าวไปเชื่อมโยงกับแบบจำลองการกำหนดค่า เงินตามแนวความคิดทางการเงินที่มีพื้นฐานมาจากหลักการเปรียบเทียบอำนาจกำลังซื้อระหว่างประเทศ (Purchasing Power Parity) และหลักการปริมาณเงินซึ่งในที่สุดจะได้แบบจำลองกำหนดค่าดุลยภาพอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ ที่สัมพันธ์กับตัวแปรปริมาณเงิน รายได้ที่แท้จริง อัตราคอกเบี้ย เปรียบเทียบแบ่งการศึกษาดังกล่าวออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงปี 2516 - 2522 และ 2513 - 2525 เพราะในแต่ละช่วงมีเหตุการณ์แตกต่างกัน ผลการศึกษาสรุปได้ว่าในช่วงระยะเวลาการศึกษาทั้ง 2 ช่วง การเปลี่ยนแปลงของค่า เงินบาทมีความสัมพันธ์ปฏิภาคกลับกับปริมาณเงิน สำหรับรายได้ที่แท้จริงและอัตราคอกเบี้ยมีปฏิภาคโดยตรงกับค่าเงินกล่าวคือ - ผลจากปริมาณเงินถ้าปริมาณเงินของประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าของ ต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินบาทลดลง เพราะการที่ปริมาณเงินของประเทศเพิ่มขึ้นในขณะที่ระบบ เศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่หรือภาคการผลิตไม่สามารถเพิ่มผลผลิตตอบสนองได้ทันแล้ว จะทำให้ระดับราคาในประเทศมีแนวโน้มสูงกว่าต่างประเทศผลักดันให้มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ มากขึ้น เกิดการขาดดุลการค้าและกระทบต่อฐานะดุลการชำระเงินระหว่างประ เทศ ทำให้ต้องลดค่าเงินลง - ผลจากรายได้ที่แท้จริงที่เพิ่มขึ้นนั้น ก็คือการมีปริมาณสินค้ามากขึ้นทำให้ระดับราคาสินค้าในประเทศมีแนวโน้มลดลงโดยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ สินค้าที่เหลือเกินความต้องการภายในสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้เงินตราต่างประ เทศมามากขึ้นซึ่งทำให้ค่าเงินบาทสูงขึ้น - ผลจากอัตราดอกเบี้ย การที่อัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยสูงกว่าต่างประเทศ ย่อมมีเงินทุนจากต่างประ เทศไหลเข้าในประเทศมากขึ้นมีปริมาณเงินตราต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าของเงินบาทสูงขึ้น ซึ่งให้ผลแตกต่างจากสมมุติฐานเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ดี แบบจำลองนี้เป็นระยะสั้น ซึ่งผลดังกล่าวสอดคล้องกับสภาพความจริงมากกว่า นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงแนวโน้มของค่าเงินบาทตามแบบจำลองที่กำหนดขึ้นโดยการทดลองแทนค่า (Simulation) ตัวแปรในแบบจำลองเพื่อเปรียบเทียบผลต่างระหว่างอัตราแลก เปลี่ยนที่เกิดขึ้นจริงกับค่าอัตราแลกเปลี่ยนตามแบบจำลองซึ่งได้ผลว่าค่าเงินบาทของไทยในช่วงปี 2526 - 2527 มีค่าสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งนี้เพราะนโยบายการกำหนดค่าเงินบาทอิงกับค่า เงิน เหรียญดอลลาร์ ซึ่งในช่วงนี้ค่าเงินเหรียญดอลลาร์ในตลาดโลก มีแนวโน้มสูงขึ้นมากจึงดึงค่า เงินบาทให้สูงขึ้นไปด้วย เมื่อเทียบกับกลุ่มต่างประ เทศอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงต้นปี 2527 ความแตกต่างยิ่งสูงขึ้นไปอีกจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการกำหนดค่าเงินบาทด้วยการเลิกอิงค่าเงินบาทกับ เงินเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ มาอิงกับกลุ่มเงินตราของประเทศคู่ค้าสำคัญ และลดค่าเงินบาทลงเป็น 27 บาท เท่ากับ 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ จึงทำให้ค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นจริงมีค่าใกล้เคียงกับค่าเงินบาทตามแบบจำลองที่กำหนดขึ้น คาดว่าแบบจำลองนี้คงจะ เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายค่าของเงินบาทหรือพิจาณาแนวโน้มค่าของเงินบาทในระยะสั้น อย่างไรก็ดีการจะนำไปใช้นั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายในแต่ละประเภทงาน เช่น เป้าหมายในการกำหนดปริมาณเงิน อัตราคอกเบี้ย ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ส่วนความถูกต้องอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการประมาณข้อมูลที่ใกล้เคียงซึ่งคาดว่าจะมีประโยชน์ในการพิจารณาโยบายระยะสั้น
Other Abstract: Since the early 1970, many countries have faced with international financial problem which led these countries to change from the fixed exchange rate system to a floating rate scheme. The international financial economist have attempted to study the ways of determining the exchange rate equilibrium so as to provide the method in fixing their own national currencies with foreign ones. Many studies relating to the models of exchanges rate determination can be grouped into basically three types, namely: the traditional flow model, the monetary model and the portfolio balance model. It is known that Thailand is a small open developing country with its economic development largely depending upon capital goods and finances from abroad. Statistics show that the ratio of external trade to GDP is very high. When there have been changes in exchange rates, they in turn affect not only business activities but also the economic development of the country. Subsequently, Thai authorities have to, from time to time, adjust the national currency in order to improve the trade balance and external transactions situation. The objective of this study, is to examine the equilibrium of baht value in terms of one unit of major foreign currencies of Thai trading partners. Ten major currencies have been included in the analysis. The calculation in the study is based on the concept of effective exchange rate weighted by bilateral import volume. The method conveys results of effective exchange rate similar to those derived by a rather complicated MERM weight, technique. The results are then integrates into the monetary model, which is based on the principle of purchasing power parity and the supply of money. Consequently, it is shown that the models which gives the equilibrium level of national exchange rates associated with money supply real output and interest rates. The data employed in the study are divided into two periods; that is the first is the years 1970-1982 and the second is the years 1973-1979. The main finding derived from the study can be stated that changes in the baht value in both periods are inversely related to the money supply but directly related with the real incomes and interest rates. The other results are as follows: 1) If the money supply of Thailand increases faster than in the other countries. This will decrease the baht value. This is due to the fact that the increasing level of money supply, under the full employment, assumption, causes the domestic price to rise immediately. This leads the country to import more abroad, causing the deficit in trade balance and the worsening the country's balance of payments position. 2) If Thailand's real output grows faster than in the other countries, the baht value will appreciate. The fact is that the rise of real output lead to surplus goods which tends to decrease its relative price in the country. When these surplus goods are exported, it will bring foreign exchanges into the country, causing the baht value to appreciate. 3) If the interest rate in Thailand is higher than those in foreign countries, there will be capital inflow resulting in the appreciation of baht value. In addition, the study is also conducting model simulation to compare the difference between real exchange rates and those derived from the Models. The findings indicate that baht value movement in the period between 1983-1984 was overvalued because the baht value is pegged to the us dollar. During this period, the US dollar value has sharply risen in the world exchange market, causing the value of Baht to rise in relative to the values of other major currencies. The difference of value between Thai currency and others, especially in the early 1984, became even pronounced, leading the Bank of Thailand to abandon the policy of pegging the baht value to the US dollar. Consequently, the baht was devalued to 27 baht per US dollar; the devaluation gives the real baht value close to the value calculated from the Model. It is expected that the models are very useful for policy guidance of baht value fixation in the short run. Subsequently, the application of the model in the study depends upon the goals of each policy (such as money supply or interest rates policy which affect the movement of exchange rates.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28718
ISBN: 9745641294
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai_si_front.pdf14.96 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_si_ch1.pdf10.36 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_si_ch2.pdf19.59 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_si_ch3.pdf15.78 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_si_ch4.pdf10.38 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_si_ch5.pdf18.18 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_si_ch6.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_si_back.pdf40.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.