Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28723
Title: สมญานามในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐช่วงเวลา พ.ศ. 2523-2531
Other Titles: Labeling in Thai Rath daily newspaper during B.E.2523-2531
Authors: วันดี ทองงอก
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในลักษณะการสร้างการใช้สมญานามในหนังสือพิมพ์รายวัน หน้าที่และอิทธิพลที่มีต่อสังคมและต่อปัจเจกบุคคล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยที่ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพที่วิเคราะห์ตัวบทของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์เชิงสัญญะวิทยา ในการศึกษาความหมายของสมญานาม ทฤษฎีที่ใช้พิจารณาถึงหน้าที่ของสมญานาม คือ ทฤษฎีตราประทับ และแนวคิดเรื่องสื่อมวลชนกับการให้สถานภาพบุคคล นอกจากนั้นแล้วแนวคิดเรื่องการสร้างข่าวของสื่อมวลชนใช้พิจารณาปัจจัยการสร้างสมญานามผลการวิจัยสรุปได้ว่าหนังสือพิมพ์ให้สมญานามกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคล ที่เป็นกลุ่ม เป้าหมายหลักและมีขนาดใหญ่ และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัตถุสิ่งของและสัตว์ โดยมีที่มาของการกำหนดชื่อจากลักษณะเฉพาะของตัวหนังสือพิมพ์เอง และการแสดงออกของสิ่งที่เป็นข่าว ที่มาของชื่อที่เกิดขึ้นมีวิธีการสื่อความหมายจากแนวความคิดส่วนตัวของผู้ตั้งชื่อ ผ่านการใช้ภาษาความเปรียบที่ให้นัยยะแห่งความหมายทั้งแบบตรง ไปตรงมาและแบบแฝงที่มีตัวสัญญะ หรือตัวอักษรเป็นสื่อกลาง การทำความเข้าใจจำเป็นต้องทราบและเข้าใจแนวคิดของตัวผู้ตั้งชื่อ และบริบทของข่าวที่เป็นสภาพวัฒนธรรมเดียวกันของผู้ตั้งและผู้อ่าน การคงอยู่ของสมญานามแต่ละชื่อจากการวิเคราะห์พบว่า ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 3 ประการ คือ 1. สิ่งที่เป็นข่าว 2. บทบาทของสิ่งทีได้รับสมญานาม และระยะเวลาของการเป็นข่าว ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตั้งสมญานามในบริบทของสังคม และปัจเจกบุคคล พิจารณา ได้ว่า หนังสือพิมพ์คือ ผู้สร้างผลกระทบตามหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ต้องระมัดระวังภัยให้คนในสังคม และมีอิทธิพลต่อสังคมส่วนรวมในอันที่จะคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่เหมาะสมกับบรรทัดฐานของสังคม และเปิดโปงพฤติกรรมเบี่ยงเบนให้เป็นที่ประจักษ์ และมีอิทธิพลต่อปัจเจกบุคคลด้านการให้ หรือลดสถานภาพบุคคลโดยบุคคลที่เป็นผู้ได้รับผลจากสื่อโดยตรงยอมรับการให้สมญานามของหนังสือพิมพ์เป็น 2 ลักษณะ คือ ยอมรับแบบไม่คิดโต้แย้ง และแบบไม่เต็มใจมีการต่อต้านอยู่ในตัวเอง
Other Abstract: The objective of this study is to understand the kinds of labeling created in the daily newspaper and its duty and influence over the society and the individual. The qualitative research method is uses in this study to analyze the contents in Thai Rath Newspaper and also the data from interviewing the people concerning. Semi logical analysis is used in this study to find out the concept of the labeling. Labeling theory and the idea about mass communication and individual status is used to consider labeling creating. The result from the study is that the newspaper give labeling to the main and vast objective group which are the individuals and also the objective groups, objects and animals by creating the labeling from the particular character of the newspapers and the performance of the objects become to the news. The labeling is communicated from private ideas of the persons who give the labeling by passing the comparison language that gives the significance of meaning both direct and indirect symbols or letters as the media of communication. Thus, the understanding of signs needs the conceptual idea of the persons who give the labeling and also the context of the news in the culture of those persons and the readers. The maintenance of each labeling depends on the content in the news, the role of the present or things given the labeling to and the duration of the news. The impact of the labeling on the society and the individuals can be summarized that the newspapers cause the impact concerning the moral of the newspaper. The duty of the newspapers is to protect the people in the society, to keep the proper behavior under the social norm, and to expose no proper behavior to the society. Besides these the newspapers influence the individuals by increasing or decreasing personal status. Each person receives the labeling from the newspapers by two ways, willingly accepting and rejecting with resistance.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28723
ISBN: 9745794139
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wandee_to_front.pdf8.78 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_to_ch1.pdf14.97 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_to_ch2.pdf17.98 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_to_ch3.pdf8.03 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_to_ch4.pdf67.5 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_to_ch5.pdf19.36 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_to_ch6.pdf22.48 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_to_ch7.pdf12.44 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_to_ch8.pdf7.26 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_to_back.pdf42.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.