Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28968
Title: พัฒนาการของช่วงความจำตัวเลขและระยะเวลาในการระบุตัวเลข ของเด็กในช่วงอายุ 5-11 ปี
Other Titles: The development of digit span and item identification time in children aged five to eleven
Authors: สุภาพร วรรณสันทัด
Advisors: พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาพัฒนาการของช่วงความจำตัวเลขและระยะเวลาในการระบุตัวเลขของเด็กอายุ 5-11 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนอายุ 5, 7, 9 และ 11 ปี ระดับอายุละ 80 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการทดสอบช่วงความจำตัวเลขและระยะเวลาในการระบุตัวเลขเป็นรายบุคคล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้ในแต่ละระดับอายุ ทำการทดสอบภายหลังด้วยสถิติทดสอบของตูกี (Tukey) และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนช่วงความจำตัวเลขและระยะเวลาในการระบุตัวเลข ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนช่วงความจำตัวเลขของเด็กอายุ 5-11 ปี เพิ่มขึ้นตามระดับอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ระยะเวลาในการระบุตัวเลขของเด็กอายุ 5-11 ปี ลดลงตามระดับอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คะแนนช่วงความจำตัวเลขและระยะเวลาในการระบุตัวเลขของเด็กอายุ 5-11 ปี มีความสัมพันธ์กันทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทุกระดับอายุ ยกเว้นกลุ่มอายุ 11 ปี
Other Abstract: The purpose of this research was to study the development of digit span and item identification time in children aged five to eleven. The subjects consist of 320 children aged five, seven, nine, and eleven. The subjects were tested by digit span task and item identification time task. Data were analyzed by one way ANOVA, tukey test and pearson’s product moment correlation coefficience. Findings were as follows: Findings were as follows: 1. Digit span of five, seven, nine, and eleven years old children increased with ages at .05 level of significance. 2. Item identification time of five, seven, nine, and eleven years old children decreased with ages at .05 level of significance. 3. There was negative correlative between digit span and item identification time only in children aged five, seven, and nine years old at .01 level but not in children aged eleven.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28968
ISBN: 9745841455
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_wa_front.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_wa_ch1.pdf10.86 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_wa_ch2.pdf5.55 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_wa_ch3.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_wa_ch4.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_wa_ch5.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_wa_back.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.