Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29134
Title: The effects of curcumin and tetrahydrocurcumin on gingival microvascular dysfunction in diabetic rats
Other Titles: ผลของเคอร์คิวมินและเตตระไฮโดรเคอร์คิวมินต่อการสูญเสียหน้าที่ของหลอดเลือดขนาดเล็กที่เหงือกในหนูเบาหวาน
Authors: Dusit Promrug
Advisors: Supathra Amatyakul
Suthiluk Patumraj
Siriporn Chotipaibulpan
Other author: Chulalongkorn University, Graduate School
Advisor's Email: asupathra@hotmail.com
medspr@hotmail.com
Csiripor@chula.ac.th
Subjects: Microcirculation disorders
Gums -- Diseases
Gums -- Blood-vessels -- Abnormalities
Diabetics -- Complications
Issue Date: 2010
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของสารเคอร์คิวมินและเตตระไฮโดรเคอร์คิวมินต่อการสูญเสียหน้าที่ของหลอดเลือดขนาดเล็กที่เหงือกในหนูเบาหวาน โดยวิธีฉีดสารสเตรปโตโซโตซินเข้าทางหลอดเลือดดำเพียงครั้งเดียว ในขนาด 55 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม หนูวิสตาร์เพศผู้ น้ำหนัก 200-250 กรัม ได้ถูกแบ่งแบบสุ่มเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว คือ 1) กลุ่มควบคุม (CON) ที่ป้อนด้วยน้ำเกลือ (Normal saline solution) 2) กลุ่มควบคุมที่ได้รับการป้อนด้วยสารเคอร์คิวมิน (CON+CUR) ปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม 3) กลุ่มควบคุมที่ได้รับการป้อนด้วยสารเตตระไฮโดรเคอร์คิวมิน (CON+THC) ปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม 4) กลุ่มเบาหวาน (STZ) 5) กลุ่มเบาหวานที่ได้รับการป้อนด้วยสารเคอร์คิวมิน (STZ+CUR) ปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม 6) กลุ่มเบาหวานที่ได้รับการป้อนด้วยสารเตตระไฮโดรเคอร์คิวมิน (STZ+THC) ปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม ทำการทดลองหลังจากสัตว์ทดลองได้รับการฉีดสเตรปโตโซโตซินไปแล้ว 8 สัปดาห์ วันที่ทำการทดลองหนูถูกชั่งน้ำหนักและทำให้สลบจากนั้นทำการวัดการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณเหงือกโดยใช้เลเซอร์ ดอปเปลอร์ โฟลเมตรี นับการเกาะติดของเม็ดเลือดขาวที่หลอดเลือดโพสแคปปิลารี่ เวนูล โดยวิธีอินทราไวทัล ฟลูออเรสเซ้นท์ ไมโครสโคปี้ เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการเก็บเลือดจากหลอดเลือดที่ท้องเพื่อนำไปวัดระดับน้ำตาลในเลือด ไกลโคซิเลทเท็ดฮีโมโกบิล และระดับ TNF-α ในซีรัม จากนั้นทำการตัดเก็บเนื้อเยื่อของเหงือกทันทีเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์หาระดับมาลอนไดอัลดีไฮด์ จากผลการทดลองพบว่าหนูกลุ่มเบาหวานมีการลดลงของการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณเหงือก ในขณะที่การเกาะติดของเม็ดเลือดขาวที่หลอดเลือด ระดับ TNF-α ในซีรัมและระดับมาลอนไดอัลดีไฮด์สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม ในขณะที่หนูกลุ่มเบาหวานที่ได้รับการป้อนเคอร์คิวมินและหนูกลุ่มเบาหวานที่ได้รับการป้อนเตตระไฮโดรเคอร์คิวมินพบว่ามีแนวโน้มในการเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณเหงือกแต่ยังไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามหนูทั้งสองกลุ่มมีการลดลงของการเกาะติดของเม็ดเลือดขาวที่หลอดเลือด ระดับ TNF-α ในซีรัมและระดับมาลอนไดอัลดีไฮด์ เมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มเบาหวาน นอกจากนี้พบว่าหนูกลุ่มเบาหวาน ที่ได้รับการป้อนเคอร์คิวมินและหนูกลุ่มเบาหวานที่ได้รับการป้อนเตตระไฮโดรเคอร์คิวมิน มีน้ำหนักตัวลดลงและมีระดับน้ำตาลในเลือดกับไกลโคซิเลทเท็ดฮีโมโกบิลเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม โดยสรุปการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สารเคอร์คิวมินและเตตระไฮโดรเคอร์คิวมินสามารถป้องกันการสูญเสียหน้าที่ของหลอดเลือดขนาดเล็กที่เหงือกในหนูเบาหวานได้ โดยผลการป้องกันเกิดจากการยับยั้งภาวะออกซิเดทีฟสเตรส อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเคอร์คิวมินและเตตระไฮโดรเคอร์คิวมินพบว่า ผลของการป้องกันความผิดปกติไม่มีความแตกต่างกัน
Other Abstract: To study the effect of curcumin and tetrahydrocurcumin (THC) on gingival microvascular dysfunction in diabetic rats, the animal model of streptozotocin (STZ)-induced diabetic rats (a single intravenous injection of STZ; 55 mg/kg BW) was used. Male Wistar rats were randomly divided into six group (n=6/group). Group 1 (CON) rats were fed with normal saline (NSS) daily via an intragastric tube. Group 2 and 3 (CON+CUR; CON-THC) rats were fed with curcumin and THC dissolved in NSS (100 mg/kg BW), respectively. Group 4 (STZ) diabetic rats were induced by STZ and were fed with NSS. Group 5 and 6 (STZ+CUR; STZ+THC), diabetic rats were fed with curcumin and THC (100 mg/kg BW), respectively. The experiment was performed at 8th week after injection of STZ. On the day of experiment the rats were weighed and anesthetized. Gingival blood-flow (GBF) was measured by Laser Doppler Flowmetry and leukocyte adhesion was examined by intravital fluorescence microscopy. At the end of each experiment, blood samples were collected from abdominal aorta to measure blood glucose, glycosylated hemoglobin, TNF-α level. After that, the gingival tissue was isolated to determine malondialdehyde (MDA) level. GBF was significantly decreased in STZ rats while the number of adherent leukocytes, TNF-α level and MDA level were increased compared with CON rats. In the STZ+CUR, the GBF seem to be increased but not significantly, whereas the leukocyte adhesion, TNF-α level and MDA level were significantly less than those in the STZ. The same result was observed for STZ+THC rats. Body weight were lower, while blood glucose level, glycosylated hemoglobin were increased in STZ, STZ+CUR and STZ+THC rats compared with CON rats. In conclusion, the present study has demonstrated that curcumin and THC could prevent gingival microvascular dysfunction in diabetic rats by reducing oxidative stress. In addition, the results explored the protective effect of curcumin is as potent as THC.
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Physiology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29134
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1067
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1067
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
dusit_pr.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.