Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29167
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย
Other Titles: Factors affecting health condition of the elderly in Thailand
Authors: มยุรา นพพรพันธุ์
Advisors: นภาพร ชโยวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม พฤติกรรมอนามัยและการเข้าถึงบริการอนามัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากโครงการวิจัยผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม ประชากรของผู้สูงอายุในประเทศไทย (SECAPT) ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2529 ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีหรือมากกว่า จำนวน 3,252 ราย และใช้วิธีการวิเคราะห์การจำแนกพหุ (MCA) ในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัจจัยทางด้านอายุ เพศ ความเพียงพอของรายได้ ฐานะทางการเงินในปัจจุบันฯ การศึกษา และเขตที่อยู่อาศัย มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งก่อนและหลังปรับปัจจัยอื่น ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุน้อยมีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุที่มีอายุมาก ผู้สูงอายุเพศชายมีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุเพศหญิง ผู้สูงอายุที่มีรายได้เพียงพอในการเลี้ยงชีพมีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอ ผู้สูงอายุที่มีฐานะทางการเงินในปัจจุบันดีขึ้นกว่าเมื่ออาย 40-50 ปี มีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุที่มีฐานะทางการเงินในปัจจุบันคงเดิมหรือเลวลง ผู้สูงอายุที่มีการศึกษาสูงกว่ามีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุที่มีการศึกษาต่ำ และผู้สูงอายุในเขตเมืองมีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุในเขตชนบท ส่วนภาษาพูดมีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพในทางตรงข้ามกับสมมุติฐาน คือ ผู้สูงอายุที่ใช้ภาษาไทยเหนือเป็นภาษาพูดในครัวเรือนมีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุที่ใช้ภาษาอื่น ๆ ในครัวเรือน พฤติกรรมการสูบบุหรี่หรือยาเส้นมวน และพฤติกรรมการดื่มสุรา มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในทิศทางตรงข้ามกับสมมุติฐาน อย่างไรก็ตาม ไม่อาจสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุที่สูบบุหรี่หรือยาเส้นมวน มีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุที่ไม่เคยสูบบุหรี่หรือยาเส้นมวน และผู้สูงอายุที่ดื่มสุรามีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุที่ไม่เคยดื่มสุรา เพราะปัญหาของการเลือกสรรในตัวเอง (Self-Selection) กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมดังกล่าวอาจได้รับผลเสียของการสูบบุหรี่หรือการดื่มสุรา และเสียชีวิตไปก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ขณะเดียวกันผู้สูงอายุที่ยังคงมีชีวิตอยู่มักเป็นกลุ่มที่สามารถต่อต้านกับผลร้ายของการสูบบุหรี่หรือการดื่มสุรา สถานภาพสมรส จำนวนบุตรเกิดรอด ความเป็นเจ้าของบ้าน และอาชีพในช่วงก่อนอายุ 60 ปี มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในทิศทางที่สอดคล้องกับสมมุติฐาน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือผู้สูงอายุที่มีสถานภาพสมรสสมรสมีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุที่มีสถานภาพสมรสอื่น ๆ ผู้สูงอายุที่มีจำนวนบุตรเกิดรอดน้อยกว่ามีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุที่มีจำนวนบุตรเกิดรอดมากกว่า ผู้สูงอายุที่ตนเองหรือคู่สมรสเป็นเจ้าของบ้านมีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุที่อยู่บ้านของบุตรหลาน ญาติ หรืออื่น ๆ และผู้สูงอายุที่เคยประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรมในช่วงก่อนอายุ 60 ปี มีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุที่เคยประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม ส่วนโครงสร้างครัวเรือนไม่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ตัวแปรการเข้าถึงบริการอนามัยที่พบว่ามีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตชนบท คือ จำนวนปีที่ตั้งสถานพยาบาล ผู้สูงอายุที่อยู่ในหมู่บ้านที่สถานพยาบาลใกล้สุดตั้งมานานกว่า มีภาวะสุขภาพดีกว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในหมู่บ้านที่สถานพยาบาลใกล้สุดตั้งขึ้นภายหลัง ส่วนประเภทของสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้และระยะทางจากหมู่บ้านถึงสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ
Other Abstract: The purpose of this study is to investigate the health condition of the elderly in Thailand in relation to demographic, socio-economic, and cultural factors, health behavior and accessibility of health services. The data source of this study was “The Survey of Socio-Economic Consequences of the Ageing of the Population in Thailand” which was carried out by the Institute of Population Studies, Chulalongkorn University during March to May, 1986. The total sample of tis study is 3,252 elderly aged 60 years old and over. Multiple Classification Analysis (MCA) was used for the analysis. Results of this study indicated that age, sex, sociao-economic status, (as measured by income sufficiency, current economic position compared to when self was aged 40-50 years old, and education) and residence are statistically related (in the expected direction) to the health condition of the Thai elderly. Elderly in younger age groups are in better health than those in older age groups. Older men are generally healthier than older women. The rural aged are less healthier than their urban counterparts. Similary elderly in higher socio-economic group are in better health condition than those in lower socio-economic group. The positive association between smoking and drinking habits and health status among the elderly found in this study could be partly explained by a self selection effect. Further investigation of this issue is needed before any conclusion could be made. Marital status, number of children ever born, house ownership and occupation before the age of 60 were found not to be statistically related to health condition of the elderly. Of the three variables indicating accessibility of health services, only the number of years ago the nearest health station was established showed a significant impact on health condition of the rural elderly. Elderly who lived in the village where the nearest health station had been established earlier were likely to have better health than the elderly who lived in the village where the nearest health station has been established recently. The type of the nearest health station and distance from village to the nearest health station were not significantly correlated with the health condition.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29167
ISBN: 9745792144
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mayura_no_front.pdf4.54 MBAdobe PDFView/Open
Mayura_no_ch1.pdf19.24 MBAdobe PDFView/Open
Mayura_no_ch2.pdf12 MBAdobe PDFView/Open
Mayura_no_ch3.pdf19.66 MBAdobe PDFView/Open
Mayura_no_ch4.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open
Mayura_no_back.pdf14.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.